คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษและ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยให้พนักงานหยุดพักได้วันละ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 นาฬิกาตามแต่ผู้บังคับบัญชาจะเห็นสมควรโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งระบุว่า"พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตนหรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์จึงหาได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในข้อดังกล่าวไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายรวมทั้งเงินสะสมด้วย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย รวมทั้งเงินสะสมด้วย คำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีนี้จึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อนและยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหลังกลับเข้าทำงาน
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์นำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างคำขออื่นให้ยก คำพิพากษาของศาลแรงงานดังกล่าวแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานดังกล่าว ย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิม มิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เมื่อจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์อีกครั้งด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่ตามรายงานลับของพนักงานของจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่าโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานแต่ปรากฏว่าเวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานนั้นเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษ และ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่า "ให้พนักงานหยุดพักได้วันละ1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 น." การที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานจึงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งระบุว่า "พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์มิได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อดังกล่าว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุเพียงเท่าที่ปรากฏในรายงานลับจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหากศาลเห็นว่าโจทก์ไม่อาจทำงานร่วมกับจำเลยได้ขอให้ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 68,312.24 บาท ด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและจ่ายเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 125,274.33 บาท ด้วยคำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีหลังจึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อน และยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงาน ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียและเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใดการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานว่าจำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่และดื่มเบียร์ในเวลางาน: ค่าชดเชยและการจ่ายดอกเบี้ย
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงานถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงาน และจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เฉพาะในวันที่ 16 ตุลาคม 2536 ตั้งแต่เวลา 16.20 นาฬิกา มิใช่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) ลักษณะงานที่โจทก์ทำมิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์มึนเมาเพียงใด แม้ตามข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยก็มิใช่จะต้องถือว่าการทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เคยตักเตือนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบบริษัทและการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุห้ามใช้เวลาหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ ไปทำงานส่วนตัวโดยมิได้รับอนุญาต การที่โจทก์ขายสินค้าบริษัทอื่นให้แก่ลูกจ้างจำเลยสองคน คนหนึ่งซื้อยาสระผมและครีมนวดผมอีกคนหนึ่งซื้อลิปสติกการซื้อขายสิ่งของจำนวนเล็กน้อยโดยปกติใช้เวลาเพียงครู่เดียวทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใดการกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง จำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ การที่โจทก์ขายสินค้าบริษัทอื่นแก่ลูกจ้างจำเลยย่อมเป็นเหตุให้ทั้งโจทก์และลูกจ้างต้องหยุดการทำงานเพื่อเจรจาและส่งมอบสินค้าที่โจทก์นำมาขาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเตือนเรื่องลาป่วยไม่ถือเป็นการเตือนเรื่องขาดงาน ทำให้ต้องจ่ายค่าชดเชย
การฝ่าฝืนข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนั้นหมายถึง ในกรณีที่นายจ้างได้เตือนลูกจ้างแล้วลูกจ้างยังฝ่าฝืนกระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เรื่องการลาป่วยผิดระเบียบ มิใช่เตือนเรื่องขาดงานต่อมาโจทก์ขาดงานจึงถือไม่ได้ว่ากระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ใช่เหตุตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เนื่องจากโจทก์ผิดข้อตกลงในเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน อันเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานนั้นมิใช่กรณีหนึ่งกรณีใดตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากถูกกล่าวหาลักทรัพย์ แม้พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องและศาลยกฟ้อง การเลิกจ้างไม่ถือว่าไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้นย่อมหมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามก็เนื่องจากบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามกับพวกในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ของบริษัทไป อีกทั้งในชั้นจับกุม โจทก์ทั้งสามก็ให้การรับสารภาพ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยมีความระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสาม จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้ และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็หามีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อจำเลยให้การต่อสู้เพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ทั้งสามได้ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อที่ว่า "ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่บริษัท""จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย"และ "ลูกจ้างต้องไม่ลักทรัพย์หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นลักทรัพย์ของบริษัท หรือของผู้อื่นภายในบริเวณบริษัท" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่า โจทก์ทั้งสามร่วมกันลักทรัพย์นั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสามทันทีเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อไม่จ่ายก็ต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปีของเงินดังกล่าว จำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุถูกแจ้งความลักทรัพย์ ศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยและเงินสมทบ
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหมายถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากบริษัทลูกค้าจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ชั้นจับกุมโจทก์ทั้งสามให้การรับสารภาพย่อมทำให้จำเลยระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสามจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่าร่วมกันลักทรัพย์พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยรวมทั้งเงินสมทบเงินสะสม เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสิทธิประโยชน์
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ให้ถือเอาอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ต้องถือเอาตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายตั้งแต่วันที่23 กันยายน 2533 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2534 จึงถูกเลิกจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเงินส่วนแบ่งการขายจำนวนเดือนละ 300,000 บาท มาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าส่วนแบ่งการขายเพราะโจทก์ไปดำรงตำแหน่งอื่น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยไม่เคยยกเหตุที่โจทก์ยักยอกเงิน 40,000 บาท ของจำเลยในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่มีเหตุดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีของโจทก์ว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์
of 9