คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นในขณะที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ในส่วนที่ 3การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงถูกยกเลิกแล้ว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลบังคับ การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การบังคับใช้ประกาศคณะปฏิวัติ vs. พ.ร.บ.เวนคืน และการคิดดอกเบี้ย
ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี และเขตดุสิต เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2527 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 63 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน2515 รายละเอียดในการเวนคืนที่ดินพิพาทจึงต้องบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว หาใช่บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่ เมื่อโจทก์โต้แย้งเงินค่าทดแทนไว้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องยื่นอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแต่โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ตนเห็นว่ายังขาดอยู่ภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ฯ ข้อ 67 วรรคสอง ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีและเขตดุสิต เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2527 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 เป็นต้นไป จำเลยจึงต้องใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลสั่งจ่ายเพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวและแม้ว่าต่อมาพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับโจทก์ซึ่งมีสิทธิอยู่ก่อนแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน-การรักษามรดกทางวัฒนธรรม: ศาลยืนตามอำนาจเวนคืน แม้กรมศิลป์เสนอทางเบี่ยง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ไม่ขัดแย้งกับ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพียงแต่ตามสภาพของการเวนคืนที่ดินเพื่อทำถนนหรือทางสาธารณประโยชน์ จำเป็นต้องรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ขวางถนน หรือทางสาธารณประโยชน์นั้น แม้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อจะเป็นโบราณสถาน วัด มัสยิด หรือปูชนียสถานที่คนเคารพนับถือก็ตาม ก็ต้องรื้อไปจึงจะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ การสร้างสิ่งใหม่หรือการทำถนนเพื่อสาธารณประโยชน์และการผังเมืองตามความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาความคับคั่งของการจราจรจึงทำได้โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติหรือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่เพื่อการนั้นโดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจาก พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ คณะกรรมการดำเนินการตัดถนนทางหลวงเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยาฯ พ.ศ. 2528 ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ซึ่งต่อมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปทำความตกลงในเรื่องค่าทดแทนกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องค่าทดแทน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 63

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2538/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมโยธาธิการกรณีเจ้าหน้าที่เวนคืน และการคิดดอกเบี้ยค่าทดแทนตามประกาศ คปต. ฉบับที่ 295
ตำแหน่งอธิบดีกรมโยธาธิการ นอกจากเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างในกรมโยธาธิการ และเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการแล้ว ยังเป็นผู้แทนของกรมโยธาธิการในการปฏิบัติราชการด้วย การปฏิบัติราชการของอธิบดีกรมโยธาธิการจึงเป็นการปฏิบัติราชการแทนกรมโยธาธิการ ดังนั้นเมื่ออธิบดีกรมโยธาธิการปฏิบัติงานไปอย่างไรแล้ว หากมิใช่กระทำกิจในเรื่องส่วนตัว กรมโยธาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานต้องรับผิดชอบเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของอธิบดีกรมโยธาธิการ โจทก์ย่อมฟ้องอธิบดีกรมโยธาธิการหรือฟ้องกรมโยธาธิการเป็นจำเลยได้ทั้งสองประการ การที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น และให้ชำระดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับย่อมเป็นการชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับแต่วันรับเงินค่าทดแทน แม้ยังมิยินยอม
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 269 ลงวันที่28 มิถุนายน 2515 ข้อ 67 วรรคสอง ให้สิทธิเจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนที่จะฟ้องเรียกเงินส่วนที่ตนเห็นว่าควรจะได้รับภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ตนรับเงินค่าทดแทนจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับอายุความ มาตรา 169ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปโจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้ ส. รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามที่จำเลยทั้งสองกำหนดเป็นค่าทดแทนให้โดยรับเช็คจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่21 มิถุนายน 2528 สั่งจ่าย วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2528ซึ่งโจทก์ที่ 2 สามารถนำเช็คไปเรียกเก็บเงินได้ทันทีเพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 2 เริ่มนับแต่วันที่ได้รับเช็คคือวันที่ 21 มิถุนายน 2528 แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าทดแทนจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2528 อายุความ1 ปีย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกเงินส่วนที่เห็นว่าควรจะได้รับเพิ่มเมื่อวันที่11 กรกฎาคม 2529 คดีของโจทก์ที่ 2 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: การกระทำครบถ้วนตามประกาศคปช. และการกำหนดเจ้าหน้าที่เวนคืนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุสิทธิในการฟ้องว่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2524 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับโดยบัญญัติให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และวันที่ 30 มีนาคม 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกำหนดให้ทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกเป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตั้งอยู่ที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ตามมาตรา 3 ซึ่งมีพื้นที่เขตยานนาวาตรงตามโฉนดที่ดินของโจทก์ดังกล่าวในฟ้องและเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการปรองดองฯเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทน แต่ตกลงกันไม่ได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการสำรวจที่ดินซึ่งถูกเวนคืน มีที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนด้วย แต่ตกลงค่าทดแทนกันไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เพื่อชดใช้ให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์แล้วจึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการหรือได้ปฏิบัติครบถ้วน แห่งเงื่อนไขตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67แล้วที่ดินของโจทก์ถูกสร้างเป็นทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วมิใช่ถูกสร้างเป็นทางด่วนพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือที่ดินของโจทก์จึงมิได้ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือแม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกให้แก่จำเลยที่ 1 และต่อมาอนุมัติให้ทางการพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตั้งงบประมาณ ความรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างถนนเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 64 ได้กำหนดเงื่อนไข ในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนต้องระบุ (1) ความประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์(2) เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (3) ท้องที่ที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ข้อ 4 ให้จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ก็คือเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) นั่นเอง และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาทดแทนที่ดินตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันประกาศใช้ พ.ร.ฎ.เวนคืน
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1และตาม พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึง 77 ดังนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุวัตตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายจึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกพ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนด แนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74ถึง 77 ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อ โจทก์เห็นว่าที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มี กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้อง บังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยาน บุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนเมื่อกฎหมายใหม่ใช้บังคับ & เก้าอี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนกรณีเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายเก่า แม้ต่อมากฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกโดยกฎหมายใหม่ แต่เมื่อการเวนคืนรายนี้มีผลสำเร็จเด็ดขาดไปก่อนแก้ไขกฎหมายกฎหมายใหม่ย่อมไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่บริบูรณ์แล้วกรณีต้องบังคับตามกฎหมายเก่านั้น เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโรงภาพยนตร์โดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพในการเป็นโรงภาพยนตร์ ดังนี้ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์เป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเมื่อมี พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนและรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางที่จะสร้างนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน: การวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางถือเป็นการวางต่อศาล
การวางทรัพย์ต่อศาลเป็นงานที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรมที่ไม่ใช่การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ข้อ 21แม้จะมี พ.ร.ฎ. ให้สำนักงานวางทรัพย์กลางเป็นส่วนราชการ ของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม การวางทรัพย์ก็ยังคงเป็นงาน ที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรมอยู่ ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการวางทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีฯ ข้อ 2 กำหนดว่า ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกอาจวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ได้ในกรณี ต่อไปนี้...(5) กรณีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น (6) กรณีตามคำสั่ง ศาลภายใต้บทบัญญัติแห่ง กฎหมาย เช่นป.วิ.พ. มาตรา 264 ดังนั้น การวางเงินค่าทดแทนต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคแรก ย่อมหมายถึงการวางเงินค่าทดแทนต่อสำนักงาน วางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์นำเงินค่าทดแทนที่โจทก์ไม่ยอมรับไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางดังกล่าวถือว่าเป็นการวางเงินค่าทดแทนต่อศาลโจทก์รับเงินแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่โจทก์เห็นว่า ควรจะได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนต่อศาล ดังนี้คดีจึงขาดอายุความตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง.
of 3