คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: การแจ้งคำสั่ง, การนำสืบหลักฐาน, และการบังคับคดีโดยคำขอฝ่ายเดียว
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93 (2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และการที่ ส. หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้าน โดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้ว ตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้ โดยให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43 (1) แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารและการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร: การรับฟังพยานหลักฐานและการแจ้งคำสั่ง
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อนและการที่ส.หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้านโดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้วตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้โดยให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43(1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงไม่ถูกต้อง และการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75,76(1)(4)แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้ เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21(มาตรา 22 เดิม) เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้ เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา 40,41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ. 2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยานศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 14ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำ: การฟ้องขอแก้ไขแบบก่อสร้างหลังศาลมีคำพิพากษาให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
โจทก์ทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนจำเลยที่2โดยผู้อำนายการเขตจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองระงับการก่อสร้างและให้โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนภายในเวลาที่กำหนดแต่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาจำเลยที่2จึงฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตหากโจทก์ทั้งสองไม่แก้ไขโจทก์ทั้งสองต้องรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนออกเสียโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวในขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนแต่ผู้อำนวยการเขตไม่อนุญาตโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขแบบแปลนเช่นเดียวกันโจทก์ทั้งสองจึงมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ดังนั้นประเด็นในคดีนี้มีว่าคำสั่งของผู้อำนายการเขตและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับคำขออนุญาตแก้ไขแบบแปลนอาคารพิพาทของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งก็จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนปรากฎว่าในคดีแพ่งดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่โจทก์ทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบเป็นการก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนทั้งหมดดังนี้ประเด็นในคดีนี้ดังกล่าวจึงรวมอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ดังกล่าวนั้นด้วยเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีแรกไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดแบบ: ประเด็นซ้ำกับคดีก่อนหน้าทำให้ต้องห้ามพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
โจทก์ทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลน จำเลยที่ 2 โดยผู้อำนวยการเขตจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองระงับการก่อสร้างและให้โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนภายในเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา จำเลยที่ 2จึงฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 22886/2532 ให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตหากโจทก์ทั้งสองไม่แก้ไข โจทก์ทั้งสองต้องรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนออกเสีย โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว ในขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลน แต่ผู้อำนวยการเขตไม่อนุญาต โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขแบบแปลนเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจึงมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ดังนั้นประเด็นในคดีนี้มีว่า คำสั่งของผู้อำนวยการเขตและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับคำขออนุญาตแก้ไขแบบแปลนอาคารพิพาทของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งก็จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่ หรือจะต้องรื้อถอน ปรากฏว่าในคดีแพ่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่โจทก์ทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบเป็นการก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ หรือจะต้องรื้อถอนทั้งหมด ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้ดังกล่าวจึงรวมอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 22886/2532 ดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีแรกไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร และอำนาจฟ้องคดีเมื่อไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42และมาตรา 43 วรรคสาม จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นต้องจัดส่งอุทธรณ์และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในภายหลัง โดยทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 52 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8261/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
อาคารชั้นเดียวขนาด4.00x3.00เมตรที่ก่อสร้างต่อเติมขึ้นใหม่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)ซึ่งเป็นกรณีไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนอาคารสูง4ชั้นที่จำเลยต่อเติมนั้นเมื่อรื้ออาคารชั้นเดียวแล้วก็จะทำให้มีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมเกินกว่า30ใน100ส่วนของพื้นที่และยังมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันไม่น้อยกว่า2.00เมตรซึ่งจะไม่ขัดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)(4)ดังนั้นการที่จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารสูง4ชั้นจึงเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ซึ่งโจทก์มีอำนาจสั่งให้จำเลยยื่นคำขอใบรับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารชั้นเดียวขนาด4.00x4.00เมตรปรากฏว่าอาคารดังกล่าวโจทก์มิได้ขอให้รื้อถอนและไม่มีอาคารดังกล่าวอยู่ในที่ดินของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงอาคารดังกล่าวมาเป็นการบรรยายโดยสับสนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวด้วยนั้นจึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติ และเจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่ 1 จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้า ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย เมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้า ถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ฉะนั้น การลดความกว้างของบันไดจึงขัดต่อข้อบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย
of 3