พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2479/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ที่ดินจากการขายฝาก: สิทธิของโจทก์เมื่อถูกอายัด และการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลง
โจทก์ทั้งสองพร้อมที่จะชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลย แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ เนื่องจากที่ดินพิพาทถูกอายัดไว้ชั่วคราวในคดีอื่น อันมิได้เกิดจากความผิดของโจทก์ทั้งสอง แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาขอไถ่ที่ดินพิพาทจากจำเลยภายในกําหนดเวลาที่ตกลงกันไว้แล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ทั้งสองจะต้องขอขยายระยะเวลาไถ่ที่ดินพิพาทออกไปอีก
การไถ่ที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมต่างตอบแทนที่โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะยังไม่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลยและไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนําค่าสินไถ่ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์
หลังจากคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทสิ้นผล จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชําระค่าสินไถ่พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าสินไถ่ ซึ่งเกินกว่าที่ตกลงในสัญญาขายฝาก โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะโต้แย้งได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทโดยชอบและโจทก์ทั้งสองสละสิทธิไถ่ที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสองมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยกำหนดวันเวลาที่จะไปจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว แต่เพิกเฉย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรับค่าสินไถ่ตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไถ่
คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มีมูลความแห่งคดีอันไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่โจทก์ทั้งสองต่างยื่นฎีกามาแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกัน โดยต่างเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเต็มตามทุนทรัพย์ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคท้าย
การไถ่ที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมต่างตอบแทนที่โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะยังไม่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลยและไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนําค่าสินไถ่ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์
หลังจากคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทสิ้นผล จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชําระค่าสินไถ่พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าสินไถ่ ซึ่งเกินกว่าที่ตกลงในสัญญาขายฝาก โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะโต้แย้งได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทโดยชอบและโจทก์ทั้งสองสละสิทธิไถ่ที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสองมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยกำหนดวันเวลาที่จะไปจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว แต่เพิกเฉย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรับค่าสินไถ่ตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไถ่
คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มีมูลความแห่งคดีอันไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่โจทก์ทั้งสองต่างยื่นฎีกามาแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกัน โดยต่างเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเต็มตามทุนทรัพย์ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086-2087/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝาก ขยายเวลาไถ่ และสิทธิในการไถ่ที่ดิน: การวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ และการครอบครองทำประโยชน์
สัญญาขายฝากที่ดินที่โจทก์ผู้ซื้อฝากทำกับจำเลยผู้ขายฝากมิได้กำหนดค่าสินไถ่ไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากตามราคาที่ขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคแรก หากจำเลยมีเงินไถ่ที่ดินที่ขายฝากภายในกำหนดเวลาตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ไถ่ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากด้วยการนำเงินสินไถ่ไปวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าที่ดินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 วรรคแรก
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นหลักฐานว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ แม้มิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็มีผลบังคับให้ผูกพันโจทก์ผู้รับไถ่ซึ่งลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 เมื่อสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่มิได้กำหนดเวลาไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 494 กล่าวคือ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินขายฝากภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยฟ้องขอไถ่ที่ดินที่ขายฝากจากโจทก์ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก จำเลยจึงมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากจากโจทก์
เมื่อจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ขายฝากหลังจากทำสัญญาขายฝากให้โจทก์แล้วโดยโจทก์ยินยอมและโจทก์ทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ที่ดินที่ขายฝากให้จำเลย การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่ขายฝากต่อไปหลังจากครบกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาเดิมจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นหลักฐานว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ แม้มิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็มีผลบังคับให้ผูกพันโจทก์ผู้รับไถ่ซึ่งลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 เมื่อสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่มิได้กำหนดเวลาไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 494 กล่าวคือ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินขายฝากภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยฟ้องขอไถ่ที่ดินที่ขายฝากจากโจทก์ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก จำเลยจึงมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากจากโจทก์
เมื่อจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ขายฝากหลังจากทำสัญญาขายฝากให้โจทก์แล้วโดยโจทก์ยินยอมและโจทก์ทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ที่ดินที่ขายฝากให้จำเลย การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่ขายฝากต่อไปหลังจากครบกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาเดิมจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7725/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังไถ่ถอนการขายฝาก แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็มีผลใช้ยันกันได้ระหว่างโจทก์และจำเลย
ล. สามีโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ล. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนขายฝากให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์และ ล. ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และจำเลยได้คืน น.ส.3 กับหนังสือสัญญาขายฝากคืนให้แก่โจทก์และ ล. แล้ว หลังจากนั้นโจทก์และ ล. ได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่ง ล. ถึงแก่กรรมโจทก์ก็ครอบครองที่ดินตลอดมา โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 และ1379 เมื่อการครอบครองดังกล่าวเกิดจากการใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากคืนจากจำเลยผู้ซื้อฝากภายในกำหนด แม้ไม่มี การจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมา ซึ่งทรัพย์สิทธิในที่ดินยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่ในระหว่าง โจทก์และจำเลยด้วยกัน ย่อมมีผลใช้ยันกันได้ โจทก์ย่อมมี สิทธิฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาท แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7725/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังไถ่ถอนขายฝาก แม้ยังมิได้จดทะเบียน ก็ใช้ยันกันได้ระหว่างโจทก์จำเลย
ล.สามีโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครองครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3ล.นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนขายฝากให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์และ ล.ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และจำเลยได้คืน น.ส.3 กับหนังสือสัญญาขายฝากคืนให้แก่โจทก์และ ล.แล้ว หลังจากนั้นโจทก์และ ล.ได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่ง ล.ถึงแก่กรรม โจทก์ก็ครอบครองที่ดินตลอดมา โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 และ 1379 เมื่อการครอบครองดังกล่าวเกิดจากการใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากคืนจากจำเลยผู้ซื้อฝากภายในกำหนด แม้ไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่ในระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยกัน ย่อมมีผลใช้ยันกันได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่การขายฝาก: แม้เลยกำหนด แต่หากโจทก์มีความพร้อมและจำเลยจงใจทำให้ไม่สามารถไถ่ได้ ถือว่าใช้สิทธิทันเวลา
โจทก์มีเงินแต่ยังเบิกไม่ได้เพราะเป็นวันหยุดราชการรุ่งขึ้นไม่ได้ไถ่ขายฝากเพราะจำเลยว่าหนังสือสัญญาอยู่ที่อื่นให้มาไถ่วันหลังถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429-1430/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนการขายฝากที่ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ และสิทธิในการครอบครองห้องพิพาทหลังใช้สิทธิไถ่
โจทก์ขายฝากห้องพิพาทโดยไม่มีกำหนดเวลาไถ่ โจทก์จึงมีสิทธิขอไถ่ได้ภายในกำหนด 10 ปี และที่โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากไปที่ว่าการอำเภอตามวันเวลาที่กำหนดเพื่อไถ่ถอนการขายฝาก ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน จำเลยได้รับแล้ว แม้จะคืนหนังสือนั้นไปก็ฟังว่าจำเลยได้ทราบการขอไถ่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว
การที่จำเลยผู้ซื้อฝากให้โจทก์ผู้ขายฝากเช่าห้องพิพาท และต่อมาไม่ยอมให้โจทก์ไถ่คืน โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายที่ไม่ยอมออกจากห้องพิพาทที่เช่านั้นนับแต่วันที่โจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว
การที่จำเลยผู้ซื้อฝากให้โจทก์ผู้ขายฝากเช่าห้องพิพาท และต่อมาไม่ยอมให้โจทก์ไถ่คืน โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายที่ไม่ยอมออกจากห้องพิพาทที่เช่านั้นนับแต่วันที่โจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429-1430/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่คืนการขายฝากที่ไม่มีกำหนดเวลา และข้อยกเว้นค่าเสียหายจากการครอบครอง
โจทก์ขายฝากห้องพิพาทโดยไม่มีกำหนดเวลาไถ่ โจทก์จึงมีสิทธิขอไถ่ได้ภายในกำหนด 10 ปี และที่โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากไปที่ว่าการอำเภอตามวันเวลาที่กำหนดเพื่อไถ่ถอนการขายฝาก ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน จำเลยได้รับแล้ว แม้จะคืนหนังสือนั้นไปก็ฟังว่าจำเลยได้ทราบการขอไถ่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว
การที่จำเลยผู้ซื้อฝากให้โจทก์ผู้ขายฝากเช่าห้องพิพาทและต่อมาไม่ยอมให้โจทก์ไถ่คืน โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหาย ที่ไม่ยอมออกจากห้องพิพาทที่เช่านั้นนับแต่วันที่โจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว
การที่จำเลยผู้ซื้อฝากให้โจทก์ผู้ขายฝากเช่าห้องพิพาทและต่อมาไม่ยอมให้โจทก์ไถ่คืน โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหาย ที่ไม่ยอมออกจากห้องพิพาทที่เช่านั้นนับแต่วันที่โจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนที่ดินหลังมีคำพิพากษา: การบังคับคดีตามคำพิพากษาต่างจากการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 40,000 บาท แล้วไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทให้โจทก์ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 1 เดือน ครั้นพ้นกำหนดตามคำบังคับแล้วโจทก์จึงวางเงิน 40,000 บาทต่อศาล จำเลยจะอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน ตามคำบังคับต้องถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยเด็ดขาด ดังนี้หาได้ไม่ การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีโดยใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ภายใน 10 ปี เป็นการใช้สิทธิตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำบทบัญญัติในเรื่องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเกี่ยวข้องอีกไม่ได้ และไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนหลังมีคำพิพากษา: การบังคับคดีตามคำพิพากษาไม่ใช่การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 40,000 บาท แล้วไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทให้โจทก์ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 1 เดือน ครั้นพ้นกำหนดตามคำบังคับแล้วโจทก์จึงวางเงิน 40,000 บาทต่อศาล จำเลยจะอ้างว่าเมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน ตามคำบังคับ ต้องถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยเด็ดขาดดังนี้หาได้ไม่ การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีโดยใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ภายใน 10 ปี เป็นการใช้สิทธิตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำบทบัญญัติในเรื่องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเกี่ยวข้องอีกไม่ได้ และไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 496 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากก่อนกำหนด: การตีความข้อห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 494, 492 บัญญัติเป็นใจความว่า ท่านห้ามไม่ให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝาก ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี หรือเมื่อพ้นกำหนดที่กำหนดไว้ในสัญญา ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างไว้กับจำเลยมีกำหนด 2 ปี ตามนัยของกฎหมายดังกล่าว เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้ามโจทก์ใช้สิทธิไถ่ก่อน 2 ปี ดังนี้ ภายในกำหนด 2 ปี โจทก์จะใช้สิทธิไถ่เมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมให้ไถ่ก็ต้องถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ขอไถ่ที่ดินคืนได้