พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือเลิกจ้าง หากอ้างเหตุภายหลังถือว่าเป็นการยกข้อต่อสู้เพิ่มเติม
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์เพียงว่าจำเลยมีเหตุผลบางประการของบริษัท มิได้มีข้อความระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มาทำงานสาย เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 นั้น จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้าง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติผิดร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี แม้มีข้อกำหนดในระเบียบบริษัท
ระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลย กำหนดว่าลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับและถูกตัดสินลงโทษหรือถูกจำคุกในความผิดอาญา ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นประพฤติผิดที่ร้ายแรง แต่จะเป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 หรือไม่และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์และการกระทำของลูกจ้างเป็นราย ๆ ไปหาใช่เพียงแต่พิจารณาจากข้อกำหนดในระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่
โจทก์วิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนพนักงานโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เหตุทะเลาะวิวาทเกิดนอกบริเวณบริษัทจำเลยและจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
โจทก์วิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนพนักงานโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เหตุทะเลาะวิวาทเกิดนอกบริเวณบริษัทจำเลยและจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ชกต่อย ธ.ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันเพราะไม่พอใจธ.เป็นเหตุให้ ธ. ได้รับอันตรายแก่กาย เหตุเกิดในบริเวณที่ทำการของจำเลยระหว่างที่ ธ. ปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้ เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว เนื่องจากจำเลยดำเนินธุรกิจด้านโรงแรมให้บริการแก่ลูกค้า การทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกันของพนักงานในบริเวณโรงแรมขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยเป็นอย่างมากจำเลยจึงมีอำนาจปลดโจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้ทั้งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 อีกด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชยตลอดทั้งสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้เป็นชาวต่างชาติ แต่ลูกจ้างในไทยมีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน หากมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น
แม้การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 6 จ้างแรงงานก็ตาม แต่ลักษณะและพฤติการณ์แห่งการจ้างดังกล่าวนั้นก็หาพ้นความหมายของคำว่า 'นายจ้างลูกจ้างลูกจ้างประจำ' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่ แม้โจทก์เป็นชาวต่างประเทศแต่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย สถานประกอบการอยู่ในประเทศไทย มีข้อพิพาทแรงงานกันในประเทศไทยจึงชอบที่จะฟ้องร้องและบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องเมื่อประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นการเฉพาะอยู่แล้วการจะหวนกลับไปใช้ ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายทั่วไปแต่ฉบับเดียวหาชอบไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายและฝ่าฝืนข้อบังคับ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
การกระทำของลูกจ้างเป็นความผิดต่อข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างหรือไม่ ย่อมพิจารณาจากข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างเป็นเบื้องต้น และเมื่อได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วการกระทำนั้นจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาตามข้อ47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานประกอบอีกชั้นหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: แม้มีพฤติกรรมไม่สมควร แต่หากไม่ถึงขั้นเป็นความผิดตามข้อบังคับบริษัท นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและบำเหน็จ
ขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมจำเลยกับทีมบริษัทอื่นซึ่งจำเลยจัดให้มีขึ้นเป็นกิจกรรมพิเศษนอกเวลาทำงานตามปกติ โจทก์ดื่มสุราจนเมาได้เข้าไปท้าพนันกับ อ.รองประธานกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ เมื่อทีมจำเลยชนะโจทก์จึงไปทวงสุราจาก อ.และยื้อยุดฉุดมืออ.ที่ประรำพิธีทำให้ อ.นิ้วมือเคล็ด ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีเจตนาทำร้ายร่างกาย อ.แม้จะเป็นการกระทำที่ไม่สมควรก็ตามแต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามมิให้ทำร้ายต่อผู้บังคับบัญชาจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง ค่าชดเชย และการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่
ก่อนที่โจทก์จะกระทำความผิด อันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างนั้นโจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว 2 ครั้งเนื่องจากเหตุที่โจทก์ไม่มาทำงานโดยมิได้ยื่นใบลาล่วงหน้าตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควร แม้การกระทำผิดครั้งก่อน ๆ กับการกระทำผิดครั้งสุดท้ายนี้จะเป็นการกระทำผิดซ้ำในเหตุเดียวกัน แต่คำตักเตือนนั้นล่วงเลยมาแล้วถึง 2 ปีเศษมีอายุเนิ่นนานเกินสมควรที่จะนำมาพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับครั้งหลังดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแต่การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำไปในประการที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควร แม้ขาดงาน ก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเนื่องจากถูกวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแลส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนเก่าขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แม้ขาดงานเล็กน้อย
คำเตือนเรื่องขาดงานที่นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างก่อนการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งเกิดเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างนานเกือบ 4 ปี ถือว่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรและสิ้นผลแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)