พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดิน: สัญญาเลิกกันเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นไปตามกำหนด
โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการครอบครองที่ดินโดยจำเลยผู้จะขายจะไปดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินและจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อโดยกำหนดวันที่ไว้แน่นอน ปรากฏว่าที่ดินพิพาทยังไม่มีระวางแผนที่จึงไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ เมื่อกรณียังมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา และครบกำหนดเวลาในสัญญาแล้ว ถือได้ว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันโดยไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนส่งมอบสิทธิครอบครองแก่โจทก์ไม่ได้เมื่อสัญญาเป็นอันเลิกกัน คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่พิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยที่ 1 ต้องคืนมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่สัญญาเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์: การชำระหนี้ด้วยการส่งมอบเครนไม่ใช่การมัดจำ, เลิกสัญญากันโดยปริยาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อรถยนต์บรรทุกจากจำเลยโดยโจทก์ต้องจัดหาเครนและปั๊มฉีดน้ำมันไฮดรอลิกมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเครนและปั๊มฉีดน้ำมันดังกล่าวไม่เป็นมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนแล้วเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาได้ สัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งระบุให้โจทก์นำเครนมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำการอย่างหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้นำเครนมามอบให้แม้จำเลยมิได้ส่งมอบรถยนต์บรรทุกตามกำหนดถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและหลังจากนั้นโจทก์ก็มิได้นำเครนไปมอบแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ให้แล้วมีหนังสือเลิกสัญญาไปยังจำเลยในเวลาต่อมาถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีลักษณะต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
เงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะคนละอย่างไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับการริบตามสัญญาซื้อขาย ศาลไม่มีอำนาจลดจำนวนมัดจำเหมือนเบี้ยปรับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาซึ่งตามมาตรา378กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืนเว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา379เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญาและการริบเบี้ยปรับมาตรา383ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรจึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีความแตกต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งตามมาตรา 378 กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืน เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา 379 เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา และการริบเบี้ยปรับ มาตรา 383 ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควร จึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกัน มัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'มัดจำ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการคืนเงินค่าที่ดินล่วงหน้าเมื่อสัญญาเป็นโมฆะ
ถ้อยคำที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377บัญญัติว่า"เมื่อเข้าทำสัญญาถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ"แสดงว่ามัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่6มีนาคม2532ระบุข้อความว่า"ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน200,000บาทและในวันที่20มีนาคม2532อีกจำนวน3,300,000บาท"เงินสดจำนวน200,000บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำส่วนเงินจำนวน3,300,000บาทนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาบางส่วนล่วงหน้าซึ่งจะชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้ในวันทำสัญญาเท่านั้น
มัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทำขึ้นเมื่อวันที่3มีนาคม2532ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน200,000บาทและในวันที่20มีนาคม2532อีกจำนวน3,300,000บาทเงินสดจำนวน200,000บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำที่จะต้องริบเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาส่วนเงินจำนวน3,300,000บาทนั้นไม่ใช่มัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาค่าที่ดินบางส่วนล่วงหน้าซึ่งชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้นจึงริบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การชำระเงินหลังวันทำสัญญาไม่ถือเป็นมัดจำ และผลกระทบต่อการคืนเงินเมื่อเลิกสัญญา
มัดจำตาม ป.พ.พ.มาตรา 377 จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญานั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาระบุ ในวันทำสัญญาผู้จะซื้อได้ชำระเงิน 200,000 บาท และในวันที่ 20 มีนาคม 2532 ชำระอีก3,300,000 บาท เฉพาะเงิน 200,000 บาท ที่ผู้ซื้อให้ผู้จะขายยึดเป็นประกันเท่านั้นที่เป็นมัดจำ ส่วนเงิน 3,300,000 บาท ซึ่งชำระหลังวันทำสัญญาไม่ใช่มัดจำเป็นเพียงการชำระราคาค่าที่ดินบางส่วน
เงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนโจทก์เพราะเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่รับเงินไว้ ส่วนโจทก์ซึ่งได้รับโอนที่ดินบางส่วนจากจำเลยมาแล้วก็ต้องโอนคืนเฉพาะที่ยังมีชื่อทางทะเบียนเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินซึ่งโจทก์ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับโอนไปจากจำเลย โจทก์คงมีหน้าที่ต้องชดใช้ราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแทนเพื่อไม่ให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งรับโอนโดยสุจริตพร้อมดอกเบี้ยอัตรานับจากวันที่โจทก์ให้บุคคลภายนอกรับโอน
เงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนโจทก์เพราะเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่รับเงินไว้ ส่วนโจทก์ซึ่งได้รับโอนที่ดินบางส่วนจากจำเลยมาแล้วก็ต้องโอนคืนเฉพาะที่ยังมีชื่อทางทะเบียนเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินซึ่งโจทก์ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับโอนไปจากจำเลย โจทก์คงมีหน้าที่ต้องชดใช้ราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแทนเพื่อไม่ให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งรับโอนโดยสุจริตพร้อมดอกเบี้ยอัตรานับจากวันที่โจทก์ให้บุคคลภายนอกรับโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อตกลงกันไม่ได้ การรับเงินมัดจำมีเงื่อนไข สัญญาไม่ผูกพัน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2ถึงที่5เมื่อวันที่15กรกฎาคม2532โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่1เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง3แปลงพบจำเลยที่1กับจำเลยที่4เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน10,000บาทให้จำเลยที่1ไว้และจำเลยที่1ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินโดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่2กลับมาได้ปรึกษาและสอบถามแล้วเห็นว่ายังไม่ควรขายตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืนดังนี้แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน10,000บาทที่จำเลยที่1รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่1และที่4จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อนเมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่1ได้แจ้งปฎิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้นจำเลยที่1และที่4จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่ผูกพัน จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการขายได้
จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2532 โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่ 1 เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลง พบจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน 10,000 บาทให้จำเลยที่ 1 ไว้ และจำเลยที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่ วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา ได้ปรึกษาและสอบถามแล้ว เห็นว่ายังไม่ควรขาย ตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์ โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืน ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน 10,000บาท ที่จำเลยที่ 1 รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 4 จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อน เมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่ 1 ได้แจ้งปฏิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์