คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 492

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำ/ขายฝากที่ดินก่อนประมวลกฎหมายแพ่ง: ดูตามกิริยา ไม่ใช่ข้อสัญญา
สัญญาจำนำที่นาทำกันเมื่อ พ.ศ.2467 เป็นเวลาก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 กรณีต้องบังคับตามพ.ร.บ.การขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ.115 และประกาศเรื่องจำนำและขายฝาก ร.ศ.118
คดีเรื่องจำนำ(จำนอง)หรือขายฝากที่ดิน(ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3)นั้น ให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน (อ้างฎีกาที่ 22 ร.ศ.117, ที่ 25 ร.ศ.123,467/2487,81/2469,790/2469)
โจทก์ได้มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยมาตั้งแต่พ.ศ.2470 อันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจำนำที่ทำกันขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467จึงเป็นกิริยาการขายฝากเมื่อไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่นาก็หลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยตามลักษณะขายฝากโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอไถ่ได้ (อ้างฎีกาที่ 760/2469)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนที่ดินขายฝาก: การขอไถ่ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ ต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้บังคับได้
คำว่า 'ถ้าไถ่ภายในเวลา'ตามมาตรา 492 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมหมายความว่า ได้มีการไถ่ถอนถูกต้องบริบูรณ์ตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เท่านั้นการขอไถ่ยังหาเป็นการไถ่ไม่
สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นก็คือสิทธิอันหนึ่งที่ผู้ขายฝากมีอยู่ในอันที่จะเรียกร้องบังคับให้ผู้ซื้อฝากทำนิติกรรมให้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาสู่ตน ฉะนั้นการใช้สิทธิไถ่ถอน จึงต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องต่อศาล ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ซื้อฝากกระทำการเช่นว่านั้น หรือให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อฝากในนิติกรรมเช่นนั้น
การไปพูดขอไถ่ หรือนัดให้ผู้ขายฝากไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำการไถ่ถอน ยังหาเป็นการใช้สิทธิไถ่ถอนไม่ เมื่อผู้จัดการซื้อฝากไม่ไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด ก็เป็นการแสดงอาการปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่ถอนอยู่ในตัวแล้ว ผู้ขายฝากย่อมต้องจัดการฟ้องร้องขอให้บังคับตามสิทธิไถ่ถอนของตนเสีย ในกำหนดอายุความไถ่ถอนตามสัญญา (อ้างฎีกาที่ 544/2490, 185/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สิน ต้องเป็นการฟ้องร้องต่อศาล ไม่ใช่แค่การพูดคุยหรือนัดหมาย
คำว่า "ถ้าไถ่ภายในเวลา" ตามมาตรา 492 ป.ม.แพ่ง ฯ ย่อมหมายความว่า ได้มีการไถ่ถอนถูกต้องบริบูรณ์ตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วเท่านั้น การขอไถ่ยังหาเป็นการไถ่ไม่.
สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นก็คือสิทธิอันหนึ่งที่ผู้ขายฝากมีอยู่ในอันที่จะเรียกร้องบังคับให้ผู้ซื้อฝากทำนิติกรรมให้กรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินนั้น กลับคืนมาสู่ตน ฉะนั้นการใช้สิทธิไถ่ถอน จึงต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องต่อศาล ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ซื้อฝากกระทำการเช่นว่านั้น หรือให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อฝากในนิติกรรมเช่นนั้น
การไปพูดขอไถ่ หรือนัดให้ผู้ขายฝากไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำการไถ่ถอน ยังหาเป็นการใช้สิทธิไถ่ถอนไม่ เมื่อผู้จัดการซื้อฝากไม่ไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด ก็เป็นการแสดงอาการปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่ถอนอยู่ในตัวแล้ว ผู้ขายฝากย่อมต้องจัดการฟ้องร้องขอให้บังคับตามสิทธิไถ่ถอนของตนเสีย ในกำหนดอายุความไถ่ถอนตามสัญญา.
(อ้างฎีกา 545/2490, 185/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนที่ดินขายฝากเกิน 2,000 บาท: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้
คดีที่โจทก์ฟ้องขอไถ่ที่นาซึ่งขายฝากแก่จำเลยไว้เป็นราคา 2,200 บาทจำเลยแก้ว่าตามสัญญาขายฝากเมื่อพ้นกำหนด 7 ปีให้ที่เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโจทก์ได้ขอไถ่ถอนเมื่อพ้นกำหนดแล้ว จึงไม่มีอำนาจถอน ดังนี้ เป็นคดีพิพาทเรื่องการไถ่ถอนซึ่งกำหนดเป็นราคาเงินได้เกินกว่า 2,000 บาท ไม่เป็นคดีต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 31/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิซื้อฝากหลุด: เจ้าของเดิมมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินแม้จะตกลงขายให้ผู้อื่น
โจทก์ที่ 1 ได้รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลย จนหลุดเป็นกรรมสิทธิแบ้ว เมื่อยังไม่ปรากฏทางทะเบียนว่าได้เปลี่ยนโอนกรรมสิทธิไปยังผู้อื่นกรรมสิทธิก็ยังคงตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าได้ตกลงขายให้โจทก์ที่ 2 แล้ว ก็ตาม โจทก์ที่ 1 ก็ยังมีกรรมสิทธิเป็นเจ้าของและมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยซึ่งเป็นที่ดินขายฝากโจทก์ไว้เกิน 10 ปีแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าไถ่ถอนแล้ว แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียน แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งดังนี้ คดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลย
ขายฝากที่ดินไว้ไม่ได้ไถ่ถอนโอนทะเบียนคืนมาผู้ขายฝากไปโอนทะเบียนขายให้ผู้อื่น ผู้รับซื้อฝากฟ้องขอให้ทำลายการโอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ซื้อฝากหลุด – อำนาจฟ้อง – การโอนที่ดินไม่สุจริต – การครอบครองปรปักษ์
โจทก์ที่ 1 ได้รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลย จนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แล้วเมื่อยังไม่ปรากฏทางทะเบียนว่าได้เปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้อื่น กรรมสิทธิ์ก็ยังคงตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าได้ตกลงขายให้โจทก์ที่ 2 แล้ว ก็ตาม โจทก์ที่ 1 ก็ยังมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของและมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยซึ่งเป็นที่ดินขายฝากโจทก์ไว้เกิน 10 ปีแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าไถ่ถอนแล้ว แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียน แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลย
ขายฝากที่ดินไว้ไม่ได้ไถ่ถอนโอนทะเบียนคืนมา ผู้ขายฝากไปโอนทะเบียนขายให้ผู้อื่น ผู้รับซื้อฝากฟ้องขอให้ทำลายการโอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหลังหมดอายุสัญญาขายฝาก ไม่ใช่สัญญาปราณีประนอม และมีผลบังคับได้ตามคำมั่นสัญญาซื้อขาย
สัญญาซึ่งไม่มีข้อความอันเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทย่อมไม่ใช่สัญญาปราณีประนอมยอมความ
เมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนการขายฝากแล้ว คู่สัญญามาทำสัญญากันว่าผู้ขายยอมโอนที่ให้เป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายซื้อคืนได้ เมื่อผู้ขายมาฟ้องขอซื้อคืน ผู้ซื้อต่อสู้ว่าผู้ขายผิดสัญญาดังนี้ ศาลบังคับให้ผู้ขายชนะคดี โดยถือว่าเป็นคำมั่นจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่เกิดจากข้อตกลงหลังสัญญาขายฝากหมดอายุ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
สัญญาซึ่งไม่มีข้อความอันเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทย่อมไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนการขายฝากแล้ว คู่สัญญามาทำสัญญากันว่าผู้ขายยอมโอนที่ให้เป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายซื้อคืนได้เมื่อผู้ขายมาฟ้องขอซื้อคืนผู้ซื้อต่อสู้ว่าผู้ขายผิดสัญญาดังนี้ ศาลบังคับให้ผู้ขายชนะคดี โดยถือว่าเป็นคำมั่นจะซื้อขาย
of 9