คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีข้อตกลงต่ออายุได้ ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงอัตราวันละ1,883.08บาทขัดกับเอกสารและคำรับของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้กรณีต้องฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเดือนละ40,800บาทอันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสามหมายถึงสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตั้งแต่แรกเมื่อเข้าทำสัญญากันว่าตกลงจ้างมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใดเมื่อครบกำหนดระยะเวลานั้นแล้วก็จะไม่มีการจ้างกันต่อไปอีก นอกจากจำเลยทั้งสองตกลงจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา15เดือนแล้วยังมีข้อความต่อไปอีกว่า"และสามารถต่ออายุสัญญาได้โดยการตกลงร่วมกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการ"ดังนี้เมื่อครบกำหนดระยะเวลา15เดือนแล้วหากงานตามโครงการของจำเลยทั้งสองยังมีความต้องการจ้างโจทก์ต่อไปอีกจำเลยทั้งสองและโจทก์สามารถตกลงต่ออายุสัญญาคือขยายระยะเวลาการจ้างต่อไปอีกได้งานตามโครงการของจำเลยทั้งสองจะหมดความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์เมื่อใดไม่อาจกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนลงไปได้การจ้างจะมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการซึ่งอาจมีต่อไปได้เรื่อยๆจนกว่าจะหมดความจำเป็นการที่สัญญาดังกล่าวจะได้กำหนดระยะเวลาการจ้างช่วงแรกไว้เป็นเวลา15เดือนก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสามอันจะทำให้จำเลยทั้งสองได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและการยกเว้นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่1รับโจทก์ที่1เข้าทำงานโดยไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่าไม่ต้องทำสัญญาจ้างที่จำเลยที่1ยอมให้โจทก์ที่1เข้าทำงานไปก่อนโดยมิได้ทำสัญญาจ้างทันทีจะถือว่าจำเลยที่1รับโจทก์ที่1เข้าทำงานเป็นลูกจ้างโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆหาได้ไม่เมื่อโจทก์ที่1ทำงานกับจำเลยที่1ได้1เดือนแล้วก็ได้ทำสัญญาจ้างกันซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนสัญญาจ้างย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่1ถือไม่ได้ว่าการทำสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา20เมื่อจำเลยที่1เลิกจ้างโจทก์ที่1ตามกำหนดนั้นจำเลยที่1ได้รับยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ46วรรคสามไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.