พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง โดยการแสดงตนเป็นผู้อื่น
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 2 ลงในบัตรเครดิตของผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อผู้เสียหายที่ 2 ลงในใบสั่งซื้อสินค้า (ใบเซ็นชื่อ) แล้วใช้แสดงใบสินค้าต่อพนักงานขายสินค้าของผู้เสียหายที่ 3 โดยแสดงตนเป็นคนอื่นนั้น ย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 และฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นตามมาตรา 342 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อปลอมในตั๋วแลกเงินเพื่อรับเงิน ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมเอกสาร
เมื่อการที่จำเลยลงลายมือชื่อปลอมลงในตั๋วแลกเงินธนาคารออมสินนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่ต้องทำลงในเอกสารดังกล่าว เพื่อให้เอกสารนั้นสมบูรณ์ครบถ้วนเพื่อที่เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินจะจ่ายเงินให้ และก็ทำให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อว่าเป็นผู้ทรงที่แท้จริง จึงได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปดังนี้ ย่อมเป็นไปโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้มีสิทธิรับเงินที่แท้จริง และแก่ธนาคารออมสิน การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามมาตรา 266(4) แต่การลงลายมือชื่อปลอมก็เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน คือ เงิน อันเป็นการกระทำส่วนหนึ่งในกรรมที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 342(1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ซึ่งมาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยผิดมาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในตั๋วแลกเงินเพื่อเบิกเงิน ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร
เมื่อการที่จำเลยลงลายมือชื่อปลอมลงในตั๋วแลกเงินธนาคารออมสินนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่ต้องทำลงในเอกสารดังกล่าว เพื่อให้เอกสารนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อที่เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินจะจ่ายเงินให้ และก็ทำให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อว่าเป็นผู้ทรงที่แท้จริงจึงได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไป ดังนี้ ย่อมเป็นไปโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้มีสิทธิรับเงินที่แท้จริงและแก่ธนาคารออมสิน การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามมาตรา266(4) แต่การลงลายมือชื่อปลอมก็เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน คือ เงิน อันเป็นการกระทำส่วนหนึ่งในกรรมที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 342(1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ซึ่งมาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยผิดมาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยได้