คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาแบ่งแยกที่ดินและสร้างถนน ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเงินและศาลสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่5กุมภาพันธ์2534จำเลยไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำไฟฟ้าและยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินจึงถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจำเลยให้การสู้คดีว่าได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปรับโอนที่ดินในวันที่5กุมภาพันธ์2534แต่คำให้การของจำเลยไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำและติดตั้งเสาไฟฟ้าจึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจริงและข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันที่27กุมภาพันธ์2534จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์แล้วเสร็จทั้งตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับเงินค่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะต้องแบ่งแยกที่ดินออกจากโฉนดที่ดินเดิมสร้างถนนเข้าที่ดินกว้าง5เมตรทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าให้เรียบร้อยเมื่อจำเลยยังไม่ได้จัดการแบ่งแยกที่ดินทำถนนเข้าที่ดินทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าจำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระและจดทะเบียนรับโอนที่ดินที่จะซื้อขายกันการที่โจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยและไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินกันในวันที่5กุมภาพันธ์2534ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแม้โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินก็ไม่อาจจะจดทะเบียนโอนที่ดินกันได้และการที่จำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาทั้งเมื่อจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาและการบังคับคดี: คำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความ ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้ได้รับประโยชน์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคำพิพากษามีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองในคดีให้ต้องปฏิบัติตามแต่ไม่ผูกพันท.บุคคลภายนอกแม้จะเป็นผู้รับผลประโยชน์จากคำพิพากษาเป็นคำสั่งเกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลว่าคำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง ส่วนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคู่ความทุกฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาผู้ร้องที่2ไม่มีอำนาจแจ้งอายัดมิให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาผู้ร้องทั้งสองไม่มีอำนาจคัดค้านมิให้จดทะเบียนใส่ชื่อท. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยและให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือเนื้อที่26ไร่ใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสองและท. ร่วมกันโดยมิต้องระบุส่วนแบ่งของแต่ละคนเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคู่ความที่มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคู่ความอีกฝ่ายที่ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกันและมิใช่กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งแห่งคดีแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและผลกระทบต่อคู่ความภายนอก: ศาลไม่อาจบังคับคดีกับผู้ที่ถูกถอนฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2แล้ว การถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย มีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันยุติและจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไป แต่กลับเป็นบุคคลภายนอก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถอนฟ้องแล้ว ศาลยังเพิกถอนนิติกรรมได้หรือไม่? ผลกระทบต่อคู่ความภายนอก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่2แล้วการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยมีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นอันยุติและจำเลยที่2มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไปแต่กลับเป็นบุคคลภายนอกศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดขั้นการประดิษฐ์สูง และการฟ้องซ้ำ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยโดยโจทก์ทั้งสองอ้างว่าสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อ พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านเหล็กบังตาสำหรับประตูเหล็กยืดได้ถูกจำเลยอาศัยสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวของจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาหลายเรื่องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ของจำเลยและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านบังตาสำหรับประตูเหล็กยึดของโจทก์ที่ 2 ผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ที่ 2 ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยได้ตามบทบัญญัติมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522
ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยนั้น เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 28 แล้ว บุคคลที่เห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบด้วยมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 มีสิทธิยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา 28การคัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงกระบวนการเพื่อประกอบการพิจารณาของอธิบดีกรมทะเบียนการค้าว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรเป็นผู้มีสิทธิรับสิทธิบัตรและจะสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรนั้นหรือไม่ แต่หากสิทธิบัตรที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกให้ไปนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบตามมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้ว มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. นั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 261 ของจำเลยเห็นว่า สิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรนั้น โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงหาได้ตัดสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยตามที่ได้รับความคุ้นครองอยู่ในมาตรา 54 วรรคสองไม่
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 13183/2530 ของศาลแพ่งเป็นกรณีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 2 และพวกขอให้ศาลยกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่วินิจฉัยว่าคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ใดและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 ซึ่งคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า แบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ 2 เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ๎ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยหรือไม่ ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2923/2529 ของศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 และพวกฟ้องจำเลยฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไปร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นคดีอาญาว่าโจทก์ที่ 1 และพวกกระทำความผิดอาญาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยและคดีอาญานั้นถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ทำให้โจทก์ที่ 1 กับพวกเสียหาย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และพวกเช่นนั้นหรือไม่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีทั้งสองดังกล่าวจึงเป(นคนละประเด็นกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเป็นสิทธิบุตรที่ไม่สมบูรณ์และโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมิใช่ประเด็นที่ศาลใน 2 คดีก่อนได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่ฟ้องซ้ำกันกับคดีแพ่งทั้งสองดังกล่าว
ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลยและข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษดังกล่าวต่างมีข้อถือสิทธิเป็นสิ่งประดิษฐ์ในม่านแบบยืดและพับได้ ซึ่งปลายม่านทั้งสองด้านม้วนเป็นรูปก้นหอย ด้านหนึ่งม้วนตามเข็มนาฬิกา อีกด้านหนึ่งม้วนทวนเข็มนาฬิกาเหมือนกัน แผ่นใบม่านสวมสอดเข้าด้วยกันในลักษณะสามารถยืดออกและพับได้ โดยมีข้อแตกต่างกัน คือ ปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษหักมุมทั้งสองด้าน ส่วนปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยหักเป็นมุมด้านเดียว ซึ่งข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ทั้งไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยใช้งานได้ดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษเพราะข้อถือสิทธิที่แตกต่างกันดังกล่าวอย่างไร ดังนี้การประดิษฐ์ใบม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 จำเลยย่อมไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยจึงเป็นสิทธิบุตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 (2) อันเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชอบที่จะไม่รับฟังพยานเอกสาร ที่โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษ เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาซึ่งจำเลยได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวไว้แล้วนั้นจำเลยมิได้กล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยโดยอ้างว่า สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตรพ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กรม-ทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลย หากกรมทะเบียนการค้าไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยเช่นนั้นแล้ว กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จะต้องไปดำเนินการเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยตามพระราชบัญญัตินั้นต่อไป หาใช่เป็นการพิพากษาบังคับกรมทะเบียนการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีตามที่จำเลยฎีกาไม่ เพียงแต่ศาลล่างทั้งสองใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 1,500 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน หลังพ้นระยะห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งได้รับมาตามพระราชบัญญัติ จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตามมาตรา12 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้..." ได้ความว่าทางราชการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้โจทก์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2519 ระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในห้าปีจึงมีอยู่จนถึงวันที่ 26 เมษายน 2524 แม้ว่า ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อคือวันที่ 5 เมษายน 2519 ตลอดมาจนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 830/2531 จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์วันที่ 26 เมษายน 2524 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลชั้นต้น จำเลยยังครอบครองที่ดินพิพาทไม่ครบสิบปีจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์คำสั่งศาลในคดีหมายเลขแดงที่ 830/2531 จึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง(2)โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: จำเลยไม่ใช่เจ้าของสิทธิโดยตรง โจทก์ฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปดูแล เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทโดยตรง ทั้งกฎหมายได้ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุและมีหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้ทำการแทนหรือตัวแทนกระทรวงการคลังเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องกระทรวงการคลังเป็นจำเลยด้วยคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงไม่อาจผูกพันกระทรวงการคลังผู้เป็นเจ้าของสิทธิในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการกระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คน ซึ่งเป็นทายาทการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตายโจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวม
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คนซึ่งเป็นทายาท การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ต้องถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1 และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตามแต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตาย โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันจำเลยที่ถูกจำหน่ายคดีแล้ว
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 แล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน สัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำในฐานะคู่ความแห่งคดี คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสองศาลจะออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 หาได้ไม่
ปัญหาว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
of 3