คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: ค่าชดเชย, วันหยุดพักผ่อน, และการผิดนัดชำระหนี้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46และข้อ 47 มิได้บัญญัติว่าให้ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่เลิกจ้างก่อนเกษียณอายุ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ที่ นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ดังนี้หาเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวไม่ เงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของการประปาส่วนภูมิภาคจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์มีหลักเกณฑ์การคำนวณและการจ่ายแตกต่างจากค่าชดเชย จึงเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย การที่จำเลยจ่ายสงเคราะห์แก่โจทก์จะถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ ข้อบังคับดังกล่าวที่กำหนดให้ถือว่าการจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นการจ่ายค่าชดเชยจึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังนี้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่มีผลบังคับ การหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะหยุดหรือไม่หยุดก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ใช้สิทธิลาหยุดประจำปีในช่วงใดและโจทก์ก็มิได้ลาหยุดทั้งโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ดังนี้ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเลิกจ้างและข้อ 46 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเช่นกัน ดังนั้นการที่จำเลยมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยแก่โจทก์ในวันที่เลิกจ้าง จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นมาดังนี้ จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน: การพักงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการลงโทษ, การเลิกจ้างจึงไม่เป็นการลงโทษซ้ำซ้อน
ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการลงโทษทางวินัยของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดมาตรการลงโทษพนักงานที่กระทำความผิดไว้หลายประการรวมถึงการให้พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งพักงานโจทก์เป็นเวลา7 วัน เพื่อทำการสอบสวน และจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามปกติดังนี้ การพักงานกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการลงโทษในความผิดที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพและลาป่วย ถือเป็นการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ที่แก้ไขใหม่ระบุว่า การเลิกจ้างที่ นายจ้าง จะต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างซึ่ง เลิกจ้าง หมายถึง การที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออก หรือไล่ออกจากงาน โดย ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศดังกล่าว โดย มิได้มีข้อยกเว้นว่าการให้ออกจากงานเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน มีผลงานต่ำ กว่ามาตรฐาน มีวันลามาก ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ดังนั้น การที่จำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างเลิกจ้างสามีโจทก์เพราะเหตุหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน มีผลงานต่ำ กว่ามาตรฐาน และลาหยุดงานมากนั้น จึงเป็นการเลิกจ้างตาม ประกาศข้างต้นแล้ว จำเลยต้อง จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณบำเหน็จและค่าชดเชย การเลิกจ้างเนื่องจากขาดความอุตสาหะถือเป็นการเลิกจ้าง
ค่าครองชีพที่ นายจ้าง จ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำรายเดือน มีกำหนดแน่นอนเช่นเดียว กับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือ ว่าเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานดังนี้เป็นค่าจ้างตาม ความหมายของประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 ซึ่ง ต้อง นำมาเป็นฐาน ในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ระบุว่าการเลิกจ้างหมายถึง การที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน โดย ลูกจ้างมิได้กระทำผิดตาม ข้อ 47มิได้มีข้อความระบุยกเว้นไว้ว่าการออกจากงานเนื่องจากขาดความอุตสาหะ หย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ดังนี้ การที่ นายจ้าง เลิกจ้างโดย เหตุที่ลูกจ้างขาดความอุตสาหะ หย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ จึงมิใช่การเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำความผิดตาม ข้อ 47.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดระเบียบข้อบังคับ นายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือเว้นแต่กรณีร้ายแรง การทำร้ายร่างกายที่ไม่ร้ายแรงไม่ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างที่กำหนดให้จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างผู้ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายกันนั้น ต้อง อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โจทก์ลูกจ้างทำร้าย บ. แต่ไม่เป็นเหตุให้ บ. ได้ รับอันตรายแก่กายและจิตใจ เกิดเหตุในห้องครัว ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ชื่อเสียงของจำเลยไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดย มิได้ตักเตือน เป็นหนังสือก่อน ดังนี้ จำเลยต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง ค่าชดเชย กรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงานเล็กน้อย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ตักเตือนเป็นหนังสือ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโดยนำเงินค่าธรรมเนียมรถ และค่าตั๋วรถโดยสารซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์จำนวน 2,512 บาท เข้าฝากธนาคารล่าช้าไปหนึ่งวัน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำโดยส่อเจตนาทุจริตย่อมถือว่าเป็นการทำงานล่าช้า หรือผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยจะได้รับความเสียหายบ้างก็เพียงขาดผลประโยชน์จากดอกเบี้ยของธนาคารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากป่วย: สิทธิในการได้รับค่าชดเชยแม้มีข้อบังคับการลา
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 47(1)-(6) แต่กรณีของ บ. ลูกจ้างของจำเลยซึ่งป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกตินั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพร่างกายโดยธรรมชาติ ถือไม่ได้ว่าบ. กระทำการอันเข้าข้อยกเว้นตามข้อ 47 ของประกาศดังกล่าวดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้าง บ. ด้วยเหตุป่วย บ. จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: สิทธิค่าชดเชยเมื่อเหตุป่วยมิใช่ข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงแรงงาน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานได้กำหนดว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างกระทำการกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1)-(6) แต่กรณีของ บ.ลูกจ้างของจำเลยป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตาม ปกตินั้น เป็นเหตุเกิดตามสภาพร่างกายโดยธรรมชาติ ถือไม่ได้ว่า บ.กระทำการเข้าข้อยกเว้นข้อหนึ่งข้อใดตามประกาศข้อ 47 ดังกล่าวดังนี้เมื่อจำเลยเลิกจ้าง บ. ด้วยเหตุป่วยดังกล่าว บ. จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากกว่ากฎหมายแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง โดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้นกลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองไว้ ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างการกระทำผิดทางอาญา ไม่เชื่อมโยงคดีแพ่ง ศาลแรงงานวินิจฉัยได้โดยอิสระ
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างถูกจำเลยผู้เป็นนายจ้างร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง ซึ่งหากจะฟ้องบังคับในทางแพ่งด้วยในกรณีที่ฉ้อโกงได้เงินของจำเลยไปก็ได้แต่ขอให้โจทก์ใช้คืนเงินเท่านั้น จะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไม่ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าร่วมกับพวกกระทำความผิดทางอาญาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อจำเลยหรือไม่ ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา.
of 9