พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว หากนายจ้างลดค่าจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มีข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทำงานวันหยุด & การปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นงาน ย่อมได้รับเงินทดแทนหากประสบอันตราย และค่าพาหนะเดินทางเป็นค่ารักษาพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพรเมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์ การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่20 พฤศจิกายน 2517 เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างในคำให้การชัดเจน หากศาลฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่จำเลยกล่าวอ้าง ถือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ในคดีแรงงาน กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ จำเลยต้อง กล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ให้ชัดแจ้งในคำให้การ คำให้การของจำเลยที่ให้การถึง เหตุแห่งการเลิกจ้างว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ได้ ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายของนายจ้างมาโดยตลอด ..." นั้นมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายในเรื่องใด และเมื่อใด ดังนั้นการที่ ศาลแรงงานกลาง ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ออกปฏิบัติงานตาม หมายกำหนดเดินทางออกต่างจังหวัดตาม ที่จำเลยที่ 1 กำหนดและโจทก์ทำยอดขายไม่ได้ตาม ที่ตกลง ไว้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่มิได้มีปรากฏในคำให้การเมื่อ ศาลแรงงานกลาง นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างแล้ววินิจฉัยว่าไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเมื่อเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ ศาลแรงงานกลาง ยกขึ้นวินิจฉัยไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุจะอ้างได้ตาม กฎหมาย และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงเมื่อ ศาลแรงงานกลาง ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกา ต้อง ย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยก่อน จำเลยจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงระหว่างเดินทางไปขายสินค้าตามจังหวัดต่าง ๆ แก่โจทก์โดย สม่ำเสมอพร้อมกับเงินเดือน จึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่
ส. เป็นลูกจ้างของโจทก์มีตำแหน่งเป็นคนการ มีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมบนขบวนรถไฟสายหนองคาย-กรุงเทพ ตั้งแต่รถไฟออกจากสถานีหนองคาย ในเวลา19 นาฬิกา ถึงเวลา 23 นาฬิกา หลังจากนั้นจนถึงเวลา 4.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเป็นเวลาพักผ่อน ส. จะนอนที่รถทำการพนักงานรักษารถ และเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 4.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง การที่ ส. ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องเดินทางไปกับขบวนรถไฟ การพักผ่อนบนขบวนรถไฟก็เพื่อให้ส.ได้ปฏิบัติงานต่อหลังจากพักผ่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของส.ที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟ ฉะนั้น การที่ ส. พลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่พักผ่อนบนรถไฟ จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายจากการทำงาน: ลูกจ้างประสบอันตรายขณะพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดย ผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่ เวลา 23 นาฬิกา จนถึง เวลา4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้ มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้ เริ่มปฏิบัติงานต่อ จนถึง เวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้อง อยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อ ไป ดัง นั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตก จากขบวนรถไฟจนถึง แก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของนายจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความในบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" เป็นข้อยกเว้นต้องตีความโดยเคร่งครัดหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100คน โดยมี ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งแม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ซึ่งสภาพงานที่ทำแม้จะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่จำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. งานบ้านที่โจทก์ทำดังกล่าวจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยค่าจ้างที่ขาดหายไป รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่มได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างงานบ้าน: งานบ้านที่รวมกับการประกอบธุรกิจของนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึง ลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน"ตาม บทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตี ความโดย เคร่งครัดดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึง ลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะ ที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดย งานบ้านนั้นจะต้อง มิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใด รวมอยู่ด้วย จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่าง ประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่ง แม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่ งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้ จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้ รับความคุ้มครองตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำ กว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสวัสดิการบุตรไม่ถือเป็นค่าจ้าง: ศาลยืนตามเดิม ค่าจ้างต้องเป็นการตอบแทนการทำงานปกติ
การที่จำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างนำบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียนของจำเลยโดย ไม่เก็บค่าเล่าเรียน เป็นเพียงการให้สวัสดิการแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียว กับค่าจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้างที่จำเลยจะนำมารวมคำนวณเป็นค่าจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ตาม กฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน ศาลฎีกาเน้นการพิจารณาตามข้อตกลงและคำขอของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ให้คำนิยามของคำว่า "เจ็บป่วย" ไว้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เมื่อโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างไม่ได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้าง แต่ ฟ้องเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงไม่จำต้องนำหลักฐานกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดย คำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้ รับก็ตาม แต่ เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ .