พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายยาเสพติดไม่สำเร็จ ความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย
ก่อนเวลาที่จำเลยทั้งสองจะถูกจับไม่นาน จำเลยทั้งสองเดินเข้าไปนั่งที่โซฟาในห้องอาหารของโรงแรมด้วยกันโดยจำเลยที่ 2 ถือถุงกระดาษเข้าไปด้วย ต่อมาขณะที่จำเลยทั้งสองนั่งที่โซฟาในห้องอาหารอยู่นั้น มีสายลับ 2 คนเดินเข้ามานั่งร่วมโต๊ะเดียวกันกับจำเลย แล้วจำเลยที่ 1เป็นผู้หยิบถุงกระดาษที่จำเลยที่ 2 ถือมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สายลับ สายลับก็ให้สัญญาณเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยทั้งสองตามแผนการจับกุมที่กำหนดกันไว้ก่อนแล้วเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเข้าจับจำเลยทั้งสองกับยึดได้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ของกลางซึ่งบรรจุมาในถุงกระดาษดังกล่าวทันที ดังนี้จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ ส่งมอบวัตถุออกฤทธิ์ของกลางให้แก่สายลับ เพราะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเสียก่อนการซื้อขายวัตถุออกฤทธิ์ของกลางจึงยังไม่สำเร็จบริบูรณ์เป็นการกระทำยังอยู่ในขั้นตอนที่จำเลยทั้งสองพยายามขายวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเท่านั้น และเมื่อวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเป็นชนิดเดียวกันและจำนวนเดียวกัน ทั้งจำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและพยายามขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงจำหน่ายจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นความผิดกรรมเดียวฐานร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายเพียงกรรมเดียวเท่านั้นมิใช่จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันขายวัตถุออกฤทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในฐานตัวการ ผู้สนับสนุน และการปรับบทลงโทษในความผิดพยายามปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามปล้นทรัพย์, สนับสนุนความผิด, มีอาวุธปืน, วิทยุคมนาคม, และบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายาม ปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86 และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวก ภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐาน พยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลย ที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็น หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยาย ในคำฟ้อง ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่า หากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ให้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535 แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้งดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่ หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็ มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และ จำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์ จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชี กันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้น, เจตนาของคู่สัญญา, และการเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้อง
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาต่างกัน ความผิด 2 กรรม: พรากเด็กหญิงเพื่ออนาจาร กับ ข่มขืนกระทำชำเรา
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของ ด.มารดา ตามวันและเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปโดยไม่ได้ขออนุญาตด.ก่อน และจำเลยพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้มีเจตนาที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายหรืออยู่กินกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ดังนั้น แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวจะเป็นการกระทำต่อเนื่องในวันเดียวกันก็ตาม แต่เห็นได้ชัดว่าจำเลยได้กระทำไปโดยมีเจตนาต่างกันกล่าวคือ จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารอันเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาผู้เสียหาย ส่วนที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายเป็นเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันเป็นเจตนาต่างกันกับเจตนาพรากดังกล่าว จึงมิใช่การกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาต่างกัน พรากเด็กและข่มขืนเป็นความผิด 2 กรรม
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของ ด. มารดา ตามวันและเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปโดยไม่ได้ขออนุญาต ด.ก่อน และจำเลยพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้เจตนาที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายหรืออยู่กินฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก มารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งไม่ใช่ภริยาของตนโดย เด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ดังนั้น แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวจะเป็นการกระทำต่อเนื่องในวันเดียวกันก็ตาม แต่เห็นได้ชัดว่าจำเลยได้กระทำไปโดยมีเจตนาต่างกัน กล่าวคือ จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารอันเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาผู้เสียหาย ส่วนที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายเป็นเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันเป็นเจตนาต่างกันกับเจตนาพรากดังกล่าว จึงมิใช่การกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ผลผูกพันคำพิพากษา: สัญญาซื้อขายยังไม่เลิก ผลของคำพิพากษาผูกพันคู่ความ โจทก์มีสิทธิบังคับตามสัญญา
จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งอยู่ทาง ด้านทิศใต้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายและค่ามัดจำคืนจากจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกโดยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดียวกันกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนก็ตาม แต่โจทก์ก็อ้างเหตุที่ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้ว่า หลังจากคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว น.ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้บังคับจำเลยยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวนครึ่งแปลงให้เป็นกรรมสิทธิ์ของน. และ พ. ซึ่งต่อมาปรากฏว่าจำเลยกับ น. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล ตกลงจะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันให้ที่ดินครึ่งแปลงทางด้านทิศเหนือเป็นส่วนของน. และ พ. และให้ที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นส่วนของจำเลยเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลผลการรังวัดสามารถคำนวณเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงได้แล้วทำให้โจทก์กับจำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินซึ่งจำเลยตกลงขายให้แก่โจทก์แน่นอนและสามารถคำนวณเงินราคาที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน โจทก์จึงบอกกล่าวถึงจำเลยอีกครั้งหนึ่ง และขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนที่โจทก์อ้างเหตุ ในการขอเลิกสัญญาแก่จำเลยว่าจำเลยไม่ทำการรังวัดแบ่งแยก กรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนโจทก์ จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น เมื่อประเด็นของคดีเดิมและคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการ ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติ ตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลย เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เหตุต่างกัน ฟ้องได้ แม้คดีก่อนศาลยกฟ้อง
จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายและค่ามัดจำคืนจากจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้ที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกโดยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนก็ตาม แต่โจทก์ก็อ้างเหตุที่ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้ว่า หลังจากคดีก่อนถึงที่สุดแล้วน.ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้บังคับจำเลยยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวนครึ่งแปลงให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ น.และ พ. ซึ่งต่อมาปรากฏว่าจำเลยกับ น.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล ตกลงจะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันให้ที่ดินครึ่งแปลงทางด้านทิศเหนือเป็นส่วนของ น. และ พ. และให้ที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นส่วนของจำเลย เจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาล ผลการรังวัดสามารถคำนวณเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงได้แล้ว ทำให้โจทก์กับจำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินซึ่งจำเลยตกลงขายให้แก่โจทก์แน่นอนและสามารถคำนวณเงินราคาที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน โจทก์จึงบอกกล่าวถึงจำเลยอีกครั้งหนึ่งและขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนที่โจทก์อ้างเหตุในการขอเลิกสัญญาแก่จำเลยว่าจำเลยไม่ทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น เมื่อประเด็นของคดีเดิมและคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์/ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท การอุทธรณ์ และการวินิจฉัยนอกฟ้องในส่วนขับไล่และละเมิด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท จำเลยไม่ได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ย่อมเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์โดยยอมรับในอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ แต่โจทก์ฟ้องบังคับขับไล่จำเลยในขณะบ้านพิพาทยังปลูกอยู่ ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ บ้านพิพาทจึงมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าบ้านพิพาทที่ปลูกอยู่หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเท่าใด แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า บ้านพิพาทหากจะให้เช่าจะได้ค่าเช่า เดือนละไม่เกิน 4,000 บาท และโจทก์ก็มิได้ฎีกาว่าบ้านพิพาทหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเกินกว่า4,000 บาท จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาท หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท คดีส่วนที่ เกี่ยวกับฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคสอง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยและพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ส่วนนี้ของโจทก์เสีย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ โดยลักลอบเก็บผลกาแฟและตัดฟืนต้นกาแฟของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารทำ ละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ ดังนี้ คำขอของโจทก์ เป็นการขอให้สั่งห้ามจำเลยงดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อต้นกาแฟอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือต้นกาแฟนั้นในขณะฟ้องและต่อไปภายหน้า เมื่อจำเลยมิได้ให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าต้นกาแฟเป็นของจำเลย ทั้งปัญหาที่ว่าโจทก์จะมีสิทธิปลูกต้นกาแฟในที่ดินดังกล่าวต่อไปหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไป ฉะนั้น คดีโจทก์ส่วนที่ห้ามจำเลยและบริวาร ทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่นำสืบว่าโจทก์เสียหายอย่างใด เพียงใด จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ