คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 377

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายไม่สมบูรณ์หากไม่ทำสัญญาภายในกำหนด แม้มีการวางมัดจำแล้ว
โจทก์ตกลงจะซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวจากจำเลยด้วยเงินผ่อน ได้วางเงินมัดจำไว้แล้วแต่มีข้อตกลงกันว่า จะทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายกันอีกฉบับหนึ่ง เพื่อกำหนดการชำระเงินการแบ่งแยกโฉนดและการโอนกรรมสิทธิ์ หากโจทก์ไม่ทำสัญญาภายในกำหนด 1 เดือน ถือว่าโจทก์ไม่ซื้อ ยอมให้จำเลยริบเงินมัดจำได้ ดังนี้ หากโจทก์ไม่ยอมทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายตามที่ตกลงกันไว้ ย่อมถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน โจทก์จะหาว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยขายที่ดินพร้อมตึกแถวให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายไม่สมบูรณ์หากไม่ทำสัญญาหลัก การวางมัดจำยังไม่ผูกพัน
โจทก์ตกลงจะซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวจากจำเลยด้วยเงินผ่อนได้วางเงินมัดจำไว้แล้วแต่มีข้อตกลงกันว่า จะทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายกันอีกฉบับหนึ่ง เพื่อกำหนดการชำระเงินการแบ่งแยกโฉนดและการโอนกรรมสิทธิ์ หากโจทก์ไม่ทำสัญญาภายในกำหนด 1 เดือน ถือว่าโจทก์ไม่ซื้อ ยอมให้จำเลยริบเงินมัดจำได้ ดังนี้ หากโจทก์ไม่ยอมทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายตามที่ตกลงกันไว้ ย่อมถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน โจทก์จะหาว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยขายที่ดินพร้อมตึกแถวให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายไม่สมบูรณ์หากไม่ทำสัญญาหลัก การวางมัดจำยังไม่ผูกพัน
โจทก์ตกลงจะซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวจากจำเลยด้วยเงินผ่อน. ได้วางเงินมัดจำไว้แล้ว.แต่มีข้อตกลงกันว่า จะทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายกันอีกฉบับหนึ่ง เพื่อกำหนดการชำระเงินการแบ่งแยกโฉนดและการโอนกรรมสิทธิ์. หากโจทก์ไม่ทำสัญญาภายในกำหนด 1 เดือน ถือว่าโจทก์ไม่ซื้อ. ยอมให้จำเลยริบเงินมัดจำได้. ดังนี้ หากโจทก์ไม่ยอมทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายตามที่ตกลงกันไว้. ย่อมถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน. โจทก์จะหาว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยขายที่ดินพร้อมตึกแถวให้โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609-1610/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิริบมัดจำหลังบอกเลิกสัญญา ถือเป็นการผ่อนผันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ริบมัดจำไม่ได้
โจทก์จ้างจำเลยร่วมขนดินซึ่งถ้าผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญา และริบมัดจำได้ จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันการชำระมัดจำของจำเลยร่วม ต่อมาโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยร่วม แต่หลังจากนั้นโจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยร่วมเกลี่ยดินที่กองไว้ให้ได้ระดับที่กำหนดให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด โดยจะพิจารณาจ่ายเงินที่ค้างให้จำเลยร่วมต่อไป และให้จำเลยร่วมจัดการต่ออายุสัญญาค้ำประกันเดิมไปจนกว่าจะเกลี่ยดินเสร็จ ดังนี้ แสดงว่าโจทก์กลับมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมอีกโดยยอมพิจารณาจ่ายเงินที่ค้างแก่จำเลยร่วมและยอมผ่อนผันไม่ริบมัดจำ ฉะนั้น บันทึกของจำเลยร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ที่ว่าจำเลยร่วมจะเกลี่ยดินให้แล้วเสร็จอย่างช้าไม่เกิน 25 วัน ถ้าทำไม่เสร็จตามกำหนด โจทก์จึงจะริบเงินมัดจำ จึงแสดงว่าโจทก์สละสิทธิริบมัดจำตามสัญญาเดิม เป็นการผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609-1610/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิริบมัดจำหลังบอกเลิกสัญญา ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ไม่สามารถริบมัดจำได้
โจทก์จ้างจำเลยร่วมขนดินซึ่งถ้าผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญา และริบมัดจำได้จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันการชำระมัดจำของจำเลยร่วม ต่อมาโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยร่วม แต่หลังจากนั้นโจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยร่วมเกลี่ยดินที่กองไว้ให้ได้ระดับที่กำหนดให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดโดยจะพิจารณาจ่ายเงินที่ค้างให้จำเลยร่วมต่อไป และให้จำเลยร่วมจัดการต่ออายุสัญญาค้ำประกันเดิมไปจนกว่าจะเกลี่ยดินเสร็จดังนี้ แสดงว่าโจทก์กลับมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมอีก โดยยอมพิจารณาจ่ายเงินที่ค้างแก่จำเลยร่วมและยอมผ่อนผันไม่ริบมัดจำ ฉะนั้น บันทึกของจำเลยร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ที่ว่าจำเลยร่วมจะเกลี่ยดินให้แล้วเสร็จอย่างช้าไม่เกิน 25 วัน ถ้าทำไม่เสร็จตามกำหนด โจทก์จะริบเงินมัดจำ จึงแสดงว่าโจทก์สละสิทธิริบมัดจำตามสัญญาเดิม เป็นการผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาไม่สมบูรณ์จนกว่าจะทำหนังสือสัญญา การวางมัดจำผูกพันเฉพาะระยะเวลาที่กำหนด
เอกสารมีว่า".......ได้รับเงินวางมัดจำค่าที่ดิน .....เป็นเงิน 5,000 บาท ..... เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 (ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้) ขายในราคาไร่ 35,000 บาท....." โจทก์อ้างว่าเอกสารนี้เป็นสัญญาจะซื้อขาย กำหนดไปจดทะเบียนทำการซื้อขายตามกฎหมายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 จำเลยสู้ว่า เอกสารนี้เป็นเพียงใบรับเงินค่ามัดจำ คำว่า เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 หมายถึงการทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองอีกชั้นหนึ่ง โดยโจทก์จะต้องผ่อนชำระราคาที่ดินล่วงหน้า ได้มีการพูดจากันก่อนทำเอกสารนี้แล้วว่า ในการที่จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองในวันที่กำหนดนั้น จะต้องมีรายละเอียดตามที่พูดกันไว้ ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นการโต้เถียงความหมายของถ้อยคำในเอกสารว่า คู่ความอีกฝ่ายคือโจทก์ตีความหมายผิด จำเลยย่อมนำสืบแสดงถึงพฤติการณ์และข้อตกลงเพื่อเป็นเหตุผลแสดงความหมายแห่งถ้อยคำในเอกสารได้ไม่เป็นการสืบข้อความเพิ่มเติมในเอกสาร
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า"ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือ จึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2 ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ การวางมัดจำ และผลของการผิดสัญญา
เอกสารมีว่า ".....ได้รับเงินวางมัดจำค่าที่ดิน.....เป็นเงิน 5,000 บาท.....เพื่อทำสัญญาซื้อขาย ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504(ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้) ขายในราคาไร่ 35,000 บาท....." โจทก์อ้างว่าเอกสารนี้เป็นสัญญาจะซื้อขาย กำหนดไปจดทะเบียนทำการซื้อขายตามกฎหมายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 จำเลยสู้ว่า เอกสารนี้เป็นเพียงใบรับเงินค่ามัดจำคำว่า เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 หมายถึงการทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองอีกชั้นหนึ่ง โดย โจทก์จะต้องผ่อนชำระราคาที่ดินล่วงหน้า ได้มีการพูดจากันก่อนทำเอกสารนี้แล้วว่า ในการที่จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองในวันที่กำหนดนั้น จะต้องมีรายละเอียดตามที่พูดกันไว้ ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นการโต้เถียงความหมายของถ้อยคำในเอกสารว่า คู่ความอีกฝ่ายคือโจทก์ตีความหมายผิด จำเลยย่อมนำสืบแสดงถึงพฤติการณ์และข้อตกลงเพื่อเป็นเหตุผลแสดงความหมายแห่งถ้อยคำในเอกสารได้ ไม่เป็นการสืบข้อความเพิ่มเติมในเอกสาร
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า "ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้ จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาดสิทธิการเช่า: การผิดสัญญาของผู้ซื้อและสิทธิในการริบเงินชำระส่วนหนึ่ง
เมื่อการประมูลโอนขายสิทธิการเช่าที่โจทก์ประมูลได้เป็นไปโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ทราบถึงเงื่อนไขการเช่า โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เมื่อจำเลยพร้อมที่จะทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาให้โจทก์ได้ แต่โจทก์หาได้ไปติดต่อทำสัญญาและวางเงินค่าประมูลที่ยังค้างอีกตามที่ตกลงไว้ไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้ เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทน เพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75% ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25% ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25% ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25% ส่วนอีก 75% จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้ หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25%" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายสิทธิการเช่า: การผิดสัญญาของผู้ประมูล และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
เมื่อการประมูลโอนขายสิทธิการเช่าที่โจทก์ประมูลได้เป็นไปโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ทราบถึงเงื่อนไขการเช่าโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เมื่อจำเลยพร้อมที่จะทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาให้โจทก์ได้ แต่โจทก์หาได้ไปติดต่อทำสัญญาและวางเงินค่าประมูลที่ยังค้างอีกตามที่ตกลงไว้ไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนเพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้แต่เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75 เปอร์เซนต์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25 เปอร์เซนต์ ส่วนอีก 75 เปอร์เซนต์จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ได้" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนอง การทวงหนี้หลังแปลงหนี้แล้วถือเป็นคำเสนอใหม่ และสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จะบังคับให้ส่งให้มิได้ เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะริบในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
of 13