คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: มณฑลทหารบกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง กองทัพบกต้องเป็นผู้ร้องทุกข์
จำเลยทำเอกสารเท็จยื่นขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของมณฑลทหารบกที่ 31 แม้ค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวอยู่ใน ความดูแลรับผิดชอบของมณฑลทหารบกที่ 31 แต่มณฑลทหารบกที่ 31เป็นเพียงหน่วยงานของกองทัพบกสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 17 กำหนดให้กองทัพบกเป็นนิติบุคคล มณฑลทหารบกที่ 31 ไม่มีฐานะ เป็นนิติบุคคลจึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือถือว่าเป็นผู้แทนอื่นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) การที่ พลตรี ศ. ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 มอบอำนาจให้พันโท ป. มาร้องทุกข์ ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแทนกองทัพบก จึงถือว่าไม่มีการร้องทุกข์พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะคู่ความของหน่วยงานราชการ และอำนาจสั่งพักราชการ/ออกจากราชการเนื่องจากมลทิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายพิเศษ แม้กรมกำลังพลทหารบก จำเลยที่ 3กรมการแพทย์ทหารบก จำเลยที่ 4 และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำเลยที่ 5จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2512 มาตรา 4 ซึ่งออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความที่จะถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยได้ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ทหารประจำการพักราชการ พ.ศ. 2500 ข้อ 6(2) กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการออกจากราชการได้ แม้ไม่ได้กระทำความผิด แต่หากมีมลทินหรือมัวหมอง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งถูกสั่งให้พักราชการออกจากราชการประจำการเป็นนายทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัด เพราะเหตุมลทินหรือมัวหมอง จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของส่วนราชการต่อละเมิดของข้าราชการ และอายุความฟ้องคดีละเมิด
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจะรับราชการของทหาร: อำนาจของหน่วยงาน, ความผูกพันของสัญญา, และการบังคับค่าปรับ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ เตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหาย ต่อการจัดเตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้สมัครเข้ารับราชการสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ และกำหนดค่าปรับในกรณีที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่างๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับ จำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจ และไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับ แก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าว ในนามของจำเลยที่ 1ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์กองทัพอากาศ ย่อมมีผลผูกพันและบังคับใช้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายต่อการจัดเตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับสมัครเข้ารับราชการยังสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์และกำหนดค่าปรับในกรณ๊ที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับแก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อยเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้