คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาค่าชดเชยให้ถูกต้องตามค่าจ้างจริงที่ศาลอนุญาตแก้ไข
ก่อนอ่านคำพิพากษา ทนายโจทก์ที่ 4 แถลงว่าโจทก์ที่ 4 ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 2,730 บาท ขอแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ซึ่งโจทก์ที่ 4 ชอบที่จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 16,380 บาท แต่ศาลแรงงานกลางกลับพิพากษาให้เพียง 13,380 บาท จึงเป็นการผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเบียดเบียนลูกค้าและฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างชอบธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคาร ได้มีคำสั่งห้ามพนักงานมีส่วนเกี่ยวพันกับลูกค้าในลักษณะที่อาจจะให้เป็นที่ครหา การกู้ยืมเงินลูกค้า การเรียกร้อง หรือแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการเบียดเบียนลูกค้าของธนาคาร โจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อทำหน้าที่หัวหน้าหน่วย การที่ค.ภริยาโจทก์ขอยืมเงินจากอ. ลูกค้าของจำเลยประจำหน่วยนั้น และในการกู้ยืมนี้ โจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่อ. ด้วย เป็นการรู้เห็นเป็นใจ ความประพฤติของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการเบียดเบียนลูกค้าในทำนองเดียวกัน โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายยแรง จำเลยเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีค่าชดเชยแล้วฟ้องใหม่ได้ หากการถอนฟ้องไม่ได้เป็นการสละสิทธิ และค่าชดเชยตามระเบียบของบริษัทไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย
ในคดีก่อนโจทก์แถลงถึงเหตุผลของการถอนฟ้องว่า ตอนออกจากงานโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นค่าชดเชยตามระเบียบแล้ว เมื่อทราบจากคำให้การจำเลยว่า จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นค่าชดเชย จึงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ขอถอนฟ้อง คำแถลงดังกล่าวมีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือแปลได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลกรณีเดียวกันนั้นกับจำเลยอีกในภายหลัง เป็นแต่เพียงโจทก์เชื่อตามคำให้การของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย จึงขอถอนฟ้องเท่านั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ใหม่
จำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินทดแทนให้พนักงานและคนงานประจำที่ลาออกจากหน้าที่การงาน หรือถูกเลิกจ้าง ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าเงินทดแทนเป็นค่าชดเชย แม้จะเปลี่ยนคำให้ตรงกับคำในกฎหมายแต่หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยของจำเลยก็ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ไปตามระเบียบของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอนแทนการทำงานของพนักงานหรือลูกจ้างที่ทำงานตลอดมาจนออกจากงานหรือลาออกเอง หรือถึงแก่ความตายดังนี้เงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้จ่ายแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510-1511/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงาน: เหตุผลความผิดซ้ำคำเตือนต้องชัดเจนและต่อเนื่อง หากไม่ชัดเจน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 14 หยุดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลากิจ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่เคยได้รับคำเตือนในเรื่องขาดงานโดยยื่นใบลาป่วยและมาสายกับเรื่องแจ้งในใบลาเท็จดังนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 14 ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ซึ่งโจทก์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว อันจะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนเวรยามและการลงเวลาทำงาน: การกระทำไม่ถึงขั้นเป็นการทุจริตและร้ายแรง
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวันเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานอันเป็นเท็จโดยทุจริต ไม่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ไม่ได้ใช้สิทธิลาพักผ่อน นายจ้างต้องจ่ายตามส่วน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์มิได้ใช้สิทธิลาพักให้แก่โจทก์จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิของโจทก์เองไม่ได้ เพราะจำเลยมิได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีในช่วงใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรายงานเท็จเกี่ยวกับสถานะการตรวจสอบสินค้า ทำให้จำเลยเสี่ยงต่อความเสียหายทางชื่อเสียงและการค้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย มีหน้าที่ควบคุมการขนถ่ายสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ วันเกิดเหตุเมื่อโจทก์ควบคุมการขนถ่ายสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว แต่ตัวแทนบริษัทเรือกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรยังมิได้ตีตราประทับตู้คอนเทนเนอร์ โจทก์กลับเสียก่อนและรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาว่า ตัวแทนบริษัทเรือและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ได้ตีตราประทับแล้ว ดังนี้ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ยังมิได้ตีตราประทับ อาจเป็นโอกาสให้ผู้อื่นเปิดตู้นำสินค้าไปได้ หรืออาจสับเปลี่ยนสินค้าได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจำเลยย่อมจะได้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติหรือบกพร่องในการปฏิบัติการตรวจสอบสินค้ารับรองคุณภาพและปริมาณของสินค้า อันเป็นหน้าที่ตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยย่อมจะลดน้อยถอยลงทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของจำเลยย่อมจะเสียหายไปด้วยในตัว การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง สั่งขับรถออกนอกเส้นทาง บันทึกเท็จ และละเลยความเสียหายต่อผู้โดยสาร
โจทก์เป็นนายท่ารถโดยสารประจำทางของจำเลย ได้ปล่อยรถโดยสารประจำทางคันสุดท้ายออกจากท่าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อไปยังท่ามีนบุรีโจทก์โดยสารไปกับรถคันนั้นเพื่อกลับบ้านด้วยโจทก์สั่งให้ ช.พนักงานขับรถขับออกนอกเส้นทางเลี้ยวรถเข้าไปส่งโจทก์ที่บ้านซึ่งห่างจากถนนใหญ่ประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อช.ส่งโจทก์แล้วได้กลับรถ แต่รถติดหล่ม โจทก์จึงใช้รถส่วนตัวนำผู้โดยสารอีก 3 คนที่เหลืออยู่ไปส่งที่ท่ามีนบุรี หลังจากนั้นได้นำรถยกไปยกรถเสร็จประมาณ 2 นาฬิการถจึงกลับไปถึงอู่ช้ากว่ากำหนด โจทก์ได้ทำบันทึกในบิลทำงาน พขร.ของช.ว่าน้ำมันไม่ขึ้น ก.ม.4 เสร็จเวลา 2 นาฬิกา อันเป็นเท็จ และในการขับรถออกนอกเส้นทางทำให้จำเลยสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงไป 2.19ลิตร คิดเป็นเงิน 15.50 บาทถึงแม้การขับรถออกนอกเส้นทางของ ช.เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยเพียงผู้เดียวก็ตาม แต่โจทก์ไม่มีอำนาจสั่งการเช่นนั้น เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายต้องสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งการทำบันทึกเท็จดังกล่าวเป็นการกระทำโดยเจตนาปกปิดการกระทำผิดของโจทก์ด้วย จึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุให้เสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ว่าด้วยวินัย ฯ ข้อ 8.5 จำเลยมีอำนาจลงโทษไล่ออกได้ตาม ข้อ 8 ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมทั้งเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์และเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การอ้างธรรมเนียมปฏิบัติแทนระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรใช้ไม่ได้ในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เบิกอะไหล่ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปหลายชิ้นเพื่อซ่อมรถยนต์โดยสารของจำเลย บางชิ้นได้นำไปเปลี่ยนใส่ในรถยนต์โดยสารของจำเลยแล้ว บางชิ้นก็คงเก็บไว้ในตู้เก็บอะไหล่ที่ที่ทำงานของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกระทำ ดังนั้นจำเลยจะเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาเป็นเวลานานแล้วมาอ้างว่าเป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโดยถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2126/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายวันฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำเข้าข่ายผิดวินัยร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำรายวันของจำเลย วันไหนไม่ไปทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้าง โจทก์ไม่ได้ไปทำงาน 1 วันโดยลาป่วยเท็จแต่รับค่าจ้างของวันที่ตนลาป่วยเท็จนั้นทั้งที่รู้ว่าไม่มีสิทธิจะได้รับ ดังนี้ การกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการลาป่วยเท็จอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ฝ่าฝืนต่อกฎระเบียบและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และจงใจเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หาใช่เป็นการแจ้งเท็จหรือรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาเพียงประการเดียวซึ่งมีโทษตัดค่าจ้างตามระเบียบของจำเลยเท่านั้นไม่ การที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานจึงชอบด้วยข้อบังคับที่ให้อำนาจจำเลยไล่ลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงออกจากงานได้แล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเช่นนี้จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
of 3