พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ในคดีเดิมที่จำเลยขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าโจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาค่าชดเชยแรงงานให้ถูกต้องตามค่าจ้างที่แถลงต่อศาล
ก่อนอ่านคำพิพากษา ทนายโจทก์ที่ 4 แถลงว่าโจทก์ที่ 4 ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 2,730 บาท ขอแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ซึ่งโจทก์ที่ 4ชอบที่จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 16,380 บาท แต่ศาลแรงงานกลางกลับพิพากษาให้เพียง 13,380 บาท จึงเป็นการผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรงจากการเบียดเบียนลูกค้าและฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคาร ได้มีคำสั่งห้ามพนักงานมีส่วนเกี่ยวพันกับลูกค้าในลักษณะที่อาจจะให้เป็นที่ครหา การกู้ยืมเงินลูกค้า การเรียกร้องหรือแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการเบียดเบียนลูกค้าของธนาคารโจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อทำหน้าที่หัวหน้าฝ่าย การที่ ด. ภริยาโจทก์ขอยืมเงินจาก อ. ลูกค้าของจำเลยประจำหน่วยนั้นและในการกู้ยืมนี้โจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่ อ. ด้วยเป็นการรู้เห็นเป็นใจ ความประพฤติของโจทก์เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดเบียนลูกค้าในทำนองเดียวกันโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประจำ vs. สัญญาจ้างระยะเวลาแน่นอน: การจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
สัญญาจ้างที่จะถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้นหมายถึงการจ้างซึ่งกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ว่าจะจ้างกันกี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปี เมื่อถึงกำหนดระยะเวลานั้นแล้วการจ้างเป็นอันระงับสิ้นสุดกันทันที และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหามีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดนั้นไม่ การเป็นลูกจ้างประจำหรือไม่อยู่ที่การงานของนายจ้างเป็นสำคัญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งประกอบกิจการเดินเรือรับจ้างขนส่งสินค้าและคนโดยสารระหว่างประเทศ สภาพงานของจำเลยมิใช่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจรหรือเป็นเป็นไปตามฤดูกาลจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย และเป็นกรณีที่จำเลยจ้างโจทก์โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนเวรและลงเวลาทำงาน: ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่หรือทุจริต
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวัน เวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตน มีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีเปิดเผยข้อมูลลับทางการเงินของลูกค้าธนาคาร
จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจการค้าด้าน การเงินดังนั้น บัญชีเงินฝากหรือฐานะการเงินของลูกค้าต้องถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่พึงเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกและต้องถือว่าเป็นความลับ การที่โจทก์เปิดเผยบัญชีเงินฝากของลูกค้าหรือฐานะการเงินของลูกค้า ย่อมทำให้ลูกค้าของจำเลยสิ้นความไว้วางใจจำเลย มีผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินธุรกิจการค้าของจำเลย เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โจทก์กระทำผิดวินัย แม้จะเกินกว่าหนึ่งปี จำเลยก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างต่างชาติภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้มีข้อตกลงจ้างงานพิเศษ ก็ไม่อาจละเลยสิทธิขั้นพื้นฐาน
แม้การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 6 จ้างแรงงานก็ตาม แต่ลักษณะและพฤติการณ์แห่งการจ้างดังกล่าวนั้นก็หาพ้นความหมายของคำว่า "นายจ้าง ลูกจ้างลูกจ้างประจำ" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่ แม้โจทก์เป็นชาว ต่างประเทศแต่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย สถานประกอบการอยู่ในประเทศไทย มีข้อพิพาทแรงงานกันในประเทศไทยจึงชอบที่จะฟ้องร้องและบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องเมื่อประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นการเฉพาะ อยู่แล้วการจะหวนกลับไปใช้ ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายทั่วไปแต่ฉบับเดียวหาชอบไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งนายจ้าง กรณีสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและลูกจ้างทราบคำสั่ง
จำเลยประกอบกิจการสถานบริการบังกะโลมีคำสั่งมิให้พนักงานหยุดงานในวันที่ 5,6,7 เมษายนเพราะจำเลยมีความประสงค์จัดการแสดงอาหารและบริการของจำเลย เพื่อเรียกร้องความสนใจแก่ผู้ใช้บริการหรือลูกค้า จึงสั่งให้พนักงานจัดแสดงอาหารตกแต่งสถานที่และประดับไฟ ให้สวยงามกว่าปกติ การแสดงดังกล่าวย่อมมีความสำคัญ ต่อกิจการของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า อันเกี่ยวข้องกับการแสดงโดยตรง หยุดงานหรือไม่มาทำงาน ในวันที่ 6,7 โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบย่อมมีผลกระทบกระเทือน ต่อกิจการของจำเลยโดยตรง ถือว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลย เป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หากนายจ้างไม่เคร่งครัด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้พนักงานซึ่งไม่มาทำงานหรือเจ็บป่วยไม่สามารถมาทำงานได้ จะต้องยื่นใบลาก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กรณีโจทก์เจ็บป่วยหรือไม่มาทำงานโจทก์ก็เพียงแต่ขอลาด้วยวาจาต่อหัวหน้าและจัดหา คนมาทำงานแทนก็เป็นอันใช้ได้ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือ เคร่งครัดตามระเบียบข้อบังคับ การที่โจทก์ไม่มาทำงานเป็น เวลา 3 วันติดต่อกัน แต่ขอลาด้วยวาจาและจัดหาคนมาทำงานแทน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติใบลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับและหลักการตีความ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้