พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการสิ้นสุดสภาพการจ้าง: สิทธิในค่าจ้างหลังคำสั่งพักงานและผลของการเลิกจ้างย้อนหลัง
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อทำการสอบสวนโจทก์เรื่องกระทำผิดอาญาต่อจำเลย แม้จำเลยมิได้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานแก่โจทก์สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังมีอยู่จนกว่าจำเลยจะมีคำสั่งเลิกจ้างต่อมาเมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เป็นต้นไป ดังนี้ สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างนับแต่วันที่การเลิกจ้างมีผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างย้อนหลังและการสิ้นสุดสภาพการจ้าง สิทธิค่าจ้างระหว่างพักงาน
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อทำการสอบสวนโจทก์เรื่องกระทำผิดอาญาต่อจำเลย แม้จำเลยมิได้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานแก่โจทก์ สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังมีอยู่จนกว่าจำเลยจะมีคำสั่งเลิกจ้าง ต่อมาเมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เป็นต้นไป ดังนี้ สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างนับแต่วันที่การเลิกจ้างมีผล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประจำ vs. สัญญาจ้างระยะเวลาแน่นอน: การจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
สัญญาจ้างที่จะถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้นหมายถึงการจ้างซึ่งกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ว่าจะจ้างกันกี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปี เมื่อถึงกำหนดระยะเวลานั้นแล้วการจ้างเป็นอันระงับสิ้นสุดกันทันที และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหามีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดนั้นไม่ การเป็นลูกจ้างประจำหรือไม่อยู่ที่การงานของนายจ้างเป็นสำคัญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งประกอบกิจการเดินเรือรับจ้างขนส่งสินค้าและคนโดยสารระหว่างประเทศ สภาพงานของจำเลยมิใช่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจรหรือเป็นเป็นไปตามฤดูกาลจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย และเป็นกรณีที่จำเลยจ้างโจทก์โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การ แม้ไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้าง
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ ก็มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่อง/ขาดช่วง, การเลิกจ้าง, สิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์คงจ้าง ต่อมาอีก กรณีต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ต่อไปใหม่ โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีปัญหาด้านการเงินดังนี้เป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด และไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างขาดช่วงไม่ต่อเนื่องกันต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาการจ้างของสัญญาแต่ละฉบับ ปัญหาว่าสัญญาจ้างเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าจ้างหลังเลิกสัญญาจ้างและการประสบอันตราย: นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบหากอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างเดินทางไปรับค่าจ้างด้วยความยินยอม
แม้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานก็ตามแต่ถ้าลูกจ้างยินยอมนายจ้างจะจ่าย ณ สถานที่อื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมไปรับค่าจ้าง ณ สำนักงานของนายจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว และเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนการที่นายจ้างได้จัดรถยนต์ไปรับลูกจ้างก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเท่านั้น หาทำให้นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการพิจารณาเงินช่วยเหลือบุตรว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่
เงินช่วยเหลือบุตร เป็นเงินที่นายจ้างให้เฉพาะลูกจ้างที่มีบุตรมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างหาใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ จึงไม่เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงานนอกสถานที่: พิจารณาช่วงเวลาปฏิบัติงานและเหตุสุดวิสัย
อ.เป็นลูกจ้างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ อ.นำหลักฐานการอนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนไปให้ผู้สมัครรับจัดตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนลงชื่อ อ.จึงเดินทางไปตามคำสั่งถือได้ว่าอ.เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานในทางการที่จ้างของโจทก์ ดังนั้นในระหว่างที่ อ.เดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน อ.ประสบอุบัติเหตุถูกรถคันอื่นชนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะลูกจ้าง vs. ค่าจ้างจากผลงาน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ และชี้ว่าค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายไม่ใช่ค่าจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์อุทธรณ์นั้น ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังเป็นดังที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ศาลฎีกาไม่อาจนำข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว โจทก์ไม่มีเวลาทำงานปกติ จะทำวันใดหรือไม่ทำวันใดก็ได้การที่โจทก์ขายสินค้าแต่ละชิ้นแล้วได้เปอร์เซ็นต์นั้น มิใช่เป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงาน เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน และไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460-4462/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นัดหยุดงาน-สิทธิค่าจ้าง-บำเหน็จความดีความชอบ: นายจ้างมีสิทธิพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามหลักเกณฑ์
ในระหว่างนัดหยุดงานลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเพราะมิได้ปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง แต่ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายนั้นได้ขาดงานตามหลักเกณฑ์ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกมาเป็นเหตุที่จะพิจารณาไม่ขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ได้ อย่างไรก็ตามการให้บำเหน็จความดีความชอบโดยการขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นสิทธิของนายจ้าง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่นายจ้างได้กำหนดไว้ ในชั้นนี้จึงไม่อาจบังคับจำเลยขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ได้โดยชอบที่จะบังคับเพียงให้จำเลยพิจารณาความดีความชอบของโจทก์เสียใหม่ตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิให้ถือว่าการนัดหยุดงานของโจทก์เป็นการขาดงาน.