คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ไม่อาจบังคับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยไว้ในคดีแรงงานว่า ผู้ร้องมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างค้างจ่ายจากจำเลยได้ทันที ก็เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง แต่การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างนั้นจะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้ว ทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ต่อไปได้ จำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจดำเนินการประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินต่าง ๆ ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เท่านั้น และเมื่อค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวจึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าจ้างประจำเดือนค้างจ่ายเป็นหนี้ประเภทหนึ่งที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้าง แต่เมื่อจำเลยนายจ้างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แล้วไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโดย จ.พ.ท. ต่อไป และหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838-3853/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะการจ้างงาน: การจ่ายค่าจ้างตามผลงานไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาจ้างทำของ หากมีอำนาจบังคับบัญชา
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานแต่จำเลยเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ในการทำงาน ดังนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นลักษณะการจ้างแรงงานหาใช่จ้างทำของไม่ การที่จำเลยจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้โจทก์ตามผลงานที่ทำได้นั้นค่าตอบแทนดังกล่าวคงเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย: ศาลพิจารณาอายุงานต่อเนื่องจากสัญญาจ้างหลายฉบับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918-2920/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบาทตัวแทนจัดหางานต่างประเทศ: การรับผิดชอบค่าจ้าง และขอบเขตการดำเนินงานภายใต้ พ.ร.บ.จัดหางาน
บทบัญญัติมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มีความหมายว่านายจ้างซึ่งอยู่ในต่างประเทศก็ดี หรือตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวนั้นก็ดี จะดำเนินการรับสมัครคนหางานเพื่อไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างโดยตรงโดยไม่ผ่านการจัดหาของสำนักงานจัดหางานในประเทศ ไทย หรือกรมแรงงานนั้นไม่ได้ หากนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรานี้ ก็จะมีความผิดตามมาตรา 82 และบทบัญญัติมาตรา 50 ก็มิได้ห้ามไว้ว่า ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานจะเป็นตัวแทนของนายจ้างไม่ได้ ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางานอาจมีฐานะเป็นตัวแทนของนายจ้างอีกฐานะหนึ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, เงินบำเหน็จ: การคำนวณฐานจากค่าครองชีพและเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ
องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปนายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างประจำทุกเดือนและมีจำนวนแน่นอน ซึ่งเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานของลูกจ้างทุกคน ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ทั้งตามข้อบังคับของจำเลยให้ความหมายของคำว่า"เงินเดือน" ว่า หมายถึงเงินที่องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงาน ค่าครองชีพจึงอยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ตามข้อบังคับของจำเลย หาใช่เป็นสวัสดิการไม่ ฉะนั้น การคำนวณค่าชดเชยและเงินบำเหน็จของลูกจ้างจึงต้องนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วย ส่วนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวเป็นเงินที่กระทรวงกลาโหมสั่งให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์ เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จความชอบแก่โจทก์ เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่สู้รบณ สาธารณรัฐเวียตนาม มิใช่เป็นเงินที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จระบุว่า พนักงานซึ่งออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จแต่เพียงอย่างเดียว และให้ถือว่าเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย เงินบำเหน็จดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีตลอดมาจนออกจากงาน ถือได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากค่าชดเชยที่ข้อบังคับของจำเลยให้ถือว่าการจ่ายเงินบำเหน็จเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 ไม่มีผลบังคับ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงิน พ.ส.ร. ไม่ใช่ค่าจ้าง จึงไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินที่ กระทรวงกลาโหม สั่งให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์ เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่สู้รบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม มิใช่เป็นเงินที่จำเลยตกลงจ่ายแก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่อาจนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าจ้าง, ค่าบำเหน็จ, ค่าครองชีพ: การจ่ายค่าจ้างเกิน, การยอมรับความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้างหรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอนเป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใด จำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าจ้าง: การยอมรับความเป็นลูกจ้าง, ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง, การจ่ายค่าจ้างเกิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าจ้างล่วงเวลา และสิทธิลูกจ้างชั่วคราว
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯแต่สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียวกับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ความหมาย แห่ง ป.พ.พ.มาตรา 583 แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามบทมาตราดังกล่าว.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้องทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็มลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ย จากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง.
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลงให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายจ้างได้เมื่อนายจ้างได้บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึงสิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์.
of 16