คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าเป็นเกณฑ์จัดประเภท
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใด ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปและเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภท กรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอันเป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าในประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร กรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องจัดเข้าประเภทอัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป
การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู 'ชนิด' ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ข) จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค)