พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีการค้ากรณีอธิบดีกรมสรรพากรมีประกาศเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก
โจทก์ผลิตน้ำตาลทรายดิบขายให้แก่องค์การคลังสินค้าขายในประเทศโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา78และตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่1หมวด1(7)แต่โดยที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่18)เรื่องกำหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีการค้าตามมาตรา78วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่5กุมภาพันธ์2517ข้อ3ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ7ของรายรับดังนั้นแม้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าแต่เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศดังกล่าวผลักภาระการเสียภาษีการค้าให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ7ของรายรับเสียแล้วเท่ากับจำเลยที่1ยอมให้เปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ส่งออกโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าจากการขายน้ำตาลทรายดิบให้แก่องค์การคลังสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปบรรจุหีบห่อ: การพิจารณาตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา
สินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา5(8)แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนั้นลำดับแรกจะต้องเป็นสินค้าที่มิได้ระบุในบัญชีที่1ที่2และที่3ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียก่อนหากเป็นสินค้าที่ได้ระบุจะถือว่าเป็นสินค้าที่มิได้ระบุในบัญชีที่1ที่2และที่3หาได้ไม่และแม้จะเป็นสินค้าที่มิได้ระบุในบัญชีดังกล่าวรายการหนึ่งรายการใดหรือบัญชีหนึ่งบัญชีใดแล้วยังต้องเป็นสินค้าตามรายการ(ก)ถึง(ฌ)รายการหนึ่งรายการใดเท่านั้นจึงจะได้รับการยกเว้นภาษีการค้า สินค้าที่โจทก์ผลิตจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วที่ผลิตในราชอาณาจักรแม้จะมิใช่ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าในราชอาณาจักรแต่เมื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุหีบห่อผนึกที่มีเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้จากภายนอกอันเป็นสินค้าตามบัญชีที่1หมวด1(4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ย่อมเป็น สินค้าที่ได้ระบุในบัญชีที่1ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึง ไม่ได้รับยกเว้น ภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีการค้าจากผลักภาระภาษี การคิดดอกเบี้ย และอำนาจฟ้องของหน่วยงาน
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้า และน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า แต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์
จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากร-คืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบียไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า แต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์
จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากร-คืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบียไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีการค้าจากการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษี และดอกเบี้ยที่ได้รับ
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พ.ร.ก. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 บัญชีท้าย พ.ร.ก. บัญชีที่ 1 หมวด 1 (7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133 (พ.ศ.2516) ข้อ 1 (2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133 (พ.ศ.2516) ข้อ 1 (2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตสินค้าทางภาษีอากร: การแปรรูปลวดเป็นลวดเสียบกระดาษถือเป็นการผลิตและต้องเสียภาษี
ผู้ผลิตตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 นั้น รวมถึงการที่ผู้ใดทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ด้วยซึ่งอาจใช้วัตถุดิบของสินค้าเดิมมาทำเป็นสินค้าใหม่โดยไม่แปรเปลี่ยนสภาพของสินค้าเดิมก็ได้ และไม่จำต้องคำนึงว่าสินค้าใหม่นั้นอาจแปรเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นสินค้าเดิมได้หรือไม่ การที่โจทก์ใช้ลวดซึ่งเป็นสินค้าเดิมที่โจทก์ซื้อมาเข้าเครื่องปั๊มออกมาเป็นลวดเสียบกระดาษซึ่งเป็นสินค้าใหม่ โดยลวดซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้นยังมีสภาพเป็นลวดเช่นเดิมอยู่เพียงแต่ใช้เครื่องปั๊มตัดและดัดงอให้อยู่ในสภาพเป็นของใช้เสียบกระดาษแล้วนำไปจำหน่าย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษ คำว่า "ของใช้" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525หมายถึง "ของสำหรับใช้" เป็นที่เข้าใจของคนทั่ว ๆ ไปว่าประชาชนทั่วไปที่มีของนั้นอยู่สามารถนำของนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพังไม่ต้องนำไปประกอบกับของสิ่งอื่นเสียก่อน ลวดเสียบกระดาษที่พิพาทผู้ใดมีอยู่ในความครอบครองสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง จึงเป็นของใช้ตามบัญชี 1 หมวดที่ 9 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ลวดเสียบกระดาษผลิตจากโลหะเคลือบจึงเป็นของใช้ผลิตจากโลหะเคลือบอันเข้าลักษณะสินค้าอื่น ๆ ในหมวด 9 บัญชีที่ 1 ท้าย พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวแต่โจทก์ผลิตขายในราชอาณาจักร จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ9 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตสินค้าทางภาษี: การใช้ลวดทำลวดเสียบกระดาษถือเป็นการผลิตสินค้าและเป็นของใช้ที่ต้องเสียภาษี
การที่จะถือว่าผู้ใดเป็นผู้ผลิตตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 77นั้น นอกจากจะหมายถึงว่า ผู้นั้น ทำการเกษตร หรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้า แล้วยังให้รวมถึงการที่ผู้ใดทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ด้วย ซึ่งการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดสินค้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบของสินค้าเดิมมาทำเป็นสินค้าใหม่โดยไม่แปรเปลี่ยนสภาพของสินค้าเดิมก็ได้และไม่จำต้องคำนึงว่าสินค้าใหม่นั้นอาจแปรเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นสินค้าเดิมได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้ลวดซึ่งเป็นสินค้าเดิมที่โจทก์ซื้อมาเข้าเครื่องปั๊มออกมาเป็นลวดเสียบกระดาษซึ่งเป็นสินค้าใหม่โดยลวดซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้นยังมีสภาพเป็นลวดเช่นเดิมอยู่ เพียงแต่ใช้เครื่องปั๊มตัดและดัดงอให้อยู่ในสภาพเป็นของใช้เสียบกระดาษตามที่โจทก์ต้องการแล้วนำสินค้าลวดเสียบกระดาษนั้นไปจำหน่ายทั่วไปถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษตาม มาตรา 77 ตามบัญชีที่ 1 หมวดที่ 9 ได้กำหนดลักษณะของสินค้าอื่น ๆ ไว้ว่า"เครื่องมือ เครื่องใช้...ของใช้ใด ๆ ทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตจาก...โลหะหรือโลหะเคลือบอย่างใดอย่างหนึ่ง..." และคำว่า "ของใช้"นั้น ประมวลรัษฎากรไม่ได้วิเคราะห์ศัพท์ไว้ แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่าของใช้ไว้ว่า"ของสำหรับใช้" ซึ่งเป็นที่เข้าใจของคนทั่ว ๆ ไปว่า ของใช้ที่ว่านี้ประชาชนทั่วไปที่มีของนั้นอยู่สามารถนำของนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง ไม่ต้องนำไปประกอบกับสิ่งของอื่นเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ สำหรับลวดเสียบกระดาษรายนี้ ผู้ใดมีอยู่ในความครอบครองย่อมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง จึงเป็นของใช้ตามบัญชีที่ 1 ดังกล่าว เมื่อได้ความว่าลวดเสียบกระดาษนี้ผลิตจากโลหะเคลือบจึงเป็นของใช้ผลิตจากโลหะเคลือบอันเข้าลักษณะสินค้าอื่น ๆ ในหมวด 9 บัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 แต่โจทก์ผลิตขายในราชอาณาจักร จึงต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ คดีมีปัญหาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตลวดเสียบกระดาษหรือไม่และลวดเสียบกระดาษเป็นของใช้หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษ และคำฟ้องโจทก์กับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ความว่า ลวดเสียบกระดาษรายนี้เป็นของใช้ที่ผลิตจากโลหะเคลือบ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงย่อมเพียงพอที่ศาลจะพิพากษาได้แล้ว แม้จะทำการสืบพยานคู่ความต่อไปก็ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นเปลี่ยนแปลงไป คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป ศาลภาษีอากรกลางชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี: แผ่นพลาสติกปูพื้นเป็นวัตถุก่อสร้าง ไม่ใช่สิ่งทอหรือเครื่องแต่งกาย
โจทก์ผลิตสินค้าแผ่นพลาสติกดูราฟลอร์ซึ่งเป็นแผ่นพี.วี.ซี.หรือแผ่นพลาสติกนิ่มเพื่อให้ผู้ใช้สินค้านำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นอาคารและปิดผนังอาคารโดยเฉพาะ หาได้มีความประสงค์จะให้ใช้เป็นสินค้าประเภทอื่นไม่การที่มีผู้นำสินค้าที่โจทก์ผลิตไปใช้ประกอบเป็นสินค้าอื่น เช่น รองเท้า กระเป๋าที่รองจานเป็นเพียงผลพลอยได้นอกเหนือจากความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นสินค้าของโจทก์จึงจัดเป็นวัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือนเข้าลักษณะสิ่งปูลาดตามความหมายในหมวด 4(7) บัญชี 1 ท้าย พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่ประเภทผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายในหมวด 2(2)จึงไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีการค้าตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี: ที่นอน/หมอนฟองน้ำเทียม ไม่จัดเป็นสินค้าลดหย่อนตาม พ.ร.ก.ภาษีอากร
สินค้าที่นอนและหมอนของโจทก์ซึ่งผลิตจากฟองน้ำเทียม ไม่ใช่สินค้าอื่น ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เฉพาะที่ผลิตจากพลาสติกตามบัญชี 1 หมวด 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ. 2517เพราะสินค้าที่นอนและหมอนกฎหมายได้บัญญัติไว้แล้วในบัญชีที่ 2 หมวด 2 เพียงแต่กฎหมายในขณะพิพาทประสงค์ลดภาษีเฉพาะที่นอนและหมอนที่ยัดปุยนุ่นหรือปุยจากต้นไม้อย่างอื่นดังนั้นสินค้าของโจทก์จึงไม่อยู่ในบัญชีใด ๆ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ฟองน้ำเทียมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมหมายถึงฟองน้ำเทียมโดยตัวเอง หาได้มีความหมายรวมถึงสิ่งของที่ผลิตเป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นโดยใช้ฟองน้ำเทียมเป็นส่วนประกอบด้วยไม่ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสินค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตอยู่แล้ว เมื่อโจทก์นำฟองน้ำเทียมมาผลิตสินค้าเป็นที่นอนและหมอน ย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซ้ำอีก.
ฟองน้ำเทียมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมหมายถึงฟองน้ำเทียมโดยตัวเอง หาได้มีความหมายรวมถึงสิ่งของที่ผลิตเป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นโดยใช้ฟองน้ำเทียมเป็นส่วนประกอบด้วยไม่ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสินค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตอยู่แล้ว เมื่อโจทก์นำฟองน้ำเทียมมาผลิตสินค้าเป็นที่นอนและหมอน ย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซ้ำอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความข้อยกเว้นภาษีสินค้าที่นอนและหมอนที่ผลิตจากฟองน้ำเทียม ไม่เข้าข่ายตามบัญชีที่ 1 แห่งพระราชกฤษฎีกา
สินค้าที่นอนและหมอนของโจทก์ซึ่งผลิตจากฟองน้ำเทียม ไม่ใช่สินค้าอื่น ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เฉพาะที่ผลิตจากพลาสติกตามบัญชี 1 หมวด 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ. 2517 เพราะสินค้าที่นอนและหมอนกฎหมายได้บัญญัติไว้แล้วในบัญชีที่ 2 หมวด 2 เพียงแต่กฎหมายในขณะพิพาทประสงค์ลดภาษีเฉพาะที่นอนและหมอนที่ยัดปุยนุ่นหรือปุยจากต้นไม้อย่างอื่น ดังนั้นสินค้าของโจทก์จึงไม่อยู่ในบัญชีใด ๆ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ฟองน้ำเทียมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมหมายถึงฟองน้ำเทียมโดยตัวเอง หาได้มีความหมายรวมถึงสิ่งของที่ผลิตเป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นโดยใช้ฟองน้ำเทียมเป็นส่วนประกอบด้วยไม่ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสินค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตอยู่แล้ว เมื่อโจทก์นำฟองน้ำเทียมมาผลิตสินค้าเป็นที่นอนและหมอน ย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซ้ำอีก.
ฟองน้ำเทียมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมหมายถึงฟองน้ำเทียมโดยตัวเอง หาได้มีความหมายรวมถึงสิ่งของที่ผลิตเป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นโดยใช้ฟองน้ำเทียมเป็นส่วนประกอบด้วยไม่ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสินค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตอยู่แล้ว เมื่อโจทก์นำฟองน้ำเทียมมาผลิตสินค้าเป็นที่นอนและหมอน ย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซ้ำอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อพิพาทเรื่องประเภทสินค้าและการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายภาษีอากร
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)