พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการฟ้องคดีแรงงาน: การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 60
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของจำเลย อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้องจึงจะฟ้องคดีได้ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยก่อนฟ้องคดีค่าทดแทนแรงงาน: เงื่อนไขการฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมกำแพงเพชร ซึ่งคำสั่งดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้อง ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับคำฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้รับสิทธิเสียชีวิต
กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตาย ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 50 วรรคแรก บัญญัติให้บิดา มารดาสามีหรือภริยาที่สิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินทดแทนจากนายจ้างและในวรรคสามบัญญัติว่า... ถ้าผู้ได้รับส่วนแบ่งผู้ใดตาย...ให้ส่วนแบ่งของบุคคลดังกล่าวเป็นยุติ แสดงว่า สิทธิในการรับเงินทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัวขณะที่ ส.ถึงแก่ความตายนั้นส. ยังไม่ได้รับเงินทดแทนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส. อันเนื่องมาจากการตายของบุตรย่อมยุติลง ผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.ไม่ได้พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส. ที่เรียกร้องเงินทดแทนไว้ก่อนตายย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้อ 60 ระงับไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส. ถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้รับสิทธิเสียชีวิต
กรณีลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายนั้น สิทธิในการรับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอดแก่ทายาท ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533ซึ่งขณะนั้น ส. ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส. ย่อมยุติลงในวันที่ 2 กรกฎาคม2533 ทายาทของ ส. หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส. อีกไม่ได้ พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส. ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส. ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างฟ้องค่าจ้าง-ค่าชดเชย: ไม่ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน
การฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยจากนายจ้างไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ ลูกจ้างจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน กรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของ กรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของ กรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง กรมแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตาม วัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วยเมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่ง ระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนฟ้องคดี: ศาลมีอำนาจไม่รับฟ้องหากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60วรรคสี่ ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของอธิบดีจึงจะฟ้องคดีได้นั้น เป็นข้อกฎหมายที่บังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องปฏิบัติเสียก่อน จึงจะฟ้องคดีได้ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้แม้มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นพิพาทแห่งคดี ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางโดยมิได้วางเงินต่อศาลก่อนตามที่กฎหมายกำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 วรรคสี่ เมื่อความข้อนี้ปรากฏในภายหลังศาลแรงงานกลางจึงมีคำสั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งเป็นไม่รับฟ้องโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 31 แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะเพิกถอนคำสั่งเดิม เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์วางเงินและยื่นฟ้องได้สิ้นสุดลงแล้วและทำให้โจทก์หมดสิทธิ์ ยื่นฟ้องใหม่ก็ตาม แต่การที่โจทก์หมดสิทธิ์ ยื่นฟ้องใหม่นั้น มิใช่เพราะการเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องของศาลแรงงานฯ โดยตรง หากแตก เกิดจากความบกพร่องของโจทก์เองที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้ว ดังนี้โจทก์จะยกเอาความบกพร่องของโจทก์มาอ้างเพื่อให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องออกไปหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับทราบคำสั่งทางปกครอง: การรับทราบโดยพนักงานชั้นผู้น้อยไม่ถือว่าเป็นการรับทราบของโจทก์
การที่ ป. เป็นเพียงพนักงานชั้นผู้น้อยทำหน้าที่รับส่งหนังสือของโจทก์ รับซอง หนังสือและคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินทดแทนแก่ ค. ไว้ไม่ว่า ป. จะได้เปิดซอง ทราบเนื้อความในหนังสือนำส่งและคำสั่งแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์โดย ป. ทราบคำสั่งนั้นแล้ว เพราะ ป. มิใช่ผู้แทนของโจทก์ผู้สามารถจะแสดงความประสงค์ประการใดแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 ฉะนั้นเมื่อคำสั่งดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นไปตามลำดับชั้น จนวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530รองผู้ว่าการผู้ทำการแทนผู้ว่าการของโจทก์จึงทราบคำสั่ง เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์โดยรองผู้ว่าการได้ทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2530 และครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันโจทก์ทราบคำสั่งอันจะทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ที่แก้ไขใหม่ในวันที่ 12 มีนาคม 2530โจทก์นำคดีมาสู่ศาลวันที่ 9 มีนาคม 2530 จึงหาพ้นกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน แม้ได้รับคำสั่งให้ทำงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำงานจริง ไม่ถือว่าประสบอันตรายจากการทำงาน
วันเกิดเหตุโจทก์ต้องทำงานกะ เช้า ซึ่งปกติต้องมาทำงานเวลา5 น. แต่โจทก์ไปสาย พนักงานจ่ายงานของจำเลยจึงสั่งให้โจทก์มาทำงานในกะ บ่าย และให้โจทก์ลงชื่อทำงานไว้ในใบลงชื่อทำงานประจำวันงานตอนบ่ายเริ่มเวลา 13.20 น. โจทก์ได้กลับไปบ้านพักของโจทก์ก่อนต่อมาเวลา 11 น.เศษ โจทก์ออกเดิน ทางเพื่อไปทำงานกะ บ่ายโดยขับรถจักรยานยนต์ไป ระหว่างทางรถจักรยานยนต์ของโจทก์ชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นและโจทก์ขาหัก ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายแก่ร่างกายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์จึงมิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองผู้อยู่ในอุปการะของลูกจ้างที่เสียชีวิต: ความสัมพันธ์ใกล้ชิดและการขาดอุปการะ
ผู้ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างที่ตายตามความในวรรคสองของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 50นั้น อาจเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันไม่ถึงเสมอเป็นเครือญาติกับลูกจ้าง แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเพียงพอเกี่ยวกับการดำรงชีพที่ได้รับ จากผู้ตายเสมอมามิใช่ ด้วยความเมตตาเป็นครั้งเป็นคราวและไม่แน่นอน และความตาย ของลูกจ้างผู้นั้นต้องเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บุคคลนั้น ต้องได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพอีกด้วย