คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 29 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้า: การฟ้องข้ามปีเกินกำหนดอายุความ 1 ปี ทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารมาก่อนจำเลยทั้งสองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าเคมีอาหารในจำพวกที่ 42 เดิม จึงขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกที่ 42 เดิม และใช้กับสินค้าเคมีอาหารดีกว่าจำเลยทั้งสอง คำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะในประเด็นที่ว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนคำว่า "Kyuta" ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนคำว่า "Kyuta" ไว้กับสินค้าเคมีอาหารในจำพวกที่ 42 เดิมของจำเลยที่ 1 ดีกว่าจำเลยทั้งสองเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่า ระหว่างปี 2529 ถึงปี 2542 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง และ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสอง ซึ่งในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยไว้ ดังนี้ แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้จะเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์มิได้รื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองอีกในประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารดีกว่าจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ จึงมิใช่การรื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันละเมิดต่อโจทก์โดยทำการลวงขายสินค้าดังกล่าวตั้งแต่ปี 2529 ถึงปี 2542 เป็นเวลาต่อเนื่องกันโดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 อันเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อน แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตั้งแต่ปี 2529 ตลอดมาจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 แล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2543 จึงเกินกำหนดอายุความ 1 ปี สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการละเมิดของจำเลยทั้งสองระหว่างปี 2529 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2542 ของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนสำหรับการละเมิดที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองทำการลวงขายในวันที่ 24 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนและห้ามใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบและทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ฟ้องว่า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "F FENDI" ตามคำขอเลขที่ 199227 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 37 ชนิดสินค้ากระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่ธนบัตร ห่วงร้อยกุญแจ หีบหนังขนาดกลาง หีบเดินทางขนาดใหญ่ และของที่ทำด้วยหนังสัตว์ฟอกซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยมิใช่กรณีที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่ว่าโจทก์จะได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับจดทะเบียนของนายทะเบียนดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เพราะโจทก์มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลย อันเป็นปัญหาในชั้นการพิจารณาของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"FF-FENDI" และ "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในลักษณะรวมกันและแยกกัน สำหรับเครื่องหมายการค้า "F " โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์จำพวกกระเป๋าสตางค์กระเป๋าถือ กระเป๋าอื่น ๆ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ฟ.ได้สั่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2533 โจทก์โฆษณาสินค้าและเครื่องหมายการค้า จนสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวมาก่อนที่จำเลยจะไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า "F " จำนวน 6 คู่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมพร้อมคำว่า "FFเอฟเอฟ." ของจำเลย กับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ดีกว่าจำเลยดังนี้ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ประกอบกับสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ และสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยมีเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ทั่วพื้นของกระเป๋าถือทั้งหมดและที่โลหะเหนือหัวเข็มขัดปิดกระเป๋าเหมือนกับสินค้ากระเป๋าถือสตรีของโจทก์ด้วย ประชาชนผู้ซื้อย่อมสับสนหลงผิดว่าสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง และห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเครื่องหมายการค้าโรมัน "F "ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยได้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่จำเลยฎีกาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ 6 ตัว และมีอักษรโรมันFF และอักษรไทยว่า "เอฟเอฟ" รวมอยู่ด้วย ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "FF_FENDI" และ"F " ในลักษณะประดิษฐ์ของโจทก์อีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์รบกวนการผลิตจำหน่ายสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้า "F " และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะปฏิบัติตามคำขอของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนมีสิทธิที่ดีกว่า แม้จะจดทะเบียนภายหลัง
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่า ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตาม ทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า แม้จดทะเบียนในไทยทีหลัง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่าทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้นหาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้วจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตามทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้จริงและผลกระทบต่อสาธารณชน
ในคดีเครื่องหมายการค้าเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องวินิจฉัยไม่เพียงแต่ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะต้องเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณะทำนองเดียวกันด้วย จะชี้ขาดว่าเครื่องหมายการค้าไม่เหมือนกันโดยเอามาเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างนั้นไม่ได้ จำต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและใช้กันโดยสุจริตถึงประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าประจำและถึงสภาพแห่งท้องตลาดคือแยกปริมาณที่ประชาชนจะพึงซื้อ
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความลวงสาธารณชน, ลักษณะเครื่องหมาย, และการใช้สินค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า"Madam Cook" กับอักษรไทยคำว่า "มาดามกุ๊ก" เป็นคำ 3 พยางค์ โดยอักษรโรมันอยู่ด้านบนของอักษรไทย และอักษรไทยมีขนาดเล็กกว่าอักษรโรมันเล็กน้อยส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า"COOK" พยางค์เดียว และอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" เป็นอักษรตัวขนาดใหญ่กว่าอักษรโรมัน อักษรโรมันวางอยู่บนพยัญชนะ "ก" ตัวที่ 2 ในระดับเดียวกันกับวรรณยุกต์ไม้ตรี เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรไทยและอักษรโรมันเป็นอักษรประดิษฐ์และอักษรโรมันคำว่า "Madam Cook" ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก คงใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวอักษร "M" และ "C" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันเป็นอักษรธรรมดามิใช่อักษรประดิษฐ์ อักษรโรมันคำว่า"COOK"" ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงแตกต่างกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่า "กุ๊ก" และคำว่า "Cook" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำเดียวกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำดังกล่าวก็เป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปมิใช่คำประดิษฐ์ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าว และเครื่องหมาย-การค้าของทั้งโจทก์และจำเลยก็มีเสียงเรียกขานแตกต่างกัน โดยของโจทก์เรียกว่า "กุ๊ก" ส่วนของจำเลยเรียกว่า "มาดามกุ๊ก" การจัดตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็เป็นไปตามปกติธรรมดา โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรโรมันคำว่า "Madam" มีขนาดเดียวกันกับคำว่า "Cook"อันเป็นการให้ความสำคัญในถ้อยคำแต่ละพยางค์เท่าเทียมกัน มิได้จัดให้อักษรคำว่า"Cook" หรือ "กุ๊ก" มีขนาดใหญ่หรือเน้นให้ดูโดดเด่นเป็นพิเศษเพื่อเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือสินค้าน้ำมันพืชและเน้นเครื่องหมายการค้าโดยใช้ตัวอักษรสีแดงสด ส่วนจำเลยแม้จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกที่ 42 รายการสินค้าทั้งจำพวกซึ่งรวมถึงสินค้าน้ำมันพืชด้วย แต่จำเลยก็ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับอาหารสำเร็จรูปที่จำเลยผลิตขึ้น ได้แก่ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย หูฉลามน้ำแดงเปรี้ยวหวานอาหารทะเล ปลากระพงน้ำแดง โดยใช้เครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมันว่า "Madam Cook" และส่งออกไปขายยังต่างประเทศ มิได้ผลิตขายในประเทศไทย ทั้งอักษรโรมันคำว่า "Madam Cook" บนซองบรรจุอาหารสำเร็จรูปก็มีลักษณะตรงกับที่จำเลยจดทะเบียนไว้ มิได้จัดตัวอักษรหรือใช้สีสันหรือกระทำการใดอันเป็นการเน้นคำว่า "Cook" แต่อย่างใด แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาไม่สุจริตที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายสินค้าของตนให้เข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและการลวงขายสินค้าทำให้สาธารณชนสับสน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวง-ขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) และมาตรา 29 (2)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE"และ "TRADE MARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" โดยมีหยดน้ำ 3 หยด ใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้น ซี่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" และ "FIVE STAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้น ตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ 1 จุด โดยมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมชั้นนอก ในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVE STAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ 3 หยด อยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมาก โดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ 3 หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2และของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"TRADE MARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "FIVE STAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ในรูปอาร์ม6 เหลี่ยม ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย หากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวง-ขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2 ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่เหมือน/คล้ายกัน และค่าเสียหายจากการลอกเลียนแบบ
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่22รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลยให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันและให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้นเป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ดังนั้นเมื่อปรากฎจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดมีโจทก์ที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่2เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อรถจักรยานสามล้อและอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าวโดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่2ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใดโจทก์ที่1มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับที่อักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"TRADEMARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับกับมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD" โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้นส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้ายกับมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม2ชั้นระหว่างวงกลม2ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้นมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"FIVESTAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว5ดวงนั้นตามลำดับกับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1จุดโดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าวและมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมใต้วงกลมนั้นมีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบนและมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยดอยู่ในรูปอาร์มนั้นซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2และของจำเลยที่1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างอาทิเช่นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีวงกลมชั้นเดียวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีวงกลม2ชั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK" อยู่ด้านล่างของวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" อยู่ด้านล่างของวงกลมโดยมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้และเครื่องหมายการค้าของโจทก์มี2มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอารม์6เหลี่ยมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK" อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เหมือนกันว่ารถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ที่2ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่1โจทก์ที่2จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่1และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา41|1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่2เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยที่1จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทการที่จำเลยที่1ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่2จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่2แล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเก่ากว่าย่อมคุ้มครอง แม้จำเลยจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่22รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลยให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันและให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้นเป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ดังนั้นเมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที่1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดมีโจทก์ที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่2เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อรถจักรยานสามล้อและอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าวโดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่2ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใดโจทก์ที่1มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"TRADEMARK"อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับกับมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้นส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้ายกับมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม2ชั้นระหว่างวงกลม2ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้นมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"FIVESTAR"อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว5ดวงนั้นตามลำดับกับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1จุดโดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR"ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าวและมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมใต้วงกลมนั้นมีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบนและมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยดอยู่ในรูปอาร์มนั้นซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2และของจำเลยที่1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างอาทิเช่นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีวงกลมชั้นเดียวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีวงกลม2ชั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ด้านล่างของวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR"อยู่ด้านล่างของวงกลมโดยมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เหมือนกันว่ารถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สืบสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ที่2ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่1โจทก์ที่2จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่1และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่2เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยที่1จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทการที่จำเลยที่1ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่2จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่2แล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่เหมือนกัน/คล้ายกันเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29 วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฎจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับที่อักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "TRADEMARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILEENGLANDLTD" โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "FIVESTAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้นตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1 จุด โดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยมใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 และของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "FIVESTAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์มี 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอารม์ 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และ จำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41|1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
of 2