คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 377

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายที่ดิน สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อถึงกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวน การผิดสัญญา และเบี้ยปรับ
ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในสัญญาถือ ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกเอาได้ แต่ ศาลมี อำนาจที่จะพิจารณาว่าเป็นจำนวนพอสมควรหรือไม่เพียงใด และการเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับกับการไม่คืนเงินมัดจำเป็นคนละกรณีกัน การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพิ่มขึ้นเพราะจำเลยไม่คืนเงินมัดจำให้โจทก์ย่อมไม่เป็นการสมควร เพราะโจทก์ต้อง ได้ รับเงินมัดจำคืนตาม ฟ้องซึ่ง ศาลวินิจฉัยให้คืนอยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉล, สัญญาจะซื้อจะขาย, หน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล, การผิดสัญญา, ดอกเบี้ยเงินมัดจำ
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง
กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้ จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124
แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด
ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน:หน้าที่เปิดเผยความจริงของผู้ขายและผลของการนิ่งเสีย
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญา, เบี้ยปรับสูงเกินส่วน, ความล่าช้าของผู้รับจ้าง-ผู้ว่าจ้าง, การชำระค่าเสียหายจากค้ำประกัน
แม้ตามสัญญาโจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จโดยการกระทำของผู้รับจ้างคนใหม่ แต่ค่าปรับที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า ทั้งการที่งานก่อสร้างเสร็จล่าช้าเป็นเพราะการดำเนินการของโจทก์ด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับโจทก์จ้างผู้รับจ้างคนใหม่ทำงานงวดที่เหลือต่อในวงเงินเท่ากับที่จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 หากจำเลยก่อสร้างเสร็จตามสัญญา เบี้ยปรับที่จะพึงริบตามสัญญาจึงสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ตามสัญญาจ้างไม่มีการวางเงินมัดจำ แต่มีการทำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงินร้อยละ 5 ของค่าจ้าง ซึ่งตามสัญญาผู้ว่าจ้างจะคืนเงินประกันหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่ผู้รับจ้างเงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำ แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การชำระเงินค่างวดและการเริ่มก่อสร้าง ไม่ถือเป็นผิดสัญญาหากเริ่มก่อสร้างก่อนครบกำหนดชำระเงิน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด เมื่อวันที่28 พฤษภาคม 2525 ระบุว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2526 และโจทก์ผู้จะซื้อตกลงชำระเงินมัดจำให้ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 210,000 บาท และจะชำระในช่วงระยะเวลาก่อสร้างอีก 2,160,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวดจำนวน 24 งวด ภายในวันที่ 28 ของทุกเดือน จนกระทั่งถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2527 ปรากฏว่าโจทก์ชำระเงินมัดจำแล้วแต่ไม่ได้ชำระเงินค่างวด เช่นนี้ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องดำเนินการก่อสร้างตามงวดการชำระเงิน จึงเป็นเพียงการกะประมาณเอาหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโดยแท้จริง คือสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายในเดือน ธันวาคม 2526 ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างบริษัท ผ. ตอกเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2525 และก่อนหน้านั้นต้องเจาะสำรวจดินเพื่อหาข้อมูลในการปักเสาเข็มก่อน ผู้รับจ้างเจาะสำรวจดินทำงานล่าช้าไปประมาณเดือนครึ่งซึ่งเป็นปกติวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อคำนวณดูแล้วอย่างน้อยจำเลยก็ได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2525 ดังนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, และการคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า
คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขจากคำว่า 'เงินมัดจำ' เป็น'เงินที่จ่ายล่วงหน้า' เป็นถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายขึ้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้โจทก์แก้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะดำเนินการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณา เว้นแต่คู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านไว้ คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่ วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์ได้ขยายเวลาให้แก่จำเลยนั้นไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งชี้สองสถานของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อกำหนดประเด็นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำในการจ้างทำของคืนแล้วขอแก้ฟ้องอ้างว่าเป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งศาลไม่อนุญาตแม้ขอใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้า ก็พิพากษาให้คืนได้ไม่เป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, และการคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า
คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขจากคำว่า 'เงินมัดจำ' เป็น'เงินที่จ่ายล่วงหน้า' เป็นถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายขึ้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้โจทก์แก้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะดำเนินการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณาเว้นแต่คู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านไว้ คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์ได้ขยายเวลาให้แก่จำเลยนั้นไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งชี้สองสถานของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อกำหนดประเด็นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำในการจ้างทำของคืนแล้วขอแก้ฟ้องอ้างว่าเป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งศาลไม่อนุญาตแม้ขอใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้า ก็พิพากษาให้คืนได้ไม่เป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมแทนการวางมัดจำ: มูลหนี้และสิทธิเรียกร้องเมื่อผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญากู้ยืมไว้แก่โจทก์แทนการวางมัดจำเป็นเงินสดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สัญญากู้ยืมดังกล่าวจึงมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยมีหนี้ที่จะต้องวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้ยืมได้เพราะมีมูลหนี้ต่อกัน และกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการส่งมอบเงินให้ผู้กู้แล้ว
เมื่อสัญญากู้ยืมครบกำหนด จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินได้โดยถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเป็นต้นไป และเรียกค่าเสียหายร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่ากับดอกเบี้ยโดยคิดตั้งแต่วันผิดนัดได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมแทนการวางมัดจำ: มูลหนี้, การผิดนัด, ค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญากู้ยืมไว้แก่โจทก์แทนการวางมัดจำเป็นเงินสดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสัญญากู้ยืมดังกล่าวจึงมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยมีหนี้ที่จะต้องวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้ยืมได้เพราะมีมูลหนี้ต่อกันและกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการส่งมอบเงินให้ผู้กู้แล้ว เมื่อสัญญากู้ยืมครบกำหนด จำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินได้โดยถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเป็นต้นไปและเรียกค่าเสียหายร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่ากับดอกเบี้ยโดยคิดตั้งแต่วันผิดนัดได้ด้วย
of 13