พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน: สิทธิในการเลิกจ้างและการคุ้มครองทางกฎหมาย
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานอาจเป็นลูกจ้างประจำได้ แต่ยังหาใช่เป็นลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ ดังนั้น นายจ้างอาจมีสิทธิเลิกจ้างได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรักษาความปลอดภัยไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาทำงานเกิน
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่เฝ้าหรือดูแล สถานที่หรือทรัพย์สิน กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 36(6) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างธรรมดาให้แก่โจทก์สำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: การดูแลรักษารถยนต์เป็นงานในหน้าที่, ไม่อุทธรณ์ประเด็นใหม่
ลูกจ้างเป็นพนักงานขับรถยนต์ มิได้ปฏิบัติงานตามวันเวลาปกติเช่นพนักงานในตำแหน่งอื่น เพราะต้องคอยดูแล รักษารถยนต์ในความรับผิดชอบของตน ให้ อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดเวลา ดังนั้นการที่ผู้บังคับบัญชาอนุมัติให้ลูกจ้างนำรถยนต์ที่คนขับไปล้างทำความสะอาดและอัดฉีดจาระบีจึงเป็นงานในหน้าที่ แต่ในตอนกลางวันผู้รับจ้างยังทำให้ไม่เสร็จ จนเวลา 21 นาฬิกาลูกจ้างจึงได้ไปที่ร้านของผู้รับจ้างเพื่อนำรถยนต์กลับมา แล้วขณะเดิน ข้ามถนนถูกรถยนต์ชนตาย นั้นเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเพราะความประมาทของลูกจ้างนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของลูกจ้าง ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์ได้รับแต่งตั้งจากนายจ้างให้เป็นผู้เข้าแข่งขันกีฬาฟุตบอลอันเป็นหน้าที่พิเศษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานพิเศษให้แก่นายจ้างนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติ เมื่อโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานพิเศษดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หาเป็นเรื่องที่ขัดต่อวัตถุประสงค์แห่งสัญญาจ้างแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของพนักงาน ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน หากนายจ้างสนับสนุนหรือมอบหมาย
โจทก์ได้รับแต่งตั้งจากนายจ้างให้เป็นผู้เข้าแข่งขันกีฬาฟุตบอลอันเป็นหน้าที่พิเศษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานพิเศษให้แก่นายจ้างนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติ เมื่อโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานพิเศษดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หาเป็นเรื่องที่ขัดต่อวัตถุประสงค์แห่งสัญญาจ้างแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง: การคำนวณสินจ้างทดแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ก็เพราะทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดัง เช่นลูกจ้างที่โรงงานอำเภอสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลย อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง เงินจำนวนดังกล่าวมิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้นไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพ และจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างต่างชาติภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้มีข้อตกลงจ้างงานพิเศษ ก็ไม่อาจละเลยสิทธิขั้นพื้นฐาน
แม้การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 6 จ้างแรงงานก็ตาม แต่ลักษณะและพฤติการณ์แห่งการจ้างดังกล่าวนั้นก็หาพ้นความหมายของคำว่า "นายจ้าง ลูกจ้างลูกจ้างประจำ" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่ แม้โจทก์เป็นชาว ต่างประเทศแต่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย สถานประกอบการอยู่ในประเทศไทย มีข้อพิพาทแรงงานกันในประเทศไทยจึงชอบที่จะฟ้องร้องและบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องเมื่อประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นการเฉพาะ อยู่แล้วการจะหวนกลับไปใช้ ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายทั่วไปแต่ฉบับเดียวหาชอบไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การกำหนดเวลาทำงานวันละ 24 ชั่วโมง และสิทธิค่าล่วงเวลา
บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริ ให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิม โดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลัง ก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การจ่ายค่าจ้างรายเดือนและอำนาจบังคับบัญชาบ่งชี้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์ทั้งหกให้สอนหนังสือนักเรียนโดยจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน และจำเลยมีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานรวมทั้งกำหนดวันเวลาสอนหนังสือให้โจทก์ทั้งหกปฏิบัติได้ หากโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนจำเลยมีอำนาจลงโทษถึงขั้นเลิกจ้างได้ ทั้งการที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งหก มิใช่หวังผลสำเร็จของการสอนหนังสือนักเรียนแต่อย่างใดแม้โจทก์ทั้งหกจะมีอิสระในการสอนหนังสือตามวิชาชีพที่ได้เรียนมาแต่ก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่จำเลยวางไว้ ดังนั้นสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งหกจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาจ้างทำของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน แม้ได้รับคำสั่งให้ทำงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำงานจริง ไม่ถือว่าประสบอันตรายจากการทำงาน
วันเกิดเหตุโจทก์ต้องทำงานกะ เช้า ซึ่งปกติต้องมาทำงานเวลา5 น. แต่โจทก์ไปสาย พนักงานจ่ายงานของจำเลยจึงสั่งให้โจทก์มาทำงานในกะ บ่าย และให้โจทก์ลงชื่อทำงานไว้ในใบลงชื่อทำงานประจำวันงานตอนบ่ายเริ่มเวลา 13.20 น. โจทก์ได้กลับไปบ้านพักของโจทก์ก่อนต่อมาเวลา 11 น.เศษ โจทก์ออกเดิน ทางเพื่อไปทำงานกะ บ่ายโดยขับรถจักรยานยนต์ไป ระหว่างทางรถจักรยานยนต์ของโจทก์ชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นและโจทก์ขาหัก ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายแก่ร่างกายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์จึงมิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน.