คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขาดงานเกิน 7 วัน และสิทธิในการเรียกร้องค่าจ้างคืน
ตามข้อบังคับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโจทก์ว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การออกจากตำแหน่ง วินัยและการลงโทษของพนักงานระบุว่า "เมื่อพนักงานทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ ให้ปลดออก ฯลฯ (7) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่หรือขาดงานติดต่อในคราวเดียวกันโดยไม่มีเหตุผลสมควรเป็นเวลาเกินกว่าเจ็ดวันทำการ" และข้อบังคับที่กล่าวมานี้ไม่ได้ระบุถึงการสั่งพักงานเพื่อสอบสวนความผิดหรือให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปลดพนักงานหรือลูกจ้างออกจากงานโดยให้มีผลย้อนหลังได้ โจทก์มีสิทธิปลดพนักงานหรือลูกจ้างออกจากงานในกรณีตามที่ระบุไว้ใน (7) ตั้งแต่วันที่พนักงานหรือลูกจ้างขาดงานเกิน 7 วันทำการเป็นต้นไป มิใช่ตั้งแต่วันแรกที่พนักงานหรือลูกจ้างขาดงาน และโจทก์มีสิทธิปลดออกจากงานได้ในทันที การที่พนักงานของโจทก์เสนองานล่าช้าไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่พนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นที่จะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างในระหว่างที่ไม่ได้มาทำงานให้แก่โจทก์ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปลดพนักงานหรือลูกจ้างออกจากงานโดยให้มีผลย้อนหลังได้ การที่โจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากงานโดยให้มีย้อนหลังดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยมิได้มาทำงานให้แก่โจทก์ภายหลังจากที่ขาดงานไปเกิน 7 วัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิปลดจำเลยออกจากงานได้ทันทีตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ ดังนี้โจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยเนื่องจากจำเลยมิได้ทำงานให้แก่โจทก์ในช่วงระยะเวลาหลังจากที่ขาดงานไปเกิน 7 วัน แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากงานในทันทีเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่เกิน 7 วัน ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยต่อมาจึงเป็นกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407 การที่โจทก์รู้ตั้งแต่วันที่จำเลยขาดงานเกิน 7 วันแล้วว่าโจทก์มีสิทธิปลดจำนองออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยในช่วงระยะเวลาหลังจากนั้นเนื่องจากตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าจ้างดังกล่าวนั้นคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ลูกจ้างในการถ่ายสำเนาเอกสารสำคัญและส่งต่อหน่วยงานเกี่ยวข้อง การประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย
เมื่อปรากฎว่าหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินเป็นเอกสารที่โจทก์มีหน้าที่ต้องถ่ายสำเนาแพร่ให้สำนักงานการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ การที่โจทก์ไม่กระทำตามหน้าที่จนมีการจ่ายเงินผิดพลาด ถือว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่โจทก์และให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลแรงงานงดสืบพยานได้หากจำเลยไม่ต่อสู้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งแสดงว่าจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างหาได้ถือเอาเหตุอื่นด้วยไม่จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโดยมิได้สอบข้อเท็จจริงถือลักษณะงานว่าต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 46 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ การงดสืบพยานดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6183/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินการทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน การใช้วาจาและกิริยาอาการไม่สุภาพถือเป็นเหตุให้ลงโทษทางวินัยได้
การทะเลาะวิวาทตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่จำต้องถึงขนาดใช้คำหยาบ คำด่า หรือใช้กำลังทำร้าย การใช้วาจาโต้เถียง โดยไม่ฟังเหตุผล และมิใช่เป็นการชี้แจงเหตุผลโดยสุภาพตามควร ประกอบกับการใช้กิริยาอาการที่ทำให้เห็นได้ว่าไม่เคารพยำเกรง และเชื่อฟังหัวหน้างานก็ถือเป็นการทะเลาะวิวาทได้ ข. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเตือนโจทก์เกี่ยวกับการทำงาน โจทก์กลับแสดงกิริยาอาการพูดจาก้าวร้าวพร้อมกับตบโต๊ะทำงานต่อหน้า ข. และเพื่อนร่วมงานอีกหลายคนภายในที่ทำการของจำเลย ถือว่าเป็นการทะเลาะวิวาทกับลูกจ้างอื่นหรือบุคคลอื่นในบริเวณที่ทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออก/ละทิ้งหน้าที่ - การนับวันขาดงาน - การเลิกจ้าง - ค่าชดเชย - การตอกบัตรลงเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ
โจทก์มาทำงานในวันที่ 6 กันยายน 2537 การที่โจทก์ออกจากที่ทำงานไปก่อนเวลาเลิกงานโดยไม่ได้ตอกบัตรลงเวลา เลิกงาน แม้จะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่แต่มิใช่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่ตลอดทั้งวัน จะนำมารวมกับวันที่ 7 และ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันทำงานแต่โจทก์ไม่ได้มาทำงานเพื่อ ให้เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(5) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเตือน, การเลิกจ้างที่เป็นธรรม, การหักกลบลบหนี้เงินทดรองจ่าย: สิทธิและหน้าที่นายจ้างลูกจ้าง
อุทธรณ์เรื่องการแปลความหมายแห่งเอกสารว่าเป็นหนังสือเตือนหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย เอกสารที่เป็นคำรับของโจทก์ว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย และโจทก์ให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีกหากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ โจทก์และคณะกรรมการสอบสวนได้ลงลายมือชื่อไว้มีลักษณะเป็นหนังสือเตือนอยู่ในตัว และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากจำเลยให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อโจทก์ ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนจำเลยได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของจำเลยโดยชอบเมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อจำเลยเลิกจ้างและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม การวินิจฉัยว่านายจ้างจะนำเงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างยืมไปอันเนื่องมาจากการทำงานมาหักชำระได้หรือไม่ ต้องวินิจฉัยจากข้อที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายพิเศษ ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ซึ่งบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปมาวินิจฉัยได้ และเงินดังกล่าวมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินนั้นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เรียกรับเงินจากผู้สมัครงาน แม้ไม่มีอำนาจหน้าที่ เป็นเหตุเลิกจ้างชอบธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่เมื่อโจทก์เรียกและรับเงินจากผู้สมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอก ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยจะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทนทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ทั้งถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เรียกรับเงินจากผู้สมัครงาน เป็นการประพฤติชั่วร้ายและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์เรียกและรับเงินจากผู้สมัครเข้าทำงานเป็น ลูกจ้างของจำเลยทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็น ลูกจ้างของจำเลยไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอก ทำให้ บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทน ทำให้จำเลยเสื่อมเสีย ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับ ความเสียหาย ทั้งถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้าง โจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรม และจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตลอดจนเงิน บำเหน็จและดอกเบี้ยแก่โจทก์อีกด้วย ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 และข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม แม้นายจ้างไม่ได้สั่ง การด่าทอถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีในขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้นายจ้างไม่มีคำสั่งข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ก็ต้องถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานแล้ว โจทก์ด่าว่าส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นการกระทำผิดอาญาฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าย่อม ถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานแล้ว แม้จะไม่มีคำสั่ง ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็น หนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่าส. อีกจึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครอง แรงงานข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับเล็กน้อย ศาลสั่งให้จ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทน ณ. ลูกจ้าง เพื่อแสดงเวลากลับจากทำงานของณ. ซึ่งมิได้กลับมาที่บริษัทจำเลยโดยได้ลงระหว่างทางซึ่งในวันดังกล่าวณ.ก็ได้ไปทำงานจนสิ้นสุดเวลาทำงานปกติแล้ว เมื่อไม่ปรากฎว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานกลับ ในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ ณ.หรือไม่ และไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงประการอื่นใดอีก การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
of 9