พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้และการคิดเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทข้อ 2 จำเลยยอมให้ธนาคารโจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 โดยอาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์ลงวันที่ดังกล่าวเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินสินเชื่อ ข้อ 2 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้มีระยะเวลาเท่ากับร้อยละ 18.00 ต่อปี และข้อ 6 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีส่วนที่เกินวงเงิน หรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราว หรือสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 25.00 ต่อปี ดังนี้หนี้สินเชื่ออื่นนอกจากหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25.00ต่อปี ได้เฉพาะกรณีลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ผิดนัดแล้ว ถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ซึ่งจำเลยเป็นลูกค้าประเภทดังกล่าวนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้สูงสุดเพียงร้อยละ 18.00 ต่อปี ส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีเช็คที่แยกฟ้อง ต้องไม่เกินคำขอท้ายฟ้องและห้ามรวมโทษโดยไม่ขอ
โจทก์แยกฟ้องคดีทั้งสองสำนวนซึ่งศาลสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาโดยไม่ได้ขอให้พิพากษานับโทษจำเลยติดต่อกันจึงนับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำคุกกระทงละ 6 เดือนรวม 2 กระทง จำคุก 1 ปี จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเพื่อขอหนังสือคนประจำเรือและการมีอำนาจฟ้องของผู้ถูกหลอกลวง
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดต้องการเดินทางไปต่างประเทศโดยวิธีผิดกฎหมาย จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย แม้เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกามิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอก ให้แจ้งว่าสามารถทำหนังสือเดินทางคนประจำเรือพาโจทก์ เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า ทำให้โจทก์ หลงเชื่อว่าเป็นความจริง โจทก์จึงมิได้ร่วมกระทำความผิด กับจำเลย จึงไม่ต้องวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยต่อไป ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ มีอำนาจ ฟ้องจำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน การรับสารภาพ การขัดแย้งในคำเบิกความ และองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
การที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความชั้นพิจารณาว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ลักทรัพย์ขัดต่อเหตุผล เห็นเจตนาได้ชัดว่าเบิกความช่วยเหลือจำเลยมิให้รับโทษศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การโจทก์ดังกล่าวในชั้นสอบสวนซึ่งสมเหตุผลยิ่งกว่าได้ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำผิด แต่ จำเลยให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวนนำชี้ที่เกิดเหตุแสดงการลักทรัพย์ประกอบกับคำพยานและพฤติการณ์แวดล้อมแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักยางพาราซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสิกรรม มิได้กล่าวในฟ้องว่า เป็นยางพาราของเจ้าทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรมขาดองค์ประกอบ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) จึงลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน การขัดแย้งในคำให้การ และองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
พยานโจทก์เบิกความชั้นพิจารณาว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ลักทรัพย์ซึ่งขัดต่อเหตุผล เห็นเจตนาได้ชัดว่าพยานโจทก์ เบิกความช่วยเหลือจำเลยมิให้รับโทษศาลย่อมฟังข้อเท็จจริง ตามคำให้การโจทก์ในชั้นสอบสวนซึ่งสมเหตุผลยิ่งกว่าได้ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำผิดแต่จำเลยให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวนนำชี้ที่เกิดเหตุแสดงการลักทรัพย์ประกอบกับคำพยานโจทก์และพฤติการณ์แวดล้อมแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ของผู้เสียหาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักยางพาราซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสิกรรม มิได้กล่าวในฟ้องว่า เป็นยางพาราของเจ้าทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรม ขาดองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) จึงลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีลักทรัพย์: พยานคำให้การชั้นสอบสวนมีน้ำหนักกว่าพยานปฏิเสธชั้นพิจารณา
พยานโจทก์เบิกความชั้นพิจารณาว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ลักทรัพย์ซึ่งขัดต่อเหตุผล เห็นเจตนาได้ชัดว่าพยานโจทก์เบิกความช่วยเหลือจำเลยมิให้รับโทษศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การโจทก์ในชั้นสอบสวนซึ่งสมเหตุผลยิ่งกว่าได้
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำผิด แต่จำเลยให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน นำชี้ที่เกิดเหตุแสดงการลักทรัพย์ประกอบกับคำพยานโจทก์และพฤติการณ์แวดล้อมแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักยางพาราซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสิกรรม มิได้กล่าวในฟ้องว่า เป็นยางพาราของเจ้าทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรม ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (12) จึงลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำผิด แต่จำเลยให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน นำชี้ที่เกิดเหตุแสดงการลักทรัพย์ประกอบกับคำพยานโจทก์และพฤติการณ์แวดล้อมแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักยางพาราซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสิกรรม มิได้กล่าวในฟ้องว่า เป็นยางพาราของเจ้าทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรม ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (12) จึงลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ ยางพาราจากไร่เกษตรกร ต้องระบุอาชีพเจ้าของทรัพย์ในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักยางพาราซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสิกรรมมิได้กล่าวในฟ้องว่าเป็น ยางพาราของเจ้าของทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงขาดองค์ประกอบ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12)ลงโทษตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับข้อหาค้าของผิดกฎหมาย แม้สถานที่ไม่มีชื่อ แต่ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ ศาลให้รอลงโทษปรับ
โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของสถานที่ที่จำเลยแจ้ง โจทก์ที่ 2เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ที่ 1แม้จำเลยจะแจ้งถึงสถานที่ไม่ได้ระบุถึงโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่สถานที่ไม่มีสถานะเป็นบุคคลแม้จะมีบุคคลอื่นอยู่ในสถานที่ นั้นอีกหลายคน แต่หากมีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่จริงโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสถานที่จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และไม่ถือว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง จำเลยประกอบอาชีพเป็นทนายความเป็นผู้มีความรู้ทางกฎหมาย กระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายเสียเองแล้วไม่สำนึกผิด กลับต่อสู้คดีวกวนกล่าวโทษผู้อื่น จึงไม่สมควรกำหนดโทษ ให้เบาลงอีก แต่จำเลยกระทำไปก็โดยมุ่งหมายให้สำเร็จประโยชน์ ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษ จำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นที่พอใจแล้วและไม่ติดใจ เอาความกับจำเลย สมควรรอการลงโทษจำคุก