คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 162 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานลงชื่อรับรองเอกสารเท็จ รู้ว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 และ 157
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกำนันและนายทะเบียนตำบลรู้ว่า ห. ซึ่งเป็นลูกบ้านของตนอยู่บ้านเลขที่ 249 มิใช่บ้านเลขที่ 363 เมื่อจำเลยที่ 1 มาแจ้งขอย้ายชื่อ ห. จากทะเบียนบ้านเลขที่ 159 ไปอยู่บ้านเลขที่ 363 จำเลยที่ 3 ย่อมรู้ได้ทันทีว่าข้อความในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 เป็นเท็จ จำเลยที่ 3 ลงชื่อในฐานะนายทะเบียนตำบลในเอกสารดังกล่าว จึงเป็นการลงชื่อรับรองเป็นหลักฐานอันเป็นเท็จ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารรับรองเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 แจ้งย้ายที่อยู่ของ ห. ซึ่งจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ และยังรับแจ้งในฐานะนายทะเบียนตำบลเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1), 157
ในฟ้องเดียวกันโจทก์อาจบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามกรอกข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 และบรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำเอกสารกรอกข้อความใน เอกสารและร่วมกันปลอมลายมือชื่อ ห. โดยอาศัยโอกาสที่จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและ ประชาชนซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานลงชื่อรับรองเอกสารเท็จ รู้ว่าข้อมูลไม่เป็นความจริง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162(1) และ 157
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกำนันและนายทะเบียนตำบลรู้ว่าห. ซึ่งเป็นลูกบ้านของตนอยู่บ้านเลขที่ 249 มิใช่บ้านเลขที่ 363 เมื่อจำเลยที่ 1 มาแจ้งขอย้ายชื่อ ห. จากทะเบียนบ้านเลขที่ 159 ไปอยู่บ้านเลขที่ 363 จำเลยที่ 3ย่อมรู้ได้ทันทีว่าข้อความในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17เป็นเท็จ จำเลยที่ 3 ลงชื่อในฐานะนายทะเบียนตำบลในเอกสารดังกล่าว จึงเป็นการลงชื่อรับรองเป็นหลักฐานอันเป็นเท็จจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารรับรองเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 แจ้งย้ายที่อยู่ของ ห. ซึ่งจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ และยังรับแจ้งในฐานะนายทะเบียนตำบล เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162(1),157 ในฟ้องเดียวกันโจทก์อาจบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามกรอกข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162 และบรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำเอกสารกรอกข้อความในเอกสารร่วมกันปลอมลายมือชื่อ ห. โดยอาศัยโอกาสที่จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชนซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นที่สาธารณะมีผลทันที แม้บันทึกถ้อยคำทำหลังการโอนกรรมสิทธิ์ ก็เป็นการยืนยันความจริงเดิม
การอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณะ เพียงแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ยกให้แสดงเจตนาให้ปรากฏโดยตรงหรือโดยปริยายว่าได้อุทิศให้เป็นที่สาธารณะที่ดินนั้นก็ตกเป็นที่สาธารณะทันที ป. เจ้าของเดิมได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะไปแล้วก่อนจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 3ซึ่งเคยเป็นนายอำเภอท้องที่นั้นร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่2 ทำเอกสารบันทึกถ้อยคำให้ ป. ลงลายมือชื่อแสดงว่าป. ยกที่ดินของตนให้เป็นที่สาธารณะเมื่อวันที่ 5กรกฎาคม 2514 แม้เป็นการทำบันทึกภายหลังเมื่อที่ดินแปลงนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้รับโอนแล้วก็ตาม การกระทำนั้นก็เพื่อยืนยันความจริงที่ ป. ได้อุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณะแก่ทางราชการไว้ให้ปรากฏเป็นหลักฐานอีกชั้นหนึ่งหาเป็นความเท็จไม่ ทั้งไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะที่ดินส่วนนั้นได้ตกเป็นที่สาธารณะไปแล้ว ก่อนโจทก์จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นมา จำเลยทั้งสามไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003-3005/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงาน, รับรองเอกสารเท็จ, ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162(1)
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยป่าไม้อำเภอ ได้รับคำสั่งจากป่าไม้อำเภอให้ไปตรวจสอบไม้ตามที่มีผู้ยื่นคำขอใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ จำเลยไม่ได้ไปตรวจสอบไม้ ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการชำระเงินค่าภาคหลวง และไม่ได้ตรวจสอบบัญชีจำหน่ายไม้ แต่จำเลยได้ลงลายมือชื่อของตนในหนังสือกำกับไม้แปรรูปในช่องผู้ตรวจสอบเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้ทำการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว และทำความเห็นเสนอนายอำเภอในคำขอใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ว่าได้ไปทำการตรวจสอบไม้รายนี้แล้วถูกต้องจริง สมควรออกใบเบิกทางให้ได้ ซึ่งเป็นความเท็จ เป็นเหตุให้ป่าไม้อำเภอในฐานะผู้ทำการแทนนายอำเภอออกใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ให้แก่ผู้ขอ ทำให้ป่าไม้อำเภอซึ่งเป็นผู้ออกใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ป่าไม้อำเภอและกรมป่าไม้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นความผิดฐานรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้นอันเป็นความเท็จตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
ระเบียบของกรมป่าไม้ที่ระบุให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องเขียนกรอกข้อความลงในใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ด้วยตนเองนั้นปรากฏว่าในทางปฏิบัติได้อนุโลมให้ผู้ขอใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่เป็นผู้เขียนกรอกเองได้เพื่อความสะดวกรวดเร็ว การที่จำเลยได้ยอมให้ผู้ขอใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ซึ่งมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ แล้วจำเลยลงชื่อว่าตนเป็นผู้เขียนหรือกรอกเองนั้น เป็นการปฏิบัติผิดระเบียบของกรมป่าไม้เท่านั้นมิใช่เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
การเขียนกรอกข้อความลงในใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ดังกล่าว เป็นการเขียนกรอกข้อความตามช่องในแบบฟอร์มซึ่งมีช่องให้กรอกเป็นช่อง ๆ จึงมิใช่เป็นการจดข้อความซึ่งมีหน้าที่ต้องรับจดการกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การละเว้นไม่จดข้อความซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องรับจดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารเบิกจ่ายเงินและยักยอกทรัพย์โดยการหักชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการ ตำแหน่งนายช่างควบคุมหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกงสังกัดกรมชลประทานมีหน้าที่ควบคุมดูแลการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง จัดซื้อดูแลรักษาพัสดุและน้ำมันเชื้อเพลิงและควบคุมการใช้จ่ายเงินตลอดทั้งเบิกเงินและจ่ายเงินให้แก่คนงาน จำเลยร่วมกับค. พนักงานบัญชีปลอมเอกสารบัญชีรายชื่อคนงาน และลายมือชื่อคนงาน และใช้เอกสารปลอมดังกล่าวไปเบิกเงินค่าแรง เมื่อได้รับเงินที่เบิกตามเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ลงชื่อเป็นผู้จ่ายเงิน และ ค. ลงชื่อเป็นพยานในเอกสาร โดยไม่ได้มีการจ่ายเงินค่าแรงนั้นให้แก่บุคคลที่มีชื่อในเอกสาร แต่จำเลยเบียดบังเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้ การที่จำเลยปลอม ใช้เอกสารปลอมและรับรองข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารดังกล่าวข้างต้น ก็โดยมีเจตนาเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าแรงที่เบิกมาเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่โดยทางราชการได้ขอยืมวัสดุและสิ่งของมาเพื่อใช้ประโยชน์ ต่อมาจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เพื่อใช้ราชการในหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง แต่ไม่ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อไป คงฝากไว้ที่ห้างฯ เพราะที่หน่วยก่อสร้างไม่มีที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อต้องการใช้ก็จะไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างฯ ดังกล่าวเป็นคราว ๆ ตามหลักฐานใบนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของห้างฯ ปรากฏว่าได้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อให้หน่วยก่อสร้างครบถ้วนแล้ว แต่ความจริงหน่วยก่อสร้างได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ครบ เพราะมีการหักชำระหนี้ซึ่งห้างฯ เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่ การที่จำเลยไม่ตั้งงบประมาณและเบิกเงินจากจากงบประมาณมาชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กลับเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกงไปชำระหนี้ให้แก่ห้างฯ ดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการเท่านั้น ไม่เป็นการเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิง อันจะเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เบียดบังยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการปลอมเอกสารเบิกจ่ายเงินค่าแรงและเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการ ตำแหน่งนายช่างควบคุมหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง สังกัดกรมชลประทาน มีหน้าที่ควบคุมดูแลการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง จัดซื้อดูแลรักษาพัสดุ และน้ำมันเชื้อเพลิงและควบคุมการใช้จ่ายเงินตลอดทั้งเบิกเงินและจ่ายเงินให้แก่คนงาน จำเลยร่วมกับ ค.พนักงานบัญชีปลอมเอกสารบัญชีรายชื่อคนงาน และลายมือชื่อคนงาน และใช้เอกสารปลอมดังกล่วไปเบิกเงินค่าแรง เมื่อได้รังเงินที่เบิกตามเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ลงชื่อเป็นผู้จ่ายเงิน และค.ลงชื่อเป็นพยานในเอกสาร โดยไม่ได้มีการจ่ายเงินค่าแรงนั้นให้แก่บุคคลที่มีชื่อในเอกสาร แต่จำเลยเบียดบังเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้ การที่จำเลยปลอม ใช้เอกสารปลอมและรับรองข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารดังกล่าวข้างต้น ก็โดยมีเจตนาเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าแรงที่เบิกมาเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่โดยทางราชการได้ขอยืมวัสดุและสิ่งของมาเพื่อประโยชน์ ต่อมาจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เพื่อใช้ราชการในหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง แต่ไม่ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อไป คงฝากไว้ที่ห้างฯ เพราะที่หน่วยก่อสร้างไม่มีที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อต้องการใช้ก็จะไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างฯ ดังกล่าวเป็นคราวๆ ตามหลักฐานใบนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของห้างฯ ปรากฏว่าได้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อให้หน่วยก่อสร้างครบถ้วนแล้ว แต่ความจริงหน่วยก่อสร้างได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ครบ เพราะมีการหักชำระหนี้ซึ่งห้างฯ เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่การที่จำเลยไม่ตั้งงบประมาณและเบิกเงินจากงบประมาณมาชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กลับเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง ไปชำระหนี้ให้แก่ห้างฯ ดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการเท่านั้น ไม่เป็นการเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิงอันจะเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เบียดบังยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานกรอกข้อมูลเท็จในเอกสารราชการเพื่อออกหนังสือเดินทางให้ผู้กระทำผิด
จำเลยรับราชการเป็นตำรวจ ประจำกองกำกับการ 2 สันติบาลมีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบสวนพระภิกษุสงฆ์ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้จำเลยไปจดบันทึกคำให้การของบุคคลผู้ขอหนังสือเดินทาง และผู้ทำสัญญารับรองบุคคลผู้ขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ จำเลยจึงมีหน้าที่จดบันทึกคำให้การของบุคคลดังกล่าว ไม่ว่าคำสั่งนั้นจะเป็นคำสั่งด้วยลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาเมื่อจำเลยกรอกข้อความเท็จลงในบันทึกคำให้การโดยผู้ขอหนังสือเดินทางและผู้ทำสัญญารับรองฯ ไม่ได้มาให้การและมิได้ให้การเช่นนั้น ทั้งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อความเท็จ แล้วจำเลยรับรองเป็นหลักฐานว่าผู้ขอหนังสือเดินทางและผู้ทำสัญญารับรองฯได้ให้การตามข้อความที่จำเลยจดดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) และ(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116-1118/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานลงชื่อรับรองเอกสารตรวจรับรถยนต์ที่ไม่เป็นความจริง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่เป็นกรรมการตรวจรับรถยนต์ซึ่งเทศบาลซื้อ ได้ลงชื่อในใบตรวจรับพัสดุซึ่งมีข้อความว่าคณะกรรมการได้ตรวจรับรถยนต์แล้ว เห็นว่ามีปริมาณและคุณภาพถูกต้องครบถ้วน ทั้งราคาก็เป็นไปตามราคาในท้องตลาด และได้ส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่แผนกช่างรับไว้เป็นการถูกต้องแล้วซึ่งความจริงไม่มีการกระทำดังกล่าวเลย เพราะผู้ขายยังไม่ได้นำรถมาส่งมอบการที่จำเลยยังไม่ได้ตรวจรับและส่งมอบแต่ลงชื่อรับรองเป็นหลักฐานว่าได้กระทำการดังกล่าว จึงเป็นการรับรองเท็จอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162(1)และการที่จำเลยรับรองเป็นหลักฐานว่ารถที่ตรวจรับมอบนี้มีปริมาณคุณภาพถูกต้องครบถ้วน ทั้งราคาก็เป็นไปตามราคาในท้องตลาด และได้ส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่แผนกช่างรับไว้เป็นการถูกต้องแล้วนั้น เป็นการรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 162(4) ด้วย แม้การรับรองเป็นหลักฐานเช่นนี้ จำเลยจะกระทำไปโดยไม่ทุจริต ไม่เกิดความเสียหายก็เป็นผิดตามมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการรายงานการหลบหนีของนักโทษ และร่วมกันปลอมเอกสารเพื่อช่วยเหลือ
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องโทษหลบหนี
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
of 4