คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 377

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, ข้อผิดพลาดเรื่องเนื้อที่ดิน, การผิดสัญญา, การคืนเงินมัดจำ, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาท ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-บ้าน, การแก้ไขโฉนด, คืนเงินมัดจำ, และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาทไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย การปฏิบัติตามสัญญา และผลของการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้จะมีการวางมัดจำด้วยก็ถือได้ว่าการวางมัดจำเป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น หาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าจำเลยจะต้องรื้อบ้านหรือไถ่ถอนจำนองก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นข้อความที่เพิ่มเติมจากสัญญาต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1545/2492)
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ โดยจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในการโอนที่ดินให้โจทก์ในวันที่กำหนดตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องมารับโอนและชำระราคาในวันนัด การที่โจทก์ไม่มารับโอนและไม่ชำระราคาโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายจึงถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำได้ แม้โจทก์จะกำหนดเวลาโอนขึ้นใหม่ในภายหลังก็ไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ: ศาลพิพากษาให้สิทธิครอบครองได้ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์เหนือที่พิพาท เพราะไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้จำเลยจะฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ระบุแสดงสภาพที่ดินว่าติดที่ดินผู้ใด แต่ละด้านกว้างยาวเท่าใดและแจ้งการครอบครองเมื่อใด ไม่ได้ เพราะเหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนี้เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ศาลก็พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาจะซื้อขาย การผิดสัญญา และสิทธิของคู่กรณีเมื่อมีการเลิกสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยโดยกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินไว้ว่า โจทก์จะต้องชำระราคาซื้อขายทั้งหมดให้แก่จำเลยในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก่อนถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ทนายจำเลยมีหนังสือถึงทนายโจทก์ยืนยันเงื่อนไขดังกล่าว มิฉะนั้นจำเลยขอบอกเลิกสัญญา อันเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ชำระหนี้ไว้แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยยืนยันจะชำระราคาซื้อขายเป็นสองงวด ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและริบมัดจำเสียได้
เมื่อจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วโดยชอบ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินรายพิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ และย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
จำเลยจะเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาก่อนวันที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ได้และเมื่อจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระค่าที่ดินเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาอีก ดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและการยกข้อต่อสู้เรื่องการเช่า การพิสูจน์สิทธิการเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ใบรับมัดจำค่าเช่าในกรณีที่ตกลงกันว่าจะทำสัญญาเช่าเป็นหนังสืออีก เมื่อไม่ได้ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือ ผู้เช่ายกเรื่องการเช่าขึ้นต่อสู้ไม่ได้
ข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อที่ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นไม่ได้เพราะพฤติการณ์นอกเหนือนั้น แม้ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ได้ แต่ศาลอุทธรณ์จะไม่ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ จำเลยริบไม่ได้ ถือเป็นลาภมิควรได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. รับเหมาก่อสร้างอาคารของจำเลยในราคา2,471,000 บาท โดยต้องวางมัดจำร้อยละ 5 ของราคาก่อสร้างคิดเป็นเงิน 123,500 บาท หรือมิฉะนั้นจะต้องให้ธนาคารค้ำประกันในวงเงินดังกล่าว โจทก์ได้ออกหนังสือค้ำประกันชดใช้ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญาของ ว.ให้แก่จำเลยความว่า หากว. ผิดสัญญาโจทก์ขอรับผิดชดใช้เงินแทนในวงเงินไม่เกิน 123,500 บาท โดยมิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกัน จึงมิใช่มัดจำตามกฎหมาย ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างจำเลยและ ว. ก็มิได้มีข้อความให้จำเลยริบเงินตามหนังสือค้ำประกันได้ เพียงแต่ให้ปรับได้เป็นรายวัน เมื่อ ว. ผิดสัญญาจำเลยจึงได้บอกเลิกสัญญาและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้สั่งริบมัดจำตามหนังสือค้ำประกันให้ส่งเงินให้จำเลย โจทก์จึงส่งเงินให้จำเลย เช่นนี้ เป็นเรื่องโจทก์ชำระเงินให้จำเลยไปโดยที่ ว. ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ชำระแก่จำเลยและเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินมัดจำจากสัญญาจะซื้อขายหลังล้มละลาย: การสวมสิทธิเจ้าของเดิม & ผลกระทบจากคำสั่งไม่ยอมรับสิทธิ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่าผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั่นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดง เจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามข้อสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูยเสีบไปแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินมัดจำจากการซื้อขายที่ดิน แม้มีการล้มละลายของคู่สัญญา ผู้ขายยังคงมีสิทธิริบได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่า ผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั้นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดงเจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในการกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูญสิ้นไปแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ: การต่ออายุสัญญา, การรับงานที่ไม่ตรงตามสัญญา, และเงินมัดจำ
โจทก์ผู้รับจ้างทำของทำงานไม่เสร็จตามกำหนดในสัญญาจึงขอต่ออายุ จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ตอบ จะถือว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้ไม่ได้
ผู้รับเหมาทำงานเสร็จ แต่ผู้ตรวจงานของผู้ว่าจ้างรายงาน ว่าไม่ตรงตามสัญญา ผู้ว่าจ้างเรียกเบี้ยปรับ จะถือว่าผู้ว่าจ้างรับงาน โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จึงเรียกเบี้ยปรับได้
ผู้รับจ้างมอบหนังสือรับรองของธนาคารแทนเงินมัดจำตามสัญญาไม่เป็นเงินมัดจำ แต่เมื่อผิดสัญญาผู้ว่าจ้างก็เรียกเอาเงินจำนวนนี้ได้
of 13