พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสรุปยอดไม่ใช่เอกสารบัญชี - ไม่ต้องลงรายการกู้เงิน
จำเลยทำรายงานสรุปยอดเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วยรายงานดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดของบริษัท แม้จำเลยจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดฐานไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสรุปยอดเอกสารที่ไม่ลงรายการกู้เงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทจำกัด
พ.ศ. 2499 มาตรา 42
โจทก์กับ ภ. ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยทั้งสองอีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันทำธุรกิจส่งผักสดให้แก่บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ในนามบริษัท พ. มีระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2538 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2538 เมื่อครบกำหนดสัญญาได้ชวน ต. เข้าร่วมหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งทำธุรกิจนี้ต่อไป โดยลงทุนเป็นเงินจำนวนฝ่ายละ 1,000,000 บาท แล้วจดทะเบียนเพิ่มทุนและเปลี่ยนแปลงกรรมการให้โจทก์กับจำเลยทั้งสอง และ ต. เป็นกรรมการของบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการในนามบริษัท คือจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือจำเลยที่ 2 กับ ต. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงิน จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเอกสารอื่น ๆ บริษัท พ. ประมูลส่งผักสดให้บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ครั้งต่อไปได้ มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2538 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญากู้เงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในนามบริษัท พ. โดยยอมให้หักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของบริษัท พ. ที่เปิดไว้ที่ธนาคารดังกล่าวมีการรับเงินที่กู้กับเบิกเงินเกินบัญชีไป และธนาคารหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากแล้ว ต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2539 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทโดยไม่ได้ลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวไว้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วย รายการดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทของบริษัท แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 83
โจทก์กับ ภ. ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยทั้งสองอีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันทำธุรกิจส่งผักสดให้แก่บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ในนามบริษัท พ. มีระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2538 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2538 เมื่อครบกำหนดสัญญาได้ชวน ต. เข้าร่วมหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งทำธุรกิจนี้ต่อไป โดยลงทุนเป็นเงินจำนวนฝ่ายละ 1,000,000 บาท แล้วจดทะเบียนเพิ่มทุนและเปลี่ยนแปลงกรรมการให้โจทก์กับจำเลยทั้งสอง และ ต. เป็นกรรมการของบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการในนามบริษัท คือจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือจำเลยที่ 2 กับ ต. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงิน จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเอกสารอื่น ๆ บริษัท พ. ประมูลส่งผักสดให้บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ครั้งต่อไปได้ มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2538 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญากู้เงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในนามบริษัท พ. โดยยอมให้หักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของบริษัท พ. ที่เปิดไว้ที่ธนาคารดังกล่าวมีการรับเงินที่กู้กับเบิกเงินเกินบัญชีไป และธนาคารหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากแล้ว ต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2539 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทโดยไม่ได้ลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวไว้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วย รายการดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทของบริษัท แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3632/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานละเว้นการลงบัญชีสำคัญเพื่อลวงให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทจำกัด
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499มาตรา 42 (1) นั้น จะต้องทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอม บัญชี-เอกสาร หรือหลักประกันของธนาคารโจทก์ร่วมด้วย แต่การที่จำเลยไม่จัดให้มีหลัก-ประกันคุ้มกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยปกปิดไม่ขออนุมัติโจทก์ร่วมและปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่จัดให้มีการจดแจ้งการรับอาวัลลงในสมุดทะเบียนไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล ไม่ใช่เป็นการทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลงตัดทอน หรือปลอม บัญชีเอกสาร หรือหลักประกันของโจทก์ร่วม จำเลยเป็นผู้จัดการของธนาคารโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจของโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี จำเลยจึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ พ.ศ.2499 มาตรา42 (2) สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน สมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของโจทก์ร่วมเป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของบริษัทตามที่กฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เช่นเดียวกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขานนทบุรีทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วย การที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมสำนักงานใหญ่ตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล และไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42(2) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีที่จัดทำเพื่อรายงานสถานะทางการเงินต่อรัฐมนตรี ไม่ถือเป็นบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยทั้งห้าเป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. ตามความในมาตรา 57,59 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของบริษัทได้ทุกประการ เมื่อจำเลยได้เข้าทำการตรวจสอบฐานะการเงินและการดำเนินงานของบริษัทแล้ว จึงได้ทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมี บัญชีทรัพย์สินหนี้สินของบริษัทรวมอยู่ด้วย บัญชีที่ทำขึ้นเพื่อรายงานกิจการและสถานะทางการเงินของบริษัทดังกล่าวนั้น หาใช่บัญชีตามความมุ่งหมายของ มาตรา 1206 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42