คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในสัญญาจ้างเหมา และการแก้ไขค่าเสียหายที่ศาลกำหนดเกินคำฟ้อง
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ทำงานรวม 3 สัญญา จำเลยที่ 3 นำจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมาร่วมทำงานรับจ้าง ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงเข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำงานรับจ้างให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะคู่สัญญากับโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจ้างอย่างลูกหนี้ร่วม ตามสัญญาที่ 1 โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี 2557 ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงเกิดขึ้นนับแต่เวลาดังกล่าวเป็นต้นมา แม้จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนก่อตั้งภายหลังจากโจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 3 แล้วก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มีต่อโจทก์จำกัดอยู่เฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นไม่สำหรับงานตามสัญญาที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องแก้ไขซ่อมแซมงานเป็นเงิน 130,765 บาท ค่าใช้จ่ายในการจ้างบุคคลอื่นทำแบบแนวสายเคเบิลเป็นเงิน 100,000 บาท และค่าสายเคเบิลที่ต้องคืนเป็นเงิน 279,296.75 บาท รวมเป็นเงิน 510,061.75 บาท แต่โจทก์นำสืบค่าเสียหายที่ถูกบริษัทผู้ว่าจ้างหักเงินค่าจ้าง 275,528 บาท เพิ่มเข้ามา ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายแก้ไขงานกับที่โจทก์ถูกหักค่าจ้างและเสียค่าใช้จ่ายในการทำแบบแนวสายเคเบิล โดยกำหนดค่าเสียหาย 3 ส่วนนี้เป็นเงิน 400,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับค่าสายเคเบิลจำนวน 279,296.75 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แล้ว ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 3 รับผิดเป็นจำนวน 679,296.75 บาท จึงเกินกว่าที่โจทก์ฟ้อง อันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และโจทก์หาอาจเรียกค่าเสียหายในส่วนที่กำหนดเกินไปจากคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเกินเนื้อที่ตกลง, ความรับผิดของผู้ซื้อร่วม, ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวา ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน หรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้ และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่า หากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณไว้ ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวา แต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้น เมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาช่วงและแปลงหนี้: สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระ และขอบเขตการพิพากษาของศาล
ตามสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ซึ่งผู้เริ่มก่อการสามารถดำเนินการก่อหนี้หรือทำสัญญาใด ๆ ได้ยกเว้นกรณีตาม มาตรา 1102 และเมื่อจดทะเบียนบริษัทเสร็จจนมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ยอมรับผลแห่งสัญญาโดยเข้าทำงานจนเสร็จ จึงเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ตามมาตรา 1108 (2) สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ ขณะเดียวกันสัญญาที่ทำขึ้นก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง เพราะสัญญาทำขึ้นตรงกับเจตนาของคู่กรณี แม้ตอนแรกโจทก์จะใช้ชื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการประมูลงานและทำสัญญาดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณี แต่ต่อมาโจทก์จำเลยประสงค์จะแปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจากการใช้ชื่อแทนหรือจากตัวการตัวแทนมาเป็นผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง โดยโจทก์และจำเลยต่างยอมรับเอาข้อกำหนดตามสัญญารับจ้างดังกล่าวปฏิบัติต่อกันตลอดมา เป็นต้นว่า การทวงถามให้ชำระหนี้และปฏิบัติการชำระหนี้อันมีลักษณะทำนองเดียวกันกับข้อกำหนดในแบบสัญญาจ้างระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับจำเลย สัญญารับจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ในรูปของการที่ได้แปลงหนี้มาใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และมาตรา 351 โดยอนุโลม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดร่วมกันในสัญญาเหมาอาคาร แม้ผู้ทำสัญญาไม่ได้เป็นนิติบุคคล แต่ผู้ร่วมก่อการและผู้บริหารมีส่วนรู้เห็นและใช้ประโยชน์
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วยและเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จจำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์ โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไข แบบแปลนอาคารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจากเหตุผิดสัญญาและการรับผิดของบุคคลเริ่มก่อตั้งบริษัท
โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยระบุเหตุชัดแจ้งทั้งในเรื่องจำเลยมิได้จัดให้มีไฟฟ้าและประปาตามแบบแปลนท้ายสัญญาและยังอ้างเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6เรื่องการสร้างโรงภาพยนตร์ชัดแจ้ง ทั้งเหตุที่โจทก์อ้างดังกล่าวชี้ระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญาซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกร้อง และมิพักต้องคำนึงว่าข้อกำหนดแห่งการชำระเงินค่างวดตามสัญญาเป็นข้อสำคัญหรือไม่
ขณะจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาฉบับพิพาทกับโจทก์นั้น ยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1113 แต่เมื่อยังไม่มีการอนุมัติสัญญาฉบับพิพาท ในการประชุมตั้งบริษัท แม้จะมีการจดทะเบียนบริษัทจำเลยที่ 1 และภายหลังจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาฉบับพิพาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดดังกล่าวได้ และความรับผิดของจำเลยที่ 2ดังกล่าวนี้ เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 391 กล่าวคือเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาฉบับพิพาทต่อจำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ความรับผิดดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีก
ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 2 จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา391 ซึ่งเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 (เดิม)ไม่
โจทก์มีพยานเอกสารคือบันทึกการรับเช็คท้ายสัญญาฉบับพิพาทซึ่งปรากฏเหตุการณ์รับเช็คเป็นลำดับต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับเช็คและการเปลี่ยนเช็คสำหรับค่างวดแรก ต่อท้ายด้วยบันทึกการรับเช็คสำหรับเงินค่างวดที่สอง โดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปรากฏเป็นผู้รับทุกลำดับต่อเนื่องกันมา การบันทึกยอมรับเช็คสำหรับเงินค่างวดที่สองโดยไม่ปรากฏมีข้อทักท้วง สงวนหรืออิดเอื้อนเกี่ยวกับเงินงวดแรกดังที่ปรากฏ ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้รับเงินงวดแรกไปเรียบร้อยแล้ว
หนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างมีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นการทวงถามเงินค่างวดที่สองและต่อจากนั้น โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในเอกสารดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้ค้างชำระเงินงวดแรก
คำให้การจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงยืนยันปฏิเสธแต่เพียงว่าไม่ได้รับชำระเงินงวดที่สอง เป็นการยอมรับว่าได้รับเงินงวดแรกแล้วจริงตามฟ้องโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ให้การต่อสู้ในเรื่องรับเงินนี้แต่เพียงว่าไม่รับรองความถูกต้องเท่านั้น หาได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินตามฟ้องโดยชัดแจ้งไม่ และในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าเช็ค จ.10 และจ.11 ตลอดจนเช็คชำระเงินงวดที่สองมีการเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2ได้แล้วจริง ดังนี้แม้เช็คเอกสาร จ.10 และ จ.11 จะมีจำนวนเงินและวันเวลาไม่สอดคล้องกับที่ปรากฏในบันทึกการรับเช็คก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การและนำสืบรับดังกล่าวข้างต้น ข้อดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อปลีกย่อยในพลความที่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นพิพาทในคดีมาตั้งแต่ต้น ไม่อาจมีผลเปลี่ยนคำรับของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทตามสัญญาต่างตอบแทนและการบอกเลิกสัญญา
ในสัญญาต่างตอบแทนเมื่อจำเลยที่1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลย ขณะจำเลยที่2เข้าทำสัญญากับโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่1อยู่จำเลยที่2ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113เมื่อไม่ได้ความว่ามีการอนุมัติสัญญาดังกล่าวในการประชุมตั้งบริษัทแม้จะจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1และจำเลยที่1เข้าถือสิทธิตามสัญญาแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่2หลุดพ้นจากความรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่2เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391บัญญัติไว้เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่1แล้วย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่2ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมความรับผิดนี้เกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีกแต่ประการใด ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสืบเนื่องจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซึ่งจำเลยที่2จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391เป็นการทดแทนความเสียหายเพื่อให้ได้กลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)ไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการเลิกสัญญาและการคืนสู่สภาพเดิม ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัท และดอกเบี้ยจากการใช้สิทธิเลิกสัญญา
โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยระบุเหตุชัดแจ้งทั้งในเรื่องจำเลยมิได้จัดให้มีไฟฟ้าและประปาตามแบบแปลนท้ายสัญญาและยังอ้าง งื่อนไขตามสัญญาข้อ6เรื่องการสร้างโรงภาพยนต์ชัดแจ้งทั้งเหตุที่โจทก์อ้างดังกล่าวชี้ระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญาซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกร้องและมิพักต้องคำนึงว่าข้อกำหนดแห่งการชำระเงินค่างวดตามสัญญา เป็นข้อสำคัญหรือไม่ ขณะที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาฉบับพิพาทกับโจทก์นั้นยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113 แต่เมื่อยังไม่มีการอนุมัติสัญญาฉบับพิพาทในการประชุมตั้งบริษัท แม้จะมีการจดทะเบียนบริษัทจำเลยที่ 1และภายหลังจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาฉบับพิพาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดดังกล่าวได้ และความรับผิดของจำเลยที่ 2ดังกล่าวนี้ เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 391 กล่าวคือเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาฉบับพิพาทต่อจำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ความรับผิดดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีก ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 2 จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391ซึ่งเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166(เดิม) ไม่ โจทก์มีพยานเอกสารคือบันทึกการรับเช็คท้ายสัญญาฉบับพิพาทซึ่งปรากฏเหตุการณ์รับเช็คเป็นลำดับต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับเช็คและการเปลี่ยนเช็คสำหรับค่างวดแรกต่อท้ายด้วยบันทึกการรับเช็คสำหรับเงินค่างวดที่สอง โดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปรากฏเป็นผู้รับทุกลำดับต่อเนื่องกันมา การบันทึกยอมรับเช็คสำหรับเงินค่างวดโดยไม่ปรากฏมีข้อทักท้วง สงวนหรืออิดเอื้อนเกี่ยวกับเงินงวดแรกดังที่ปรากฏ ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้รับเงินงวดแรกไปเรียบร้อยแล้ว หนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างมีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นการทวงถามเงินค่างวดที่สองและต่อจากนั้นโดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในเอกสารดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้ค้างชำระเงินงวดแรก คำให้การจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงยืนยันปฏิเสธแต่เพียงว่าไม่ได้รับชำระเงินงวดที่สอง เป็นการยอมรับว่าได้รับเงินงวดแรกแล้วจริงตามฟ้องโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ให้การต่อสู้ในเรื่องรับเงินนี้แต่เพียงว่าไม่รับรองความถูกต้องเท่านั้น หาได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินตามฟ้องโดยชัดแจ้งไม่และในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าเช็ค จ.10 และ จ.11 ตลอดจนเช็คชำระเงินงวดที่สองมีการเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ได้แล้วจริงดังนี้แม้เช็คเอกสาร จ.10 และ จ.11 จะมีจำนวนเงินและวันเวลาไม่สอดคล้องกับที่ปรากฏในบันทึกการรับเช็คก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การและนำสืบรับดังกล่าวข้างต้น ข้อดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อปลีกย่อยในพลความที่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นพิพาทในคดีมาตั้งแต่ต้น ไม่อาจมีผลเปลี่ยนคำรับของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดตั้งบริษัท: เงื่อนไขการโอนหุ้นและการปฏิบัติตามสัญญา
ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ตั้งเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทไว้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 และผู้เริ่มก่อการตกลงให้โจทก์ถือหุ้น30 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการให้เปล่าก็ต่อเมื่อกรมการค้าภายในได้จัดสรรสินค้าที่ได้จัดสรรให้บริษัทจังหวัดต่าง ๆ อยู่แล้วให้บริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์อนุมัติให้ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอไว้ในคำเสนอขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำเสนอดังกล่าวในส่วนที่เป็นหน้าที่ของโจทก์ด้วย เพราะถือว่าโจทก์สนองรับคำเสนอของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 เกิดเป็นสัญญาที่คู่กรณีต้องปฏิบัติชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ไม่เคยจัดสรรสินค้าต่าง ๆ ตามสัญญาให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการโอนหุ้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดตั้งบริษัทและการชำระหนี้ตามสัญญา เงื่อนไขการจัดสรรสินค้าเป็นสาระสำคัญ
ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ตั้งเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทไว้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 และผู้เริ่มก่อการตกลงให้โจทก์ถือหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการให้เปล่าก็ต่อเมื่อกรมการค้าภายในได้จัดสรรสินค้าที่ได้จัดสรรให้บริษัทจังหวัดต่าง ๆอยู่แล้วให้บริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์อนุมัติให้ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอไว้ในคำเสนอขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำเสนอดังกล่าวในส่วนที่เป็นหน้าที่ของโจทก์ด้วย เพราะถือว่าโจทก์สนองรับคำเสนอของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 เกิดเป็นสัญญาที่คู่กรณีต้องปฏิบัติชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ไม่เคยจัดสรรสินค้าต่าง ๆตามสัญญาให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการโอนหุ้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันของนิติบุคคลใหม่ต่อสัญญาที่ผู้เริ่มก่อการทำไว้ก่อนจดทะเบียน และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ในขณะอ.และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วได้ใช้สถานที่ซึ่งโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในนั้นเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 2 ได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1113 จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินค่าว่าจ้างให้โจทก์
of 2