พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง และค่าน้ำมันรถเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยอยู่ในระหว่างปรับปรุงกิจการ มีงานน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้พนักงานอื่นมีงานทำ ขอปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานเท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงประการเดียว ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างนั้นเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอน มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างพนักงานต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกรรมการฯ การกระทำของภรรยาผู้บริหารจึงไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง vs. นายจ้าง: การพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้อำนวยการธนาคารจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างตามคำนิยาม"นายจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2แต่ก็เป็นนายจ้างของพนักงานของจำเลยมิใช่เป็นนายจ้างของจำเลยฐานะระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์ก็เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยเพื่อรับค่าจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตามคำนิยาม "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยนั้นในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันที่1 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่นับจากวันที่ฟ้องย้อนหลังไปเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการไม่แสวงหากำไรไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ ภายใต้ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตหน้าที่ลูกจ้าง: การใช้วิธีการใดในการทำงานเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง
การที่ ส. ลูกจ้างโจทก์ไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำ เพื่อสูบน้ำขึ้นมาทำความสะอาดที่พัก และขณะเดียวกันพระภิกษุได้ขอให้ ส. สูบน้ำไปไว้บนกุฎิพระด้วย ส. ได้ถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ระหว่างระหว่างกำลังใช้มอเตอร์ สูบน้ำขึ้นจากสระน้ำ นั้น พึงเห็นได้ว่า ส.จะต้องทำความสะอาดที่พักตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานของโจทก์ ส.จำเป็นต้องใช้น้ำเอามาทำความสะอาดที่พักดังกล่าว การที่จะนำเอาน้ำในสระขึ้นมาใช้เป็นหน้าที่ของ ส.ฉะนั้นส. จะใช้วิธีการอย่างใดเป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของ ส. เพื่อให้ได้น้ำขึ้นมาใช้ เมื่อส. เลือกวิธีไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำจากพระภิกษุมาใช้สูบ น้ำ เพื่อทำความสะอาดที่พัก ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของ ผู้ควบคุมงานของโจทก์และถือว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้กับโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการใช้วิธีการที่อยู่ในดุลพินิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
ผู้ควบคุมงานของนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำความสะอาดที่พักแรมชั่วคราวที่ศาลาการเปรียญวัดซึ่งใช้ในระหว่างออกปฏิบัติงานก่อสร้างขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า การทำความสะอาดที่พักจำเป็นต้องใช้น้ำด้วย การที่จะนำเอาน้ำในสระขึ้นมาใช้เป็นหน้าที่ของลูกจ้าง ฉะนั้นลูกจ้างจะใช้วิธีการอย่างใดเป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของลูกจ้างเพื่อให้ได้น้ำขึ้นมาใช้ เมื่อลูกจ้างเลือกวิธีโดยไปยืมมอเตอร์สูบน้ำจากพระภิกษุมาใช้สูบน้ำเพื่อทำความสะอาดที่พักถือได้ว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานของนายจ้างและถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้าง เมื่อลูกจ้างถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ระหว่างกำลังใช้มอเตอร์ที่ยืมมาดังกล่าวสูบน้ำขึ้นจากสระเพื่อจะทำความสะอาดที่พักแรม นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมาคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างทุกคนเป็นจำนวนแน่นอนและจ่ายเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของลูกจ้างทุกคนเช่นเดียวกับเงินเดือน ถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงต้องนำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพการจ้าง, สิทธิเรียกร้องค่าจ้าง, เงินกองทุนสงเคราะห์, และการลาออกของลูกจ้าง
ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยพ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจบริหารกิจการของ สถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการ กำหนด บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง กับรับผิดชอบในการจัดการ และดำเนินการของสถาบันตามที่คณะกรรมการมอบหมาย บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด หรือตัดเงินเดือนตลอดจนลงโทษพนักงานและลูกจ้าง ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มีอำนาจวางนโยบายบริหารและควบคุม ดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบซึ่งกิจการของสถาบัน ดังนี้ จำเลย ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการ บริหารกิจการและมีอำนาจบังคับบัญชา พนักงาน และลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอด ถอนลงโทษพนักงาน และลูกจ้างทุกคนเว้นแต่บางตำแหน่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็น นายจ้างของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 มีอำนาจให้ความเห็นชอบ วางนโยบายบริหารและควบคุมดูแลทั่วไปกับออกข้อบังคับต่าง ๆจำเลย ที่ 3 ถึงที่ 12 ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยัง เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์ เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้น แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้าง ที่ปรึกษาให้เสร็จภายใน กำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่จะรับ ข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญา ตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงาน เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็น ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคง เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้อง เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุ ครบ60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือ ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับ กำหนดไว้เท่านั้น การพ้น จากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตาม พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้ โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงาน-ที่ปรึกษาหลังพ้นตำแหน่งผู้บริหาร การสิ้นสุดสัญญาจ้างและสิทธิประโยชน์
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งฯ จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบของนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแลโดยทั่วไป และออกข้อบังคับต่าง ๆ เท่านั้น ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการของจำเลยที่ 1 ตามวาระแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือส่งให้โจทก์ลงนามในสัญญาที่ปรึกษาหากโจทก์ประสงค์จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อรับเงินเดือนและสวัสดิการต่อไปโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ลงนามเข้าเป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่โจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามที่จำเลยที่ 1 กำหนด จึงถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่พ้นกำหนดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายตามส่วน หากเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิด และมิได้ใช้สิทธิลาหยุด
ค่าจ้างหมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย และถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิด ให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ โดยให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้นค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นค่าจ้าง ลูกจ้างทำงานมานาน 1 ปี 8 เดือนครึ่ง แล้วถูกเลิกจ้าง โดยมิได้มีความผิด เมื่อยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน ที่มีสิทธิได้รับโดยสำหรับปีแรกเต็มปีจำนวน 6 วันทำงาน และอีก 8 เดือนครึ่งจำนวน 4 วันทำงาน รวมเป็น 10 วันทำงาน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินค่าจ้าง เงินค่าสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินค่าชดเชยให้ครบถ้วนแล้ว คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยนายจ้าง อ้างว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดด้วยวาจาไปครบถ้วนแล้วซึ่ง ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าในฐานะที่นายจ้างประกอบกิจการโรงพยาบาล ก็น่าจะมีวิธีการจดแจ้งหรือบันทึกเรื่องการลาหยุดไว้ จึงฟังได้ว่า ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิลาหยุด พฤติการณ์ที่ปรากฏยังไม่เพียงพอว่า นายจ้างจงใจผิดนัดในการจ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จึง ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินเพิ่มเติมของเงินค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน 68,400 บาท และให้ชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15ของเงินค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันฟ้อง โดยมิได้มีคำขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ในศาลแรงงานกลาง และคำขอนี้ก็มิได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.