พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินตามราคาตลาด และอายุความฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ให้กำหนดค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พ.ร.ฎ. ใช้บังคับและการเรียกค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์มีหน้าที่จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ให้มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าเป็นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย โจทก์ได้รับค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 54330 เมื่อวันที่ 21มีนาคม 2528 ส่วนที่ดินอีก 4 แปลง ได้รับค่าทดแทนปี 2527โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2529 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 54330 ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันได้รับเงินค่าทดแทน ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนที่เกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินอีก 4 แปลงที่เหลือ ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันได้รับเงินค่าทดแทน จึงขาดอายุความตามข้อ 67.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน เริ่มนับแต่วันวางทรัพย์ต่อศาล หรือรับเงินจากเจ้าหน้าที่
การวางเงินค่าทดแทนต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295ข้อ 67 วรรคแรก หมายถึงการวางเงินค่าทดแทนต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางหรือสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค 1 ถึง 9 กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม แล้วแต่กรณี เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์วางเงินค่าทดแทนไว้ให้โจทก์ ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เมื่อ วันที่ 30สิงหาคม 2528 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์ เห็นว่า ควร ได้รับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2529 จึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน แม้ พ.ร.บ.เวนคืนไม่ได้ระบุพื้นที่ แต่มี พ.ร.ก.กำหนดเขตเวนคืน และโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนไม่เป็นธรรม
ที่ดินโจทก์ซึ่งตัวแทนจำเลยทำการสร้างถนนผ่านอยู่ในแนวเขตที่จะถูกเวนคืนโดยอยู่ในท้องที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร แม้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกในท้องที่แขวงวัดท่าพระฯจะไม่ได้กำหนดรวมเอาท้องที่ดังกล่าวไว้ด้วยก็ตาม แต่ก็มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ระบุท้องที่เขตยานนาวาไว้ด้วยแล้ว หาใช่ว่าที่ดินของโจทก์จะไม่ได้ถูกเวนคืนตามกฎหมายฉบับอื่นด้วยไม่ เมื่อโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมตามส่วนที่ควรจะได้รับ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้เพิ่มจากจำเลยได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาธรรมดาในท้องตลาด และการชดเชยค่าลดน้อยถอยราคา
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ระบุให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับ หากวันดังกล่าวไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณนั้น โจทก์นำสืบถึงราคาที่ซื้อขายในช่วงเวลาที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณาได้ จะอาศัยราคาตามราคาตลาดที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ราคาที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด โจทก์เพียงนำเอาค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากถูกเวนคืนแต่ลดน้อยถอย ราคาลง ไปเปรียบเทียบกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน เพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ลดลงเท่านั้นหาทำให้ค่าทดแทนส่วนนี้ซ้ำซ้อน กับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนไม่ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจะไม่มี พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ใช้บังคับ แต่โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากยอดเงินที่ต้องชำระเพิ่มขึ้น นับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ราคาซื้อขายจริง vs. ราคาตลาด, ดอกเบี้ย, และค่าลดน้อยถอยราคา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 76 กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนใช้บังคับ หากในวันดังกล่าวไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืน โจทก์ก็นำสืบถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณาได้ จะอาศัยราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์กำหนดหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ราคาที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด แม้จะยังไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนใช้บังคับโดยเฉพาะ แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินที่จะต้องชำระเพิ่มขึ้นนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินถูกเวนคืนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และการคิดดอกเบี้ย
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76(2) บัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ เมื่อพ.ร.ฎ. ดังกล่าวออกใช้บังคับในวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การกำหนดค่าทดแทนให้กับโจทก์ต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าว แต่เมื่อในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันในบริเวณที่ถูกเวนคืนก็มิใช่ว่าจะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่เพียงอย่างเดียว ในกรณีเช่นนี้ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจ กำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับเมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินให้แก่โจทก์เลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยกำหนดให้ หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้น จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่โจทก์สมควรจะได้รับนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจริงของผู้เช่า แม้ไม่ระบุในสัญญาเช่า & อำนาจฟ้อง กทพ.
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนไว้ว่าเงินค่าทดแทนในการเช่านี้พึงกำหนดให้เฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ การที่คณะกรรมการปรองดองซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนวางหลักเกณฑ์ว่าเงินกินเปล่าที่ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่แท้จริงจะต้องระบุไว้ในสัญญาเช่าเท่านั้น การวางหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนเท่านั้น มิได้ถือเป็นยุติ เมื่อตกลงกันไม่ได้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนส่วนที่ตนจะได้รับจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 ฉะนั้น เมื่อโจทก์เสียเงินกินเปล่าไปจริง โจทก์จึงได้รับความเสียหายจริง ย่อมมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนนี้ด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษฯ และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษฯ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเรียกร้องของผู้เช่า แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาเช่า และอำนาจฟ้องการทางพิเศษ
หลักเกณฑ์ของคณะกรรมการปรองดองที่กำหนดให้ค่าทดแทนสำหรับค่าเช่าและเงินกินเปล่าเพราะเหตุต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ เฉพาะค่าเช่าและเงินกินเปล่าที่ได้จดทะเบียนกับระบุไว้ในสัญญาเช่านั้น เป็นเพียงการวางหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนเท่านั้น มิได้ถือเป็นยุติ เมื่อตกลงกันไม่ได้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนส่วนที่ตนจะได้รับจากเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษให้การทางพิเศษ (กทพ.) มีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษและในข้อ 17 ระบุว่าในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของ กทพ. และเป็นผู้กระทำแทน กทพ. เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2525กำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์มีอำนาจฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4647/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนทรัพย์สินที่เหลือจากการเวนคืนและดอกเบี้ยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295
ศาลาพักร้อน โรงปั๊มน้ำ ถนนคอนกรีต และรั้วก่ออิฐฉาบปูนอันเป็นทรัพย์สินที่เหลือจากการเวนคืนเป็นทรัพย์ใช้สอยประจำกับตัวบ้าน ถือเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน เมื่ออาคารบ้านพักถูกเวนคืนทำให้หมดโอกาสที่จะใช้สอยทรัพย์สินที่เหลืออยู่เป็นประจำควบคู่ไปกับตัวบ้านก็ต้องถือว่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือนั้นลดน้อยถอยราคาลงจนไม่เป็นประโยชน์ดังแต่ก่อนหรือสิ้นสภาพลงและไม่มีราคา จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่เหลือนั้นด้วย ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระบุว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับศาลจึงชอบที่จะให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินที่เพิ่มให้แก่โจทก์นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าทดแทนที่ดินเวนคืน แม้เสนอราคาแล้วแต่ไม่วางเงินต่อศาล เจ้าของที่ดินไม่ถือเป็นผู้ผิดนัด
แม้จำเลยจะแสดงเจตนาชำระค่าทดแทนที่ดินที่เวนคืนให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับโดยจะเอาให้มากกว่านั้นจำเลยก็หาได้นำเงินตามที่จำเลยเสนอไปวางต่อศาลตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินที่วางไม่ทั้งการที่โจทก์ไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยถึงที่สุดว่า จำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยเสนอให้โจทก์เป็นราคาที่เป็นธรรมแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์