พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ การชำระเงินโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนไม่ได้ และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับผู้ว่าจ้างแทนการที่จำเลยที่ 1 จะต้องวางเงินมัดจำในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างเหมาทำการก่อสร้างอาคารให้ผู้ว่าจ้าง หนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาที่โจทก์ผูกพันต่อผู้ว่าจ้างเพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและไม่ชำระหนี้เท่านั้น โจทก์มิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกันให้ไว้ต่อผู้ว่าจ้างขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างหนังสือค้ำประกันจึงมิใช่มัดจำ และเมื่อตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่มีข้อความให้ผู้ว่าจ้างริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ว่าจ้างจึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1722/2513)
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสัญญาเช่าและการคืนเงินมัดจำ เมื่อมีการโอนสิทธิสัญญาเช่าและผู้รับโอนไม่สามารถเข้าครอบครองได้
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าท่าจอดเรือ โดยโจทก์วางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นประกันตามสัญญา ต่อมาโจทก์ขอโอนสิทธิการเช่านี้ให้ บ. จำเลยอนุมัติและ บ.ได้เข้าทำสัญญาและวางเงินมัดจำเท่ากับที่โจทก์วางไว้ แต่ บ.เข้าครอบครองและดำเนินการตามสัญญาไม่ได้เนื่องจาก ส. ได้ทำสัญญารับช่วงดำเนินการจากโจทก์ไว้ก่อนตามสัญญาระหว่างโจทก์กับ ส. เมื่อโอนสิทธิการเช่าไปแล้วเช่นนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับไปไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยเงินมัดจำที่จำเลยยึดไว้ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่านี้เป็นเหตุยึดหน่วงเงินมัดจำของโจทก์ไว้ การที่ ส. ยังครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ไม่ยอมส่งมอบให้ บ.นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันเองหาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสัญญาเช่าและการคืนเงินมัดจำเมื่อมีการโอนสิทธิและผู้รับโอนไม่สามารถเข้าครอบครองได้
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าท่าจอดเรือ โดยโจทก์วางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นประกันตามสัญญา ต่อมาโจทก์ขอโอนสิทธิการเช่านี้ให้ บ. จำเลยอนุมัติและ บ.ได้เข้าทำสัญญาและวางเงินมัดจำเท่ากับที่โจทก์วางไว้ แต่ บ.เข้าครอบครองและดำเนินการตามสัญญาไม่ได้เนื่องจาก ส.ได้ทำสัญญารับช่วงดำเนินการจากโจทก์ไว้ก่อนตามสัญญาระหว่างโจทก์กับ ส.. เมื่อโอนสิทธิการเช่าไปแล้วเช่นนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับไปไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยเงินมัดจำที่จำเลยยึดไว้ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่านี้เป็นเหตุยึดหน่วงเงินมัดจำของโจทก์ไว้ การที่ ส.ยังครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ไม่ยอมส่งมอบให้ บ.นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันเอง หาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงของสัญญา, การแก้ไขแบบแปลน, สัญญาค้ำประกันที่ไม่ใช่เงินมัดจำ, และการโต้แย้งคำสั่งศาล
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยระบุอ้างพยานบุคคลภายหลังเวลาที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่ใช้เป็นมัดจำประมูล กรณีเช็คไม่มีเงิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกาศขายไม้ซุงโดยวิธีประมูลปิดซอง มีเงื่อนไขในการประมูลว่าผู้ยื่นประมูลจะต้องวางเงินมัดจำซองแพละ 10,000 บาท หากผู้ใดประมูลได้ผู้นั้นจะต้องชำระค่าไม้ซุง 15% ของแต่ละแพที่ประมูลได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศแจ้งผู้ประมูลได้หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะริบเงินมัดจำซองที่วางไว้ แต่มาคณะกรรมการของโจทก์ปิดซองประกาศแจ้งให้จำเลยทราบว่า จำเลยเป็นผู้ประมูลไม้ได้จำนวน 5 แพ แล้วโจทก์นำเช็คของจำเลยจำนวนเงิน 50,000 บาท ซึ่งจำเลยวางเงินมัดจำประจำซองไว้ไปขึ้นเงินที่ธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินจำเลยไม่มีในบัญชี และครั้นเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน 15% ของไม้ทีประมูลได้จำเลยไม่นำเงินมาชำระ ซึ่งจำเลยจะต้องถูกริบเงินมัดจำซอง 50,000 บาท แต่โจทก์ก็ไม่อาจริบได้เพราะเช็คนั้นไม่มีเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 50,000 บาท ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องโดยอ้างสิทธิที่จะริบมัดจำซึ่งได้แก่เช็ครายนี้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็ค เพราะถ้าไม่มีการนำเอาเช็คคราวนี้ไปวางมัดจำประจำซองแล้ว ก็ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการให้มัดจำไว้ตามมาตรา 377 ตามมาตรา 378(2) ฉะนั้น เมื่อเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องลงวันที่เกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่ใช้เป็นมัดจำประมูล การขาดอายุความตามมาตรา 1002
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกาศขายไม้ซุงโดยวิธีประมูลปิดซองมีเงื่อนไขในการประมูลว่าผู้ยื่นประมูลจะต้องวางเงินมัดจำซองแพละ 10,000 บาท หากผู้ใดประมูลได้ผู้นั้นจะต้องชำระค่าไม้ซุง 15% ของแต่ละแพที่ประมูลได้ภายใน 15 วัน นับแต่ วันประกาศแจ้งผู้ประมูลได้หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะริบเงินมัดจำซอง ที่วางไว้ ต่อมาคณะกรรมการของโจทก์ปิดประกาศแจ้งให้จำเลยทราบว่า จำเลยเป็นผู้ประมูลไม้ได้จำนวน 5 แพ แล้วโจทก์นำเช็ค ของจำเลยจำนวนเงิน 50,000 บาท ซึ่งจำเลยวางเงินมัดจำประจำซองไว้ ไปขึ้นเงินที่ธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินจำเลยไม่มีในบัญชี และครั้นเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน 15% ของไม้ที่ประมูลได้ จำเลยไม่นำเงินมาชำระ ซึ่งจำเลยจะต้องถูกริบเงินมัดจำซอง 50,000 บาท แต่โจทก์ก็ไม่อาจริบได้เพราะเช็คนั้นไม่มีเงิน จึงขอให้ บังคับจำเลยชำระเงิน 50,000 บาท ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้อง โดยอ้างสิทธิที่จะริบมัดจำซึ่งได้แก่เช็ครายนี้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็ค เพราะถ้าไม่มีการนำเอา เช็ครายนี้ไปวางมัดจำประจำซองแล้ว ก็ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการ ให้มัดจำไว้ตามมาตรา 377 ตามมาตรา 378(2) ฉะนั้น เมื่อเช็ค ที่โจทก์นำมาฟ้องลงวันที่เกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ: การตีความสัญญาซื้อขายจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายมีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาซื้อขาย: เงินชำระล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และข้อสัญญา
สัญญาซื้อขาย มีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ - สิทธิในการริบ - อำนาจฟ้องของกองทัพบก
โจทก์จ้างจำเลยให้ทำการก่อสร้างให้โจทก์ โดยมีข้อสัญญาว่าหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น เนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย ในการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้แทนการวางมัดจำเป็นเงินจำนวนหนึ่ง หนังสือค้ำประกันนี้เป็นเพียงสัญญาซึ่งธนาคารผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้เท่านั้น ธนาคารมิได้วางเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ขณะเมื่อจำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ หนังสือค้ำประกันจึงมิใช่เป็นมัดจำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377แม้ธนาคารจะได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันให้โจทก์ในเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลย ก็ไม่ทำให้เงินที่ชำระนั้นกลายเป็นมัดจำไป เมื่อหนังสือค้ำประกันไม่ใช่มัดจำ และตามสัญญาก็มิได้ระบุให้ริบเงินที่ชำระตามหนังสือค้ำประกัน โจทก์จึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ และอำนาจฟ้องของกองทัพบกเมื่อมีผู้รับมอบอำนาจ
โจทก์จ้างจำเลยให้ทำการก่อสร้างให้โจทก์ โดยมีข้อสัญญาว่าหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น เนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย ในการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้แทนการวางมัดจำเป็นเงินจำนวนหนึ่ง หนังสือค้ำประกันนี้เป็นเพียงสัญญาซึ่งธนาคารผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้เท่านั้น ธนาคารมิได้วางเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ขณะเมื่อจำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ หนังสือค้ำประกันจึงมิใช่เป็นมัดจำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377แม้ธนาคารจะได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันให้โจทก์ในเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลย ก็ไม่ทำให้เงินที่ชำระนั้นกลายเป็นมัดจำไป เมื่อหนังสือค้ำประกันไม่ใช่มัดจำ และตามสัญญาก็มิได้ระบุให้ริบเงินที่ชำระตามหนังสือค้ำประกัน โจทก์จึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่