คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดวันสิ้นสุด หากนายจ้างไม่ต่อสัญญา ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้าง ผลของสัญญาทำให้ลูกจ้างต้องออกจากงานเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงก็ตาม ก็อยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามนัยข้อ 46 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ มีวัตถุประสงค์ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จึงต้องตีความเพื่อให้เป็นผลใช้บังคับได้ มิฉะนั้นความในข้อ 46 วรรคสามจะไร้ผล การที่จำเลยแสดงเจตนาต่อโจทก์ว่าไม่ต่อสัญญาจ้างให้อันมีผลทำให้จำเลยต้องออกจากงาน จึงต้องถือว่าเป็นการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในข้อ46 วรรคสอง ดังกล่าว จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบของจำเลยตลอดมากล่าวคือ มาปฏิบัติงานไม่ตรงเวลา ละทิ้งหน้าที่โดยไม่บอกกล่าวเป็นเหตุให้การผลิตยาต้องหยุดชะงัก ซึ่งทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพด้อยลง จำเลยได้ว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้ง แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ปรับปรุงตัว ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โดยจำเลยหาได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้กระทำการใดเข้าลักษณะความผิดดังระบุไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47กรณีหนึ่งกรณีใดอันจะเข้าหลักเกณฑ์ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นในคดีที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 และไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาความร้ายแรงของคำสั่งและเหตุผลในการฝ่าฝืน
การที่ศาลแรงงานกลางฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะสืบ พยานจำเลยปากต่อไปและสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจ ที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้บัญญัติ ไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มาก่อนทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลในเวลาใกล้จะเลิกงานของโจทก์ โดยไม่ได้บอกโจทก์ว่าให้ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใดและหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของ นายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏ ตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลย อ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาใน คำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้าง โจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็น สาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่ จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเหตุจำเป็นและเหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีความจำเป็นต้องเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปร่วมงานบวชน้องเขยที่ต่างจังหวัดประกอบกับในระหว่างที่หยุดงานและอยู่ที่ต่างจังหวัดนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่มีรถยนต์โดยสารแล่นเข้ากรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถเดินทางกลับมาทำงานได้ การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้าง จึงมีเหตุอันสมควร นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง และค่าน้ำมันรถเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยอยู่ในระหว่างปรับปรุงกิจการ มีงานน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้พนักงานอื่นมีงานทำ ขอปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานเท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงประการเดียว ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างนั้นเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอน มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานต่อเนื่องหลังสัญญาหมดอายุ และสิทธิค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้างเรื่อยมา โดย นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แต่มิได้ทำสัญญาจ้างกันเป็นหนังสือ การจ้างลูกจ้างต่อมาจึงเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าก็อาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามบทบัญญัติดังกล่าวว่าการจ้างสิ้นสุดลงจึงเป็นการให้ลูกจ้างออกจากงานโดย ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามข้อ 46 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ข้อ 7 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) กรณีมิใช่เป็นการจ้างลูกจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นงานตามโครงการซึ่งนายจ้างและลูกจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดย มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จนายจ้างและลูกจ้างตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีกโดย ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกตามข้อ 46 วรรคสามลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลไม่รับฟังเหตุอื่นนอกเหนือจากนั้น
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพียง 2 ประการคือ โจทก์ยักยอกเงินของจำเลย โดยใช้ใบเสร็จของบริษัท อ. และโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการกู้ยืมเงิน พ. มิได้อ้างเหตุว่าโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นจำเลยจึงยกเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนั้นไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าโจทก์ยักยอกและโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักชวนพนักงานของจำเลยไปทำงานที่อื่น แม้ไม่สำเร็จ หรือไม่ทำให้เสียหาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง
การที่โจทก์ชักชวนพนักงานของจำเลยให้ไปทำงานที่สถานประกอบการอื่นที่ประกอบกิจการอย่างเดียวกับจำเลย โดยกล่าวลอย ๆ ไม่มีข้อเสนอที่แน่นอน ผู้ที่ถูกชักชวนก็มิได้ลาออกไปทำงานที่สถานประกอบการอื่น และไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียหายการกระทำของโจทก์จึงไม่ถึงขั้นเป็นการสนทนาให้ร้ายเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของจำเลยหรือดำเนินการแข่งขันกับจำเลยซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลย มิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงและไม่ถือว่าโจทก์กระทำการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปถูกต้องและสุจริตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลงโทษซ้ำความผิดเดิม แม้ข้อบังคับอนุญาตเลิกจ้างหลังเตือน 3 ครั้ง แต่ต้องพิจารณาความร้ายแรงเป็นรายกรณี
ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่มา 3 ครั้ง แต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนายจ้างจึงลงโทษเพียงการตักเตือนเป็นหนังสือทั้งสามครั้ง เมื่อลูกจ้างไม่ได้มากระทำผิดซ้ำคำตักเตือนอีกเป็นครั้งที่สี่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุที่เคยลงโทษไปแล้วเช่นนี้เท่ากับเป็นการลงโทษซ้ำความผิดที่ได้ลงโทษตักเตือนไปแล้วอีกจึงเป็นการเลิกจ้างที่มิชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ทั้งเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องใช้เหตุตามหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น แม้มีการกระทำผิดอื่น ก็ใช้เป็นเหตุเลิกจ้างเพิ่มเติมไม่ได้
จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นหนังสือ และระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งเมื่อจำเลยถูกลูกจ้างฟ้องร้องต่อศาล จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่เมื่อเหตุเลิกจ้างตามหนังสือเลิกจ้างไม่ต้องด้วย ข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์ลักสีที่ใช้ทาผนังโรงงานของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่น่าระแวงสงสัยและไม่เป็นที่ไว้วางใจจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.
of 9