พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สัญญาผูกพันแม้ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายจริง ความเสียหายจากการผิดสัญญา
แม้ใบสั่งจองบ้านและที่ดินฉบับพิพาทมีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันนับตั้งแต่วันสั่งจองเป็นต้นไป และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวกันก็ตาม แต่ใบสั่งจองฉบับดังกล่าวได้ระบุราคาขายบ้านและที่ดินดังกล่าวไว้และระบุว่าในวันสั่งจองโจทก์ได้วางเงินจำนวน 100,000 บาทกับระบุถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ไว้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายออกฝ่าย ละครึ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยและโจทก์ว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่กันต่อไป ใบสั่งจองบ้านและที่ดินจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และเงินที่โจทก์วางในวันสั่งจองจำนวน100,000 บาท เป็นเงินมัดจำอันเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาดังกล่าวได้ทำกันขึ้นแล้วทั้งเงินมัดจำนี้ยังเป็นประกันการที่จำเลยและโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินนั้นด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377และ 456 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจองบ้านและที่ดินจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้น ซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การ ผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้จัดสรรที่ดิน & สัญญาจะซื้อจะขาย: ความรับผิดของผู้ขาย & ผู้ซื้อ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 เป็นบิดา ร.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2 และขณะที่จำเลยที่ 2ดำเนินโครงการการจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงย่อยพร้อมบ้านจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวประกอบกับจำเลยที่ 2 ได้ปักป้ายโฆษณาไว้ปากทางเข้าหมู่บ้าน โครงการ มีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านโครงการดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นในการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินดังกล่าวมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้เพียงผู้เดียว โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้วเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่ การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดินแบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้มกรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใด ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดาต่อบุคคลภายนอกจากการจัดสรรที่ดินของบุตร และผลผูกพันของใบจองซื้อ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 เป็นบิดา ร.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2และขณะที่จำเลยที่ 2 ดำเนินโครงการการจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงย่อยพร้อมบ้านจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าว ประกอบกับจำเลยที่ 2ได้ปักป้ายโฆษณาไว้ปากทางเข้าหมู่บ้านโครงการ มีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านโครงการ ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นในการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้เพียงผู้เดียว
โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่
การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 377อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดิน แบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาค่าก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้ม กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใดทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่
การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 377อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดิน แบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาค่าก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้ม กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใดทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาจ้างเหมา, เงินประกันค่าเสียหาย, การหักกลบ, ค่าเสียหายจากการจ้างใหม่, ศาลลดค่าปรับเหมาะสม
เงินประกันความรับผิดตามสัญญาข้อ 3 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติการรับจ้างของจำเลยที่ 1ตามสัญญา จำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงิน 295,000 บาท มาวางเป็นประกันไว้แก่โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว เงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ดังนั้น เงินจำนวนนี้จำเลยที่ 1ผู้รับจ้างจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ได้ สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายจากผิดสัญญา ค่าเสียหายต้องพิสูจน์ได้
เงินประกันความรับผิดตามสัญญาข้อ 3 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติการรับจ้างของจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1ได้นำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงิน 295,000 บาท มาวางเป็นประกันไว้แก่โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว เงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ดังนั้น เงินจำนวนนี้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ได้
สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้
สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ฟืน: การส่งมอบไม่ได้เนื่องจากเหตุสุดวิสัย และสิทธิในการขอเงินมัดจำคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบไม้ฟืนที่ซื้อขายกันตามสัญญาขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ยจำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยได้ส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์แล้วทั้งหมดหรือบางส่วนเพียงแต่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาซื้อขายไม้ฟืนกับโจทก์จึงรับฟังได้ว่าจำเลยไม่เคยส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์เลยแต่เมื่อเป็นเพราะมีคำสั่งกระทรวงเกษตรฯให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลงการชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ซึ่งเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตอบแทนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่เพราะกลฉ้อฉล และสิทธิในการเรียกเงินมัดจำคืน
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสองทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอนโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำ
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสอง ทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้างและสัญญาค้ำประกัน: การตีความสัญญาและขอบเขตความรับผิด
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน 14,700,000 บาท โดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใด การก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 22 มีนาคม 2531 ในสัญญาตกลงว่า ถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 10,000 บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ 200 บาท โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใด ประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง
สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป
สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับและค่าควบคุมงานจากการก่อสร้างล่าช้า สัญญาค้ำประกันไม่ใช่หลักประกันหนี้
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน14,700,000บาทโดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใดการก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่22มีนาคม2531ในสัญญาดังกล่าวถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันละ10,000บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ200บาทโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใดประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ฉะนั้นแม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอมโจทก์จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป