คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ค่ารักษาพยาบาล และการคำนวณวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2คำว่า "เจ็บป่วย" หมายความว่า ลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดจากการทำงานตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวให้คำนิยามของคำว่า"เจ็บป่วย" ไว้เช่นนั้นก็เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ฉะนั้นเมื่อคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลย แต่เรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเมื่อจำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า กรณีลูกจ้างป่วยไม่ว่าเนื่องจากการทำงานหรือไม่จำเลยก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ จำเลยต้องจ่ายตามข้อตกลงเช่นว่านั้น ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจำเลยถึงหลักกฎหมายที่ว่า การเจ็บป่วยของโจทก์เกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: ค่าชดเชย, วันหยุดพักผ่อน, และการผิดนัดชำระหนี้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46และข้อ 47 มิได้บัญญัติว่าให้ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่เลิกจ้างก่อนเกษียณอายุ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ที่ นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ดังนี้หาเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวไม่ เงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของการประปาส่วนภูมิภาคจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์มีหลักเกณฑ์การคำนวณและการจ่ายแตกต่างจากค่าชดเชย จึงเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย การที่จำเลยจ่ายสงเคราะห์แก่โจทก์จะถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ ข้อบังคับดังกล่าวที่กำหนดให้ถือว่าการจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นการจ่ายค่าชดเชยจึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังนี้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่มีผลบังคับ การหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะหยุดหรือไม่หยุดก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ใช้สิทธิลาหยุดประจำปีในช่วงใดและโจทก์ก็มิได้ลาหยุดทั้งโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ดังนี้ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเลิกจ้างและข้อ 46 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเช่นกัน ดังนั้นการที่จำเลยมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยแก่โจทก์ในวันที่เลิกจ้าง จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นมาดังนี้ จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะนายจ้างของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท และการไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อฐานะต่างกัน
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน (ข้อ 2)ได้ ให้ความหมายคำว่า "นายจ้าง" ว่า "...หมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ได้ รับ มอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างในกรณีที่ นายจ้างเป็น นิติบุคคล" ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นนายจ้างตาม ความหมายดังกล่าวแล้ว คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะ ผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ. ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะ เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2ซึ่ง เป็นบริษัทจำกัด ดังนี้ จึงถือ ว่าจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและคดีนี้เป็นคนละคนกัน มิใช่กรณีที่คู่ความเดียว กันไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีต้องใช้ค่าจ้างขณะเลิกจ้าง รวมค่าครองชีพ
ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45สิทธิของลูกจ้างที่จะได้ รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเกิดขึ้นเมื่อถูก เลิกจ้าง ฉะนั้นการคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงต้อง คิดจากอัตราค่าจ้างขณะเลิกจ้าง ดังนี้การนำค่าครองชีพรวมกับเงินเดือนของลูกจ้างมาคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ แม้จำเลยจะออกคำสั่งยกเลิกหลังลูกจ้างลาออก
ก่อนโจทก์ลาออกจากงาน จำเลยยังคงจ่ายค่าครองชีพให้พนักงานรวมทั้งโจทก์ด้วย ต่อมาหลังจากโจทก์ลาออกจากงานไปแล้ว จำเลยมีคำสั่งยกเลิกการจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงาน คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือได้ว่าขณะโจทก์ลาออกจากงาน โจทก์ได้รับค่าครองชีพอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณบำเหน็จและค่าชดเชย การเลิกจ้างเนื่องจากขาดความอุตสาหะถือเป็นการเลิกจ้าง
ค่าครองชีพที่ นายจ้าง จ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำรายเดือน มีกำหนดแน่นอนเช่นเดียว กับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือ ว่าเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานดังนี้เป็นค่าจ้างตาม ความหมายของประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 ซึ่ง ต้อง นำมาเป็นฐาน ในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ระบุว่าการเลิกจ้างหมายถึง การที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน โดย ลูกจ้างมิได้กระทำผิดตาม ข้อ 47มิได้มีข้อความระบุยกเว้นไว้ว่าการออกจากงานเนื่องจากขาดความอุตสาหะ หย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ดังนี้ การที่ นายจ้าง เลิกจ้างโดย เหตุที่ลูกจ้างขาดความอุตสาหะ หย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ จึงมิใช่การเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำความผิดตาม ข้อ 47.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาตามคำสั่งนายจ้าง ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อการแข่งขันกีฬาอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนายจ้างการที่ลูกจ้างไปแข่งขันกีฬาฟุตบอลตาม คำสั่งนายจ้างแล้วประสบอันตรายในขณะแข่งขัน ดังนี้เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ รับค่าทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนพร้อมด้วย ดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน: ระยะเวลาปฏิบัติงานต้องสัมพันธ์กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้รวมถึงเวลานอกเหนือการทำงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัท ก. ทำหน้าที่เป็นช่างทาสีบริษัท ก. มีคำสั่งให้โจทก์กับคนงานอื่นไปทำงานที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างเวลา 16-20 นาฬิกา เมื่อเวลาประมาณ3 นาฬิกา ของวันที่ 26 มิถุนายน 2530 โจทก์พลัดตกจากรถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์นอนอยู่เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแขนและขาขวาใช้งานไม่ได้เวลาที่โจทก์ประสบอันตรายดังกล่าวไม่ใช่ระยะเวลาที่โจทก์ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เพราะเป็นเวลาที่โจทก์ต้องพักผ่อนเพื่อเตรียมปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาโจทก์จึงเรียกร้องเอาค่าทดแทนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนเพื่อเตรียมทำงานไม่ใช่เวลาปฏิบัติงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัท ก. ทำหน้าที่ช่างทาสีบริษัท ก. มีคำสั่งให้โจทก์กับคนงานอื่นไปทำงานที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ให้ทำงานระหว่างเวลา 16-20 นาฬิกา และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2530 เวลาประมาณ 3 นาฬิกา โจทก์ได้พลัดลื่นตกลงมาจากรถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์นอนอยู่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายแขนและขาขวาใช้งานไม่ได้ ระยะเวลาที่โจทก์ประสบอันตรายดังกล่าวไม่ใช่ระยะเวลาที่โจทก์ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่โจทก์ต้องพักผ่อน เพื่อเตรียมปฏิบัติงานตามกำหนดเวลา โจทก์จึงเรียกร้องเอาค่าทดแทนไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน: ระยะเวลาพักผ่อนไม่ใช่เวลาทำงาน
โจทก์ได้รับคำสั่งจากนายจ้างให้เดินทางจากกรุงเทพมหานครเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ตบแต่งอาคารธนาคาร กสิกรไทย สาขา ประจวบคีรีขันธ์ ในตอนบ่ายของวันรุ่งขึ้น โจทก์ไปถึงเวลากลางคืนจึงได้นอนหลับบนรถยนต์บรรทุกของนายจ้างที่โดยสารไป ไม่ได้เข้าพักกับลูกจ้างคนอื่นในโรงแรมที่ นายจ้าง จัดไว้ให้ การที่โจทก์พลัดตกจากรถยนต์บรรทุกจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายในคืนนั้นซึ่งเป็นระยะเวลาที่โจทก์ต้องพักผ่อนเพื่อเตรียมปฏิบัติหน้าที่ตามกำหนด ไม่ใช่เวลาที่โจทก์ปฏิบัติงานตามหน้าที่ จึงหาใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างไม่.
of 16