พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และขอบเขตการปรับตามอัตราที่ฟ้องขอ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และในคำฟ้องข้อ 1 ก. ก็บรรยายไว้ด้วยว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยได้รับคำสั่งในวันที่ 27 มกราคม 2528 แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ซึ่งถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า การก่อสร้างอาคารของจำเลยไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ไม่อาจหมายความไปถึงว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยทำการก่อสร้างต่อไปอีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า การก่อสร้างอาคารของจำเลยไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ไม่อาจหมายความไปถึงว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยทำการก่อสร้างต่อไปอีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้ออาคาร: กฎหมายวิธีสบัญญัติมีผลย้อนหลัง เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนสั่งรื้อ
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาต และแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างโดยมิได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติท้องถิ่นเสียก่อนที่จะมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารอย่างกฎหมายเดิมพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในส่วนซึ่งบัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่ง เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ จึงมีผลย้อนหลังไปใช้บังคับถึงการปลูกสร้างอาคารของจำเลยในปี พ.ศ. 2521 ด้วย ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว กลับมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทอันเป็นการปฏิบัติข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดและฟ้องคดีนี้ภายหลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ถึง 3 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทคดีนี้ได้ แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ต้องเป็นไปตามกฎหมายและมีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ในระหว่าง เวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ใช้บังคับ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ออกมาใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 แล้ว อำนาจของโจทก์ที่สั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ ก็เฉพาะแต่กรณีตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 9 เท่านั้น ฯ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบังคับท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วย มาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารและไม่ได้รับอนุญาต เพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่า ความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ ก็เฉพาะแต่กรณีตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 9 เท่านั้น ฯ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบังคับท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วย มาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารและไม่ได้รับอนุญาต เพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่า ความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก