คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท: ผลผูกพันต่อบริษัทที่จัดตั้งภายหลัง และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ. ได้ ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของ จำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบ ตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่2อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ. และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่ง ภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำ สัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่ง โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็น สำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้ง บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพัน จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็น กรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113 โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงิน ให้โจทก์เสร็จสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท การผูกพันนิติบุคคล และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ.ได้ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่ 2 อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ.และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่งโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1113
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29 สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทจำกัดต่อหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทอื่น
จำเลยที่2ถึงที่8ได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อก่อตั้งบริษัทเบต้าทัวร์จำกัดต่อมาไม่ปรากฏว่าบริษัทหรือผู้เริ่มก่อการดังกล่าวได้ประกอบกิจการค้าแต่อย่างใดหลังจากนั้น6เดือนเศษจำเลยที่6กับพวกได้จดทะเบียนบริษัทเบต้าเทรเวลเซอร์วิสจำกัดจำเลยที่1ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่6เป็นกรรมการผู้จัดการในการดำเนินกิจการของจำเลยที่1นั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2,3,4และ8ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยจำเลยที่6สั่งซื้อตั๋วเครื่องบินจากโจทก์ภายหลังที่จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1แล้วเช็คที่สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่โจทก์ก็เป็นเช็คที่จำเลยที่6กับพวกลงชื่อสั่งจ่ายในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่1ทั้งสิ้นเมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2,3,4และ8ร่วมรับผิดมิใช่หนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานจัดตั้งบริษัทเบต้าทัวร์จำกัดและมิใช่หนี้ที่จำเลยที่6ก่อขึ้นโดยจำเลยที่2,3,4และ8มอบหมายหรือรู้เห็นยินยอมให้กระทำกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะให้จำเลยที่2,3,4และ8ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมในหนี้จากการดำเนินธุรกิจบริษัทจำกัด: การแยกแยะความเกี่ยวข้องและความยินยอม
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อก่อตั้งบริษัทเบต้าทัวร์ จำกัด ต่อมาไม่ปรากฏว่าบริษัท หรือผู้เริ่มก่อการดังกล่าวได้ประกอบกิจการค้าแต่อย่างใด หลังจากนั้น 6 เดือนเศษ จำเลยที่ 6 กับพวกได้จดทะเบียนบริษัทเบต้า เทรเวล เซอร์วิส จำกัด จำเลยที่ 1 ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่ 6 เป็นกรรมการผู้จัดการ ในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2, 3, 4 และ 8 ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จำเลยที่ 6 สั่งซื้อตั๋วเครื่องบินจากโจทก์ภายหลังที่จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว เช็คที่สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่โจทก์ก็เป็นเช็คที่จำเลยที่ 6 กับพวกลงชื่อสั่งจ่ายในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2, 3, 4 และ 8 ร่วมรับผิด มิใช่หนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานจัดตั้งบริษัทเบต้าทัวร์ จำกัด และมิใช่หนี้ที่จำเลยที่ 6ก่อขึ้น โดยจำเลยที่ 2, 3, 4 และ 8 มอบหมายหรือรู้เห็นยินยอมให้กระทำ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะให้จำเลยที่ 2, 3,4 และ 8 ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทต่อหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนบริษัท แม้ที่ประชุมยังมิได้อนุมัติ
การที่จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ชื่อบริษัทนครหลวงรถเมล์เล็ก จำกัด ตลอดจนเครื่องหมายของบริษัทและหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทดังกล่าวติดที่ข้างรถ จำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นการยอมให้รถจำเลยที่ 2 เดินรับส่งคนโดยสารในนามของบริษัทฯ และถือได้ว่าเป็นการยอมรับต่อบุคคลภายนอกว่า รถของจำเลยที่ 2 เป็นรถของบริษัทนั้นเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้บริษัทนครหลวงรถเมล์เล็กจำกัดดังกล่าวยังมิได้จดทะเบียนไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการบริษัทก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 1113 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกับหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการก่อนจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่1 และที่ 2 ใช้ชื่อบริษัทนครหลวงรถเมล์เล็ก จำกัด ตลอดจนเครื่องหมายของบริษัทและหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทดังกล่าวติดที่ข้างรถจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นการยอมให้รถจำเลยที่ 2 เดินรับส่งคนโดยสารในนามของบริษัทฯ และถือได้ว่า เป็นการยอมรับต่อบุคคลภายนอกว่า รถของจำเลยที่ 2 เป็นรถของบริษัทนั้นเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้บริษัทนครหลวงรถเมล์เล็ก จำกัด ดังกล่าวยังมิได้จดทะเบียน ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการบริษัทก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 1113 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะ
บรรยายฟ้องว่า บริษัทจำกัดทำละเมิด ต่อมาภายหลังปรากฏว่าบริษัทนั้นยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ก็ขอให้ศาลเรียกผู้เริ่มก่อการและเป็นหุ้นส่วนในบริษัทนั้นเข้ามาเป็นจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว ในฐานะผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นได้ ไม่ทำให้คำฟ้องเคลือบคลุมประการใด เพราะคำฟ้องยังใช้ได้อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172
บริษัทที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น หากทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในนามบริษัทขึ้น ผู้เริ่มก่อการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอยู่จนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจะได้มีอนุม้ติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรค 2
of 2