พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อถูกเลิกจ้าง และการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้ ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างหามีสิทธิจะเรียกร้องไม่ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้ ก็ต่อเมื่อถูกเลิกจ้างแล้วกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือลูกจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้นับแต่วันถูกเลิกจ้างโจทก์ถูกเลิกจ้าง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์ฟ้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พ.ศ.2526 จึงไม่ขาด อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้อง ทำงานในปีต่อไป จนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดว่า พนักงาน ที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงานเมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใดในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิ แก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528). ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคาร แล้วให้สั่งลูกจ้าง ออกจากงานได้จำเลยจึงมีอำนาจ เลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้อง พิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ46 วรรคสามและข้อ47(1) ถึง(6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใด ประการหนึ่งทั้งสิ้นจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีกส่วนความใน ตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่าย ค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เอง ที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภท เดียวกับ ค่าชดเชยหรือไม่โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่การที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่ โจทก์ได้รับไปแล้ว เป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชยจึง เป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การไม่เป็นเหตุที่ จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็น ตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการ ผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัย ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็น ประเด็นในคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ให้