พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น. ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ ครั้นเมื่อ น. ไม่มีสุราต่างประเทศตามต้องการโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาทจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยฯ ของจำเลย ข้อ 4.13 ที่กำหนดว่า"พนักงานต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้หมกมุ่น ในการพนันกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ของตน" ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออก โดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมจากพฤติกรรมเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่ และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น.ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ เมื่อ น.ไม่มีสุราต่างประเทศโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาท จาก น.ถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับของจำเลยข้อ 4.13 ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออกโดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลย โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานหลังศาลสั่งรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน และสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง
เหตุที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์ได้กระทำผิดคดีอาญาถูกควบคุมตัวไม่สามารถทำงานให้จำเลยได้ และต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ในคดีดังกล่าว ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้นับอายุงานต่อเนื่องเสมือนหนึ่งมิได้มีการเลิกจ้าง แต่โจทก์มีสิทธิขอให้นับอายุงานติดต่อตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยไม่มีสิทธินำระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานมารวมด้วย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายชดใช้แทนการที่ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายจากนายจ้างจึงมีเพียงกรณีที่ศาลมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานประการเดียวเท่านั้น ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายนับแต่วันที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการนับอายุงานต่อเนื่องเมื่อศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน
เหตุที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์ได้กระทำผิดคดีอาญาถูกควบคุมตัวไม่สามารถทำงานให้จำเลยได้ และประกอบกับต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ในคดีดังกล่าว ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้นับอายุงานต่อเนื่องตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์ กลับเข้าทำงานเสมือนมิได้มีการเลิกจ้างได้.
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้าง จ่ายค่าเสียหายชดใช้แทน ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายนับแต่วันที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานได้อีก.
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้าง จ่ายค่าเสียหายชดใช้แทน ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายนับแต่วันที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาไปรับราชการทหารมิใช่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการลา
การที่ลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุที่ทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มาทำงานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ เพียงใดไม่ใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานโดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องการลาแล้ว จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรเสมอไป โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันเนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทในที่ทำงานและอาจทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
โจทก์และนาง ต. ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยได้ทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายกันในเวลาทำงาน และในบริเวณโรงงานอันเป็นสถานที่ทำการของจำเลยซึ่งมีเครื่องสุขภัณฑ์ อันเป็นสินค้าของจำเลยวางเรียงซ้อนกันอยู่ อาจทำให้เครื่องสุขภัณฑ์ เสียหายได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 10.11 และข้อ 11.3.9ก็ห้ามมิให้พนักงานทุกคนทะเลาะวิวาททำร้ายซึ่งกันและกันในสถานที่ทำการ หากฝ่าฝืนให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังนี้ จึงถือได้ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: การตักเตือนที่ไม่ตรงกับความผิด และระยะเวลาคำตักเตือนที่เกินควร
จำเลยผู้เป็นนายจ้างตักเตือนโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเป็นหนังสือครั้งแรกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินของพนักงานที่เก็บไว้ในสำนักงานสูญหาย ไม่ใช่เป็นการตักเตือนเรื่องดื่มสุราใช้ถ้อยคำไม่สุภาพและก้าวร้าวต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นความผิดที่จำเลยกระทำครั้งหลังและจำเลยถือเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการตักเตือนในความผิดคนละเหตุกัน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับคำตักเตือนโจทก์ครั้งที่สอง แม้จะเป็นการตักเตือนในเหตุเดียวกับการกระทำผิดในครั้งหลัง แต่ได้ความว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหลังจากที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ 1 ปี 2 เดือน 27 วัน เช่นนี้ คำตักเตือนดังกล่าวเนิ่นนานเกินควรที่จะนำมาเป็นข้อพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการฝ่าฝืนข้อบังคับครั้งหลังได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย เว้นแต่ลูกจ้างกระทำผิดร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยปลดโจทก์ออกจากงานเพราะเหตุโจทก์ป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เป็นเหตุยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่จ่ายถือว่าตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิต้องทวงถาม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้มีระเบียบภายใน
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสิน จะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้างนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยจึงเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ระเบียบธนาคารจะให้อำนาจเลิกจ้างได้
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสินจะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วดังนี้เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วดังนี้เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)