พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานคุมประพฤติ: การแต่งตั้ง, การปฏิบัติหน้าที่, และการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในกรมคุมประพฤติ เป็นพนักงานคุมประพฤติตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม จำเลยเป็นพนักงานคุมประพฤติประจำศาลและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลให้ไปสืบเสาะความประพฤติของ ว. เมื่อตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อาญา พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า "พนักงานคุมประพฤติ" หมายความว่าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 10 บัญญัติว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานคุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีบทบัญญัติบทใดบัญญัติให้การแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นพนักงานคุมประพฤติจึงไม่จำต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แต่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมา ถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7273/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำโทษที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาพิจารณาลงโทษในคดีหลังได้ แม้ศาลจะไม่ได้ถูกแจ้งในคดีก่อน
ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532 ซึ่งใช้บังคับก่อนการกระทำผิดคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1500/2537 ของศาลชั้นต้นบทบัญญัติดังกล่าวนี้แก้ไขและใช้บังคับพร้อมกับ ป.อ.มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ เมื่อมาตรา58 วรรคหนึ่ง กับมาตรา 56 วรรคสอง มีการแก้ไขพร้อมกันแสดงว่ามีเจตนาจะให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยกระทำความผิดอีก แม้ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง จะได้บัญญัติว่า ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องก็ตาม เมื่อ ป.วิ.อ.เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ ย่อมจะต้องไม่ขัดต่อป.อ.ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่นเมื่อ ป.อ.บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องโทษไว้อย่างไรการพิพากษาคดีย่อมจะต้องอาศัย ป.อ.ในการกำหนดโทษมิให้ผิดไปจากที่ ป.อ.บัญญัติไว้ เช่นนี้ย่อมตีความ ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่งได้ว่า แม้ความปรากฏแก่ศาลเองก็ให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีหลังปฏิบัติตาม แต่สำหรับกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการกระทำผิดของจำเลยก่อนที่ศาลพิพากษา เมื่อพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษลงโทษจำคุกและปรับ โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลย โดยให้จำเลยมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3 เดือนต่อครั้งภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี และให้จำเลยเว้นจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ หรือมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายใด ๆ แต่หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งได้ยอมรับต่อพนักงานคุมประพฤติว่ายังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอยู่ ซึ่งรายงานดังกล่าวถือว่าเป็นรายงานที่เป็นผลร้ายต่อจำเลย ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 กล่าวคือแจ้งรายงานนั้นให้จำเลยทราบ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงาน รายงานดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับคำแถลงของเจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 58 ที่แก้ไขแล้ว ศาลจึงนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกโทษในคดีหลังได้ในกรณีที่ศาลคดีหลังพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรับฟังรายงานคุมประพฤติ และการพิจารณาโทษจากประวัติผู้ต้องหา
พระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ.2522มาตรา13บัญญัติเพียงให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังรายงานและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติเท่านั้นมิใช่เป็นบทบัญญัติเด็ดขาดที่จำต้องให้ศาลรับฟังเสมอไป. จำเลยเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3แล้วออกมาช่วยมารดาและพี่น้องค้าขายและขับรถรับส่งคนโดยสาร.จนตอนเกิดเหตุมาทำงานเป็นพนักงานจำหน่ายตั๋วรถยนต์โดยสารประจำทางปรับอากาศถือได้ว่าจำเลยประกอบอาชีพโดยสุจริตตลอดมาไม่เคยกระทำผิดใดๆมาก่อนกระสุนปืนที่จำเลยมีไว้ที่ใช้กับอาวุธปืนก็เพียงนัดเดียวไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยจะใช้ก่อเหตุร้ายควรรอการลงโทษจำเลยและคุมความประพฤติไว้เหมาะสมกับความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดและเพียงพอให้จำเลยได้สำนึกปฏิบัติตนไม่ประพฤติผิดกฎหมายต่อไปแล้ว.(ที่มา-เนติฯ)