พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์มิใช่ลูกจ้าง-นายจ้าง แม้ทำงานในสถานี โจทก์ซื้อเวลาออกอากาศ จัดรายการเอง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ของสถานีเพื่อให้โจทก์สามารถเป็นผู้จัดการสดได้เท่านั้น มิได้มีเจตนาจะทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ และโจทก์ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ฐานะลูกจ้างและนายจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินต่าง ๆ ตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การซื้อเวลาออกอากาศ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
จำเลยที่ 1 มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเข้าไปจัดรายการสดที่สถานีวิทยุของจำเลยที่ 1 โดยถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้เท่านั้นมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ประการใด และงานที่โจทก์ทำในสถานีของจำเลยที่ 1เป็นงานจัดรายการสดซึ่งผู้จัดรายการได้ซื้อเวลาออกอากาศของจำเลยที่ 1 ไป และเมื่อมีการซื้อเวลาออกอากาศไปแล้ว ผู้ซื้อเวลาออกอากาศจะจัดรายการออกอากาศอย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของผู้จัดรายการ ดังนั้น งานที่โจทก์ทำโดยแท้จริงคือการจัดรายการสด ซึ่งงานนี้แม้จะทำในสถานที่ของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขายเวลาในการจัดรายการให้ผู้ซื้อไปแล้ว งานจัดรายการจึงมิใช่งานของจำเลยที่ 1 แต่เป็นงานของผู้ที่ซื้อเวลาไป โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ซื้อเวลาออกอากาศไปจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น การทำงานจัดรายการสดจึงมิใช่งานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1เป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือว่าเป็นค่าจ้างตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ และโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ฐานะลูกจ้างและนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกีฬาแห่งประเทศไทย ไม่เข้าข่ายกิจการที่ต้องคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 มาตรา 8บัญญัติว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(1) ส่งเสริมกีฬา (2) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (3) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (4) จัดช่วยเหลือ แนะนำและร่วมมือในการจัดและดำเนินการการกีฬา (5) สำรวจจัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (6) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (7) สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา (8) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา วัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬาและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ปรากฏว่าได้ระบุวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไว้เลย แม้ในมาตรา 10 มาตรา 10 มาตรา 12 และมาตรา 9 บัญญัติให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีทุน รายได้ เงินสำรองและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินเพื่อหารายได้ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ไม่มีระเบียบข้อบังคับใดเลยที่กำหนดให้นำรายได้ไปแบ่งปันแก่ผู้ใดในฐานะผลกำไรหรือเงินปันผล รายได้หลักของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีรายได้จากเงินงบประมาณของแผ่นดินในอัตราเกินกว่าร้อยละเก้า สิบต่อปีของเงินรายได้ทั้งหมด กิจการของการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 และไม่ต้องอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างลูกจ้างรายวันเมื่อถูกจับกุม: ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างช่วงถูกควบคุมตัว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยถูกตำรวจจับกุมตัวและควบคุมตัวไว้จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ แม้ว่าจำเลยจะเป็นผู้แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับโจทก์ก็ตาม จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นให้โจทก์ เพราะโจทก์จะได้รับค่าจ้างเฉพาะในวันที่โจทก์มาทำงานให้แก่จำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้าง: ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน, ค่าทำงานล่วงเวลา, และวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์ทำงานเป็นพนักงานต้อน รับบนขบวนรถไฟดีเซลราง เริ่มเข้าทำงานก่อนที่ขบวนรถจะออก 1 ชั่วโมง และทำงานอยู่บนขบวนรถตลอดทางจนถึงสถานีปลายทาง ส่วนในเที่ยวกลับก็เข้าทำงานในลักษณะเดียวกันการทำงานของโจทก์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดินทางของขบวนรถดีเซลรางแต่ละครั้ง จึงเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แต่ละเที่ยวของการเดินทางจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติด้วย เพราะนอกจากงานต้อน รับขบวนรถแล้วโจทก์ไม่มีหน้าที่อื่นอีก แม้เวลาทำงานบนขบวนรถจะเกิดกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ก็ตาม โจทก์ก็ได้ทำงานกับจำเลยโดยได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมกันตลอดมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างกันในลักษณะดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อนำเบี้ยเลี้ยงไปคิดรวมกับเงินเดือนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ งานที่จำเลยให้โจทก์ทำเป็นงานขนส่ง แม้จำเลยจะให้โจทก์ทำงานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดในการกระทำของตนเป็นอีกกรณีหนึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเกือบหนึ่งเท่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ส่วนที่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นค่าทำงานเกินเวลา ทั้งกรณีไม่ใช่การใช้แรงงานไม่เหมาะสม จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินส่วนนี้อีก ลักษณะงานของโจทก์จะต้องทำต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันในวันที่ติดต่อกัน ไม่อาจหยุดเต็มวันในวันเดียวกันได้ จำเลยมีเวลาให้โจทก์หยุดทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งกรณีถือได้ว่าในแต่ละสัปดาห์จำเลยได้ให้โจทก์หยุดทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 7 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีไม่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดปีอื่น ทั้งจำเลยไม่ได้ให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้จำเลยกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ไม่ถือเป็นค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ
โจทก์และลูกจ้างอื่นแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนคนละ 330 บาทต่อเดือน โดยให้ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือนปกติ และให้รวมเข้ากับค่าจ้างหรือเงินเดือนที่จะได้รับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533เป็นต้นไป ค่าครองชีพจึงไม่ได้แยกต่างหากจากค่าจ้าง เมื่อค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายเดือนละ 330 บาท เท่ากับวันละ 13.75 บาทนำมารวมกับค่าจ้างปกติที่จำเลยจ่ายให้โจทก์วันละ 70 บาทแล้วจะเป็นค่าจ้างวันละ 83.75 บาท ในขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายในวันดังกล่าววันละ 74 บาท จำเลยจึงไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือต่ำกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงานจากบริษัทเดิมสู่ อ.ส.ม.ท. จำเลยมีดุลยพินิจในการรับเข้าทำงาน ไม่ถือเป็นลูกจ้างหากไม่ได้รับการพิจารณา
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 ก็เพราะมีความจำเป็นจะต้องจัดกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่เชื่อถือแก่สาธารณชนตามนโยบายรัฐบาลซึ่งไม่เกี่ยวกับการเลิกบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด และไม่มีบทมาตราใดที่ให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัดมาเป็นของจำเลย ส่วนมาตรา 37 เป็นเรื่องให้ดุลพินิจจำเลยในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร มิใช่ต้องรับทั้งหมด โจทก์จึงยังไม่อยู่ในฐานะที่เป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจำเลยมีผลใช้บังคับ โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจรับโจทก์เข้าทำงาน เมื่อปรากฏว่าในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นพนักงานจำเลย โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยก็มิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงาน โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังการจัดตั้งใหม่ จำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการรับเข้าทำงาน
ตาม พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยมิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการและหนี้สินของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นของจำเลย คงมีบทบัญญัติกำหนดให้จำเลยพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร ฉะนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ดุลพินิจ ในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่จำเลยเห็นสมควร ดังนี้โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจ รับโจทก์เข้าทำงานแล้วการที่โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยมิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงานโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างจำเลยแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานและเรียกค่าจ้างระหว่างพักงานจากจำเลยในฐานะนายจ้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพนักงานหลังการจัดตั้งองค์การใหม่: ดุลพินิจนายจ้าง และสิทธิลูกจ้าง
พระราชกฤษฎีกา ษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยมิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการและหนี้สินของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นของจำเลย คงมีบทบัญญัติกำหนดให้จำเลยพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร ตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ดุลพินิจในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่จำเลยเห็นสมควร ดังนี้ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจรับโจทก์เข้าทำงานแล้วการที่โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยมิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงาน โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างจำเลยแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและเรียกค่าจ้างระหว่างพักงานจากจำเลยในฐานะนายจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและสิทธิค่าชดเชย ระเบียบบริษัทมิใช่กำหนดระยะเวลาจ้าง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีระเบียบว่าด้วยการออกจากงานกรณีสูงอายุ ว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ซึ่งเป็นปีที่ผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานจำเลย เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ที่ว่าพนักงานของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่งหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่ เพราะจำเลยอาจเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้ง และการถอนตำแหน่งหรือโจทก์จะสมัครใจลาออกก่อนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็อาจทำได้การจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน กรณีไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงลักษณะงานว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจ้างเป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ ดัง ระบุในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายจำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถามและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เงินบำนาญที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ จัดอยู่ในประเภทเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสามของระเบียบ ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานข้อ 3(3) ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณไว้ตามข้อ 12ว่า ผู้มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปีให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบห้าซึ่งมีหลักเกณฑ์และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย.