พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท การแจ้งไปยังผู้ไม่มีอำนาจทำให้หนี้ภาษีไม่แน่นอน และไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2517-2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบและแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายหลังเลิกบริษัท: อำนาจของผู้ชำระบัญชีและความแน่นอนของหนี้ภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2517 - 2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบ และแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ
กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่ มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ
กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่ มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานป่วย: การเลิกจ้างเป็นธรรมเมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และการมอบอำนาจเลิกจ้างชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ป่วยเป็นโรคเบาหวานจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่พนักงานขับรถตามตำแหน่งได้ จำเลยไม่อาจคาดหมายได้ว่าโจทก์จะมีโอกาสหายจากโรคดังกล่าวหรือไม่ และไม่สามารถหางานอื่นที่เหมาะสมให้ได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การที่ผู้อำนวยการของจำเลยออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้จัดการเขตการเดินรถมีอำนาจดำเนินการในเขตการเดินรถที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีอำนาจอนุมัติลาออก เลิกจ้าง ให้ออก ไล่ออกพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการแบ่งงานในหน้าที่ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการของจำเลย เป็นคำสั่งในทางบริหารงาน มิใช่เป็นการมอบอำนาจโดยเฉพาะ และมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำนิติกรรมอันหนึ่งอันใดอันพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร คำสั่งดังกล่าวซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการเขตการเดินรถจึงมีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้
การที่ผู้อำนวยการของจำเลยออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้จัดการเขตการเดินรถมีอำนาจดำเนินการในเขตการเดินรถที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีอำนาจอนุมัติลาออก เลิกจ้าง ให้ออก ไล่ออกพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการแบ่งงานในหน้าที่ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการของจำเลย เป็นคำสั่งในทางบริหารงาน มิใช่เป็นการมอบอำนาจโดยเฉพาะ และมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำนิติกรรมอันหนึ่งอันใดอันพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร คำสั่งดังกล่าวซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการเขตการเดินรถจึงมีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้