คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการมีอำนาจเลิกจ้างในคดีแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยมิได้โต้แย้ง
คำสั่งศาลแรงงานกลางที่กำหนดประเด็นข้อพิพาท เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้จึงไม่สามารถอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยเป็นนิติบุคคล น. ได้รับอำนาจจากกรรมการของจำเลย น. จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2น. มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้น หนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน"ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับนายจ้างกำหนดอัตราค่าชดเชยสูงกว่ากฎหมาย ถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
เมื่อข้อบังคับเรื่องเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินทดแทนของนายจ้างกำหนดให้จ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามจำนวนปีทำงานของลูกจ้าง ประกอบกับจำนวนค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าวก็เป็นไปตามอัตราค่าชดเชยในข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างสูงกว่าอัตราค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานด้วย ข้อบังคับของนายจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินชดเชยและเงินบำเหน็จของลูกจ้างตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเท่านั้น มิได้กำหนดเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จแต่อย่างใด ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างหรือไม่เพียงใด ย่อมต้องแล้วแต่ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้คดีนี้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างแต่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเพียงเงินชดเชยเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลย แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างได้รับเงินชดเชยในกรณีลาออกไว้ด้วยก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเฉพาะกรณีเลิกจ้างเท่านั้นก็ตาม แต่การกำหนดหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า จึงไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(3) กำหนดไว้ เงินชดเชยดังกล่าวจึงเป็นค่าชดเชยไม่อาจจะแปลว่าเป็นเงินบำเหน็จ ดังที่โจทก์อ้างได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการและจำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานได้และทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 ต้องถือว่าจำเลยที่ 5เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามคำว่า นายจ้างในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ผู้รับมอบหมายทำงานแทนกรรมการถือเป็นนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานและทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ เป็นการได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยที่ 5 เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า"นายจ้าง" ไว้ว่าให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเกษียณอายุ: คำสั่งภายในองค์กรต่างจากประกาศกระทรวงฯ ถือเป็นเงินประเภทอื่น ต้องจ่ายตามกฎหมายแรงงาน
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของนายจ้างที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างรวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วยนั้น แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อลูกจ้างเกษียณอายุนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: คำสั่งธนาคารกำหนดนิยามค่าชดเชยต่างจากประกาศกระทรวงฯ จึงเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับ
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของจำเลย เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้างตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทนให้แก่พนักงานนั้น รวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วย ซึ่งแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อโจทก์เกษียณอายุโดยมิได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องใช้เหตุเลิกจ้างตามที่ระบุในคำสั่งเท่านั้น และค่าน้ำมันรถถือเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้ในคำสั่งเลิกจ้าง เมื่อจำเลยถูกฟ้องจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเป็นเงินจำนวนแน่นอนมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ถือว่าเป็นเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติค่าน้ำมันรถดังกล่าวจึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ชอบที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
of 16