คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 236 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่เพิกถอนการรับอุทธรณ์คดีพิจารณาใหม่ และการสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งว่าคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาโจทก์ยังอุทธรณ์ไม่ได้ซึ่งมีความหมายว่าเป็นการไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์นั่นเองการที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยื่นตามคำปฎิเสธของศาลชั้นต้นนั้นแล้วคำสั่งนี้ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์: คำสั่งศาลชั้นต้นปฏิเสธการส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำร้องขอใช้สิทธิอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยื่นมาพร้อมอุทธรณ์ แม้แยกต่างหากจากอุทธรณ์ก็ถือเป็นเพียงคำร้องแสดงเหตุประกอบการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องว่ารวมสั่งในอุทธรณ์ และมีคำสั่งในอุทธรณ์ว่าไม่รับอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสี่ และมาตรา 232ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153เมื่อผู้ขอใช้สิทธิอุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ดังนี้ เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการส่งอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย: คำร้องอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
คำร้องขอใช้สิทธิอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยื่นมาพร้อมอุทธรณ์ แม้แยกต่างหากจากอุทธรณ์ก็ถือเป็นเพียงคำร้องแสดงเหตุประกอบการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องว่ารวมสั่งในอุทธรณ์ และมีคำสั่งในอุทธรณ์ว่าไม่รับอุทธรณ์ จึงเป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสี่ และมาตรา 232 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 เมื่อผู้ขอใช้สิทธิอุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ดังนี้ เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการบังคับคดีเสร็จสิ้น การยื่นคำร้องไม่ชอบตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ร้องทั้งสามฐานผิดสัญญาประกันและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์อันเป็นหลักประกันออกขายทอดตลาดจนเสร็จสิ้น ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้อง ขอให้สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดและดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องทั้งสามอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องทั้งสาม แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองฎีกา ดังนี้มิใช่กรณีที่ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์อันจะทำให้คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 วรรคแรก ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองจึงฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีผิดสัญญาประกัน
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ร้องทั้งสามฐานผิดสัญญาประกัน และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์อันเป็นหลักประกันออกขายทอดตลาดจนเสร็จสิ้น ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดและดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องทั้งสาม แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองฎีกา ดังนี้ มิใช่กรณีที่ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์อันจะทำให้คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคแรก ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองจึงฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองร่วมและอายุความ - กรณีครอบครัวมีส่วนได้เสียร่วมกัน
ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลย เพราะเหตุเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรก จำเลยจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกหาได้ไม่ โจทก์ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกร่วมกับก. และทายาทอื่น โดยทรัพย์มรดกดังกล่าวยังมิได้มีการแบ่งปันกันจึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนจะได้รับในส่วนที่เป็นมรดกของ ห.ได้ กรณีเช่นนี้จะนำอายุความมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนกับคดีหลังในประเด็นสัญญาซื้อขาย การฟังข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธที่ไม่รับของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคแรก
คดีก่อนจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้โจทก์คดีนี้ชำระค่าเสียหายเพราะเหตุส่งมอบพรมชำรุดบกพร่อง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระราคาพรม ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีมิได้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144
โจทก์และจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และพิพาทกันในมูลสัญญาซื้อขายอันเดียวกัน คำพิพากษาในคดีเรื่องก่อนจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 และเป็นผลให้ศาลในคดีนี้ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์คดีก่อนซึ่งจำเลยที่ 1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย พิพากษาว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ได้รับพรมที่สั่งซื้อจากจำเลย (โจทก์คดีนี้) และโจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) มีโอกาสตรวจดูว่าตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ โจทก์รับไว้โดยมิได้ทักท้วงแล้วนำไปติดตั้งให้ลูกค้า กรณีเช่นนี้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ต้องรับผิด คดีถึงที่สุดแล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ (คดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบพรมตามคุณภาพที่ได้สั่งซื้อให้จำเลยและไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากคดีก่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน, สัญญาซื้อขาย, การชำระราคา, ความผิดสัญญา, กรรมการไม่ต้องรับผิด
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธที่ไม่รับของศาลชั้นต้นคำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคแรก
คดีก่อนจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้โจทก์คดีนี้ชำระค่าเสียหายเพราะเหตุส่งมอบพรมชำรุดบกพร่อง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระราคาพรม ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีมิได้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144
โจทก์และจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และพิพาทกันในมูลสัญญาซื้อขายอันเดียวกัน คำพิพากษาในคดีเรื่องก่อนจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 และเป็นผลให้ศาลในคดีนี้ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์คดีก่อนซึ่งจำเลยที่ 1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย พิพากษาว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ได้รับพรมที่สั่งซื้อจากจำเลย (โจทก์คดีนี้)และโจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) มีโอกาสตรวจดูว่าตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ โจทก์รับไว้โดยมิได้ทักท้วงแล้วนำไปติดตั้งให้ลูกค้า กรณีเช่นนี้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ต้องรับผิด คดีถึงที่สุดแล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์(คดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบพรมตามคุณภาพที่ได้สั่งซื้อให้จำเลยและไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากคดีก่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับแก้ไขคำให้การ และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด
หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องจำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3) ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับแก้ไขคำให้การ และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด
หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม มาตรา 228 (3) ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา