พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอาญา ไม่กระทบความรับผิดทางละเมิด
มูลละเมิดคดีนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ แก่บุคคลอื่น โดยเป็นเช็คขีดคร่อมและมีคำสั่งห้ามเปลี่ยนมือ แต่เช็คดังกล่าวถูกนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 ในบัญชีจำเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย เป็นการผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ และจำเลยร่วม เบิกจ่ายเงินดังกล่าวจากบัญชีจำเลยร่วมแล้ว ส่วนคดีที่ โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นสืบเนื่องมาจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็นมูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยร่วมและ น. ฐานฉ้อโกง แล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน อันเป็นเรื่อง ระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิด อันยอมความได้และเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจาก การละเมิดเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้น ความรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ความรับผิดขนส่งสินค้าเสียหาย, การรับช่วงสิทธิจากสัญญาประกันภัย, และข้อจำกัดการฎีกา
ตามหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่สำนักงานใหญ่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์มอบให้นาย จ. มีอำนาจเกี่ยวกับการฟ้องหรือต่อสู้คดี และให้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนสับเปลี่ยนผู้รับมอบอำนาจช่วง นาย จ. มอบอำนาจช่วงให้นาย พ. ฟ้องคดีความทั้งปวงแทนโจทก์ ดังนี้ การมอบอำนาจในลักษณะดังกล่าวแม้มิได้เป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่ก็ครอบคลุมถึงการฟ้องคดีนี้ด้วย แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่นก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาฟ้องในคดีนี้อีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการขนส่งสินค้า ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าพิพาทเสียหายไปในระหว่างการขนส่ง ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 616
เมื่อบริษัท ป. ทำสัญญาประกันวินาศภัยกับโจทก์ในนามตนเอง แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเข้ามาแสดงตนและเข้ารับเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ป. ก็ตาม แต่ก็เป็นการแสดงตนหลังจากโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ป. ไปแล้ว ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อจะทำให้เป็นที่เสื่อมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการขนส่งสินค้า ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าพิพาทเสียหายไปในระหว่างการขนส่ง ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 616
เมื่อบริษัท ป. ทำสัญญาประกันวินาศภัยกับโจทก์ในนามตนเอง แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเข้ามาแสดงตนและเข้ารับเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ป. ก็ตาม แต่ก็เป็นการแสดงตนหลังจากโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ป. ไปแล้ว ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อจะทำให้เป็นที่เสื่อมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมหมดประโยชน์เมื่อมีการปลูกสร้างเต็มพื้นที่ ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480 เป็นทางภารจำยอมของที่ดินแปลงอื่น ต่อมามีการแบ่งแยกปรากฏว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่ออกเป็นโฉนด เลขที่ 19056,19057 และ 19058 แล้ว มีลักษณะเป็น ถนนซอยกว้างประมาณ 6 เมตร ออกสู่ถนนเพชรเกษม ลักษณะของทางภารจำยอมเป็นซอยตัน ริมทางภารจำยอม มีตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสภาพปลูกสร้างมานานหลายปี ปลูกเต็มพื้นที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 แสดงว่าที่ดินที่ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินออกไปแล้วส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 ไม่ได้ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมมาเป็นเวลานานเพราะมีสิ่งปลูกสร้างเป็นตึกแถวเต็มพื้นที่ จึงเป็นกรณีที่ภารจำยอมนั้นไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการ หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท - อีเฟดรีน - ฟ้องซ้ำ - คำรับในชั้นจับกุม
จำเลยผลิตอีเฟดรีนและมีอีเฟดรีน ที่ได้ผลิตขึ้นตามฟ้อง ไว้ในครอบครองเพื่อขาย เมื่ออีเฟดรีน ที่จำเลยกับพวกร่วมกัน ผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำ ของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันขายยา อีเฟดรีนผสมคาเฟอีน จำนวน 30,394 เม็ด อันเป็นยาแผนปัจจุบัน และเป็นยาอันตรายที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตาม กฎหมาย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4,12,72,79,101,122,126 ซึ่งแตกต่างจากคดีนี้ ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานผลิตและขายอีเฟดรีน ซึ่ง เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4,5,6,13 ทวิ,62,89,106,116 อันมีองค์ประกอบของความผิด แตกต่างกัน และของกลางก็เป็นคนละจำนวนกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ เมื่อโจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร รวมทั้งวัตถุ พยานพอรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด แม้จำเลย จะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม คำรับของจำเลยก็ไม่เป็นประโยชน์ แก่ศาลในการพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-ฟ้องซ้ำ: คดีอีเฟดรีน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันขายอีเฟดรีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 โดยการร่วมกันมีอีเฟดรีนที่จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำหน่าย จ่าย แจกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย เมื่ออีเฟดรีน ที่จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครอง เพื่อขายเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็น ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันขายยาอีเฟดรีนผสมคาเฟอีน อันเป็นยาแผนปัจจุบันและเป็นยาอันตรายที่มิได้ ขึ้นทะเบียนตำรับยาตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแตกต่างจากคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ฐานผลิตและขายอีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อันมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและของกลาง ก็เป็นคนละจำนวนกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท - การผลิตและครอบครองอีเฟดรีนเพื่อขาย - ไม่เป็นฟ้องซ้ำ - คำรับสารภาพไม่เป็นประโยชน์
จำเลยผลิตอีเฟดรีนและมีอีเฟดรีนที่ได้ผลิตขึ้นตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อขาย เมื่ออีเฟดรีนที่จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันขายยาอีเฟดรีนผสมคาเฟอีนจำนวน 30,394 เม็ด อันเป็นยาแผนปัจจุบัน และเป็นยาอันตรายที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตามกฎหมาย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา4, 12, 72, 79, 101, 122, 126 ซึ่งแตกต่างจากคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานผลิตและขายอีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4, 5, 6, 13 ทวิ,62, 89, 106, 116 อันมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกัน และของกลางก็เป็นคนละจำนวนกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อโจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร รวมทั้งวัตถุพยานพอรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม คำรับของจำเลยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ศาลในการพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันขายยาอีเฟดรีนผสมคาเฟอีนจำนวน 30,394 เม็ด อันเป็นยาแผนปัจจุบัน และเป็นยาอันตรายที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตามกฎหมาย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา4, 12, 72, 79, 101, 122, 126 ซึ่งแตกต่างจากคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานผลิตและขายอีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4, 5, 6, 13 ทวิ,62, 89, 106, 116 อันมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกัน และของกลางก็เป็นคนละจำนวนกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อโจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร รวมทั้งวัตถุพยานพอรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม คำรับของจำเลยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ศาลในการพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการฉ้อโกงต้องมีตั้งแต่แรก การคิดราคาสินค้าใหม่หรือมีเรื่องทะเลาะกันเป็นเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ความผิดอาญา
การที่จะฟังว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงโจทก์หรือไม่ข้อเท็จจริงจะต้องได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่แรกหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินมัดจำ 10,000 บาท จากโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าขณะที่โจทก์วางมัดจำนั้น จำเลยทั้งสองได้ขายรถยนต์ไปแล้วจริง อันจะทำให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์มาตั้งแต่แรก แต่กลับปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสอง ให้ผู้อื่นเช่าซื้อรถยนต์ไปในภายหลัง การที่จำเลยทั้งสอง ปฏิเสธไม่ยอมขายรถยนต์ให้โจทก์ในราคาที่ตกลงกันไว้แต่แรก จะเป็นด้วยการคิดคำนวณราคาผิดหรือเพราะมีเรื่องทะเลาะกัน จึงไม่คิดส่วนลดให้โจทก์ก็ตาม กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง ไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ปลอมไม่กระทบสิทธิการเรียกร้องตามจำนวนเงินที่กู้จริง
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์30,000 บาท ต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้สัญญาถูกแก้ไขเป็นเท็จ หลักฐานการกู้ยืมเดิมยังใช้ได้ ผู้กู้ต้องรับผิดตามจำนวนที่กู้จริง
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์30,000 บาท ต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริง จึงเป็นเอกสารปลอมสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิดให้โจทก์ไว้ แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จึงชอบที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ไม่กระทบผลผูกพันเดิมของการกู้ยืม
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์ 30,000 บาทต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น 60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง