พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การละทิ้งการปฏิบัติตามสัญญาและการเลิกสัญญโดยปริยาย
โจทก์ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 2สัญญาระบุว่า คู่สัญญาจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายต่อกัน แต่มิได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อใด คู่สัญญาจึงต้องมาตกลงกันอีกครั้งในเวลาอันสมควรว่าจะทำการซื้อขายกันเมื่อใดให้แน่ชัดลงไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงกำหนดเวลาทำการซื้อขายกัน กลับทิ้งช่วงเวลานานถึง5 ปีเศษ แสดงให้เห็นว่า ต่างไม่นำพาที่จะปฏิบัติตามสัญญาในเวลาอันสมควรฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ และเป็นที่เห็นได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญามัดจำเลิกโดยปริยายจากเจตนาไม่นำพาของคู่สัญญา การคืนเงินมัดจำ
โจทก์ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 2สัญญาระบุว่า คู่สัญญาจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายต่อกัน แต่มิได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อใด คู่สัญญาจึงต้องมาตกลงกันอีกครั้งในเวลาอันสมควรว่าจะทำการซื้อขายกันเมื่อใดให้แน่ชัดลงไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงกำหนดเวลาทำการซื้อขายกัน กลับทิ้งช่วงเวลานานถึง 5 ปีเศษ แสดงให้เห็นว่าต่างไม่นำพาที่จะปฏิบัติตามสัญญาในเวลาอันสมควรฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ และเป็นที่เห็นได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้เนื่องจากสัญญาเลิกกันโดยปริยาย สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
จำเลยที่ 1 ออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์เป็นมัดจำในการว่าจ้างช่วงให้โจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เช็คตามฟ้องจึงมีมูลหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ไปแล้วหรือไม่เพียงใด อ. ก็ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เสียเอง ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้ทักท้วงอย่างใด ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ และฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงต้องคืนมัดจำแก่จำเลยที่ 1หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ที่ใช้ในการกระทำความผิดจึงต้องใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 บังคับแก่กรณีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3โดยถือว่าคดีเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, การผิดสัญญา, การเลิกสัญญา, การคืนสภาพเดิม
การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยกำหนดวันที่จำเลยผู้จะขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อไว้ แต่เมื่อถึงกำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทวงถามให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยก็รับเงินค่าที่ดินจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีก โจทก์จำเลยปล่อยล่วงเวลามานานเช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเอาเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระราคาที่ดินที่ค้าง โดยกำหนดเวลาตามสมควรแล้วโจทก์ไม่ไปตามนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และสัญญาเป็นอันเลิกกันตามที่จำเลยบอกกล่าว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินให้แก่จำเลย และจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำแต่ต้องคืนค่าที่ดินที่ได้รับล่วงหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการขายที่ดิน: เงินมัดจำและดอกเบี้ยถือเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์
เงื่อนไขการชำระเงินค่าที่ดินจำนวน 20,077,000 บาท ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ก. ผู้จะซื้อ ระบุว่า ก.ได้ชำระมัดจำให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาคือวันที่ 12 ตุลาคม 2526จำนวน 1,000,000 บาท หลังจากนั้นจะชำระเงิน 5,000,000 บาทวันที่ 20 มีนาคม 2527 และชำระเงิน 4,000,000 บาท วันที่ 20มิถุนายน 2527 เงินส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2527 เช่นนี้ แม้ว่าเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจาก ก. ในปี 2526 ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินจะระบุว่าเป็นเงินมัดจำก็ตาม แต่ตามเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินดังกล่าวข้างต้นย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าคู่สัญญาได้ตกลงกันให้ถือเอาเงินมัดจำ จำนวน 1,000,000 บาท นั้น เป็นการชำระราคาบางส่วนเช่นเดียวกับการชำระราคาที่ดินในงวดอื่น ๆ ด้วยหาใช่เป็นเพียงเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเท่านั้นไม่ ส่วนเงินได้จำนวน 5,477,500 บาท ที่โจทก์ได้รับในปี 2527 นั้น ส่วนหนึ่งจำนวน 5,000,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการชำระราคาที่ดินบางส่วน และอีกส่วนหนึ่งจำนวน 477,500 บาท นั้น เป็นเงินดอกเบี้ยที่ ก.จ่ายให้แก่โจทก์ เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้ ก. ผัดการชำระเงินออกไป เงินดอกเบี้ยจำนวน 477,500 บาท นั้น จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ดังนั้นเงินได้พิพาททั้งหมดจึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 แม้ว่า ก. ได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชอบให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน หากโอนไม่ได้ให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไว้พร้อมเบี้ยปรับก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เงินได้พิพาทเป็นเงินที่โจทก์ได้รับจาก ก. เพื่อชำระราคาที่ดินบางส่วน และเป็นเงินค่าดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน เงินได้พิพาทนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ในแต่ละปีภาษีที่ได้รับเงินนั้นแล้ว หาใช่ว่าเงินได้พิพาทดังกล่าว ยังไม่แน่นอนว่าจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินไม่ ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้จนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่นำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว นั้น เป็นเพียงมาตราการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ได้ครบถ้วน รัดกุมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเท่านั้น หาใช่ว่า กฎหมายยกเว้นให้ผู้มีเงินได้ไปเสียภาษีในวันโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเงินได้จากการขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินในปีภาษีใด โจทก์ก็ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น แม้ว่าในปีภาษีนั้นจะยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันก็ตาม เงินได้พิพาทส่วนหนึ่งจำนวน 600,000 บาท เป็นการชำระราคาที่ดินบางส่วน และอีกส่วนหนึ่ง จำนวน 477,500 บาท เป็นค่าดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน เงินได้พิพาททั้งหมดดังกล่าว จึงมิใช่เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนตามมาตรา 40(5)(ค) และไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ดังระบุไว้ในมาตรา 40(1)ถึง (7) แห่งประมวลรัษฎากร จึงจัดเป็นเงินได้จากการอื่น ๆ ตามมาตรา 40(8) ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(13) บัญญัติยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้น หมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดเท่านั้น เมื่อเงินได้พิพาทเป็นเงินได้ที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงมีมูลหนี้มาจากสัญญา หาใช่มูลหนี้ละเมิดไม่ ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา นี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่ใช่ “มัดจำ” โจทก์ไม่มีสิทธิริบเงินหรือเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เท่านั้นไม่ใช่สิ่งที่คู่สัญญามอบให้ไว้แก่กันเมื่อทำสัญญา จึงมิใช่มัดจำตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 377 โจทก์จะริบเงินจำนวนนี้ในฐานเป็นมัดจำไม่ได้ และจะเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ตกลงยอมชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มีสิทธิริบเงินที่วางไว้เป็นประกันเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินประกันซองประกวดราคาที่ไม่ใช่ 'มัดจำ' และผลต่อสัญญาค้ำประกัน
การที่ไม่มีสิ่งใดให้ไว้เป็นมัดจำ เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาก็ย่อมจะไม่มีมัดจำให้ริบ หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงมิใช่มัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 โจทก์จะริบเงินจำนวนนี้ในฐานะเป็นมัดจำไม่ได้ และจะเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ตกลงยอมชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 ต่อเมื่อโจทก์มีสิทธิริบเงินที่วางไว้เป็นประกัน แต่คดีนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามสัญญาค้ำประกันเพราะมิใช่มัดจำเสียแล้ว ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินวางซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วน และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ขอรับเงินที่วางไว้ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดครั้งก่อนคืน ซึ่งตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อ ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที แต่ถ้าเป็นที่ดินหรือทรัพย์ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายการเก็บรักษาภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน ก็ได้ และตามรายงานเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ ดังนี้ เงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อไม่ใช่เงินมัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ และในการขายทอดตลาดครั้งหลังโจทก์ก็เป็นผู้ซื้อทรัพย์ในราคาเดิม โจทก์ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นและชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆจึงต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ดังกล่าวทั้งหมด เหตุที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินวางซื้อทรัพย์จากการผิดสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
ตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อแล้วผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันทีแต่ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นที่ดินหรือทรัพย์อย่างอื่นซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นถ้าหากมีภายในเวลาไม่เกิน 15 วันก็ได้ และตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ แสดงว่าเงินจำนวน 50,000 บาทที่โจทก์วางไว้ในวันขายสำหรับการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ ในการขายทอดตลาดครั้งหลัง โจทก์เป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น และเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ในราคา 195,000 บาท เท่าเดิมทั้งโจทก์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีจึงไม่มีความเสียหายใด ๆต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนทั้งหมดให้โจทก์ การที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายที่ดิน สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อถึงกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.