คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ไม่กระทบผลผูกพันเดิมของการกู้ยืม
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์ 30,000 บาทต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น 60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และประเด็นฎีกาเกินขอบเขตที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นไม่ใช่ศาลแห่งท้องที่ซึ่งพิจารณาออกหมายลดโทษให้แก่จำเลย ตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปยื่นคำร้องให้ถูกทาง พิพากษา ยกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นไม่รับคำร้องของ จำเลยไว้พิจารณา การที่จำเลยฎีกาว่าคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่ จะได้รับพระราชทานอภัยโทษและศาลแห่งท้องที่ปรับลดโทษ ให้จำเลยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขอให้ศาลฎีกาปรับลดโทษให้ จำเลยใหม่อันเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเลยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง ด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องลดโทษตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษ และฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นไม่ใช่ศาลแห่งท้องที่ซึ่งพิจารณาออกหมายลดโทษให้แก่จำเลย ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2539ไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปยื่นคำร้องให้ถูกทาง พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณา การที่จำเลยฎีกาว่าคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษและศาลแห่งท้องที่ปรับลดโทษให้จำเลยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขอให้ศาลฎีกาปรับลดโทษให้จำเลยใหม่อันเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเลยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกระทงความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
ข้อเท็จจริงซึ่งฟังเป็นยุติในศาลอุทธรณ์ได้ความว่าตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมยาเสพติดให้โทษของกลางและยาเสพติดให้โทษชนิด 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดได้ในคดีนี้มีจำนวน 6 เม็ด โดยจำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับจำนวน 3 เม็ด ส่วนอีก 3 เม็ด ตรวจค้นพบซ่อนอยู่ในช่องเสียบแผ่นซี ดี จึงเห็นได้ชัดว่า ลักษณะของการกระทำของจำเลยแตกต่างกัน ต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากกันได้ ทั้งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ก็มิได้นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึง การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย แสดงว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มุ่งประสงค์จะลงโทษการมี ยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่าย ยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี ดังนั้น เมื่อจำเลยมียาเสพติดให้โทษ ชนิด 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่งการกระทำของจำเลยจึงมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: สิทธิของเจ้าของที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตร บนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจเลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว
ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของผู้อื่น กรณีที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตรบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจ เลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอ ท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน และไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น หรือทางจำเป็นอันตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน ที่คู่ความนำสืบว่าจะเป็นทางประเภทใด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1ฟังว่าทางพิพาทตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ ไม่ต้องเสียค่าตอบแทน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าทางพิพาท เป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวนและใช้ดุลพินิจเลือกวินิจฉัย ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นอันตกเป็น ภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติรับรอง ให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจาก ที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน โจทก์จึงมีสิทธิ ใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลย ไม่ต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การยื่นคำร้องสอดที่มีประเด็นซ้ำกับคดีที่กำลังพิจารณาอยู่
ป.วิ.พ.มาตรา 1(3), 57, 58, 173
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิม จึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอดดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173 (1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องสอดที่เป็นฟ้องซ้อน กรณีมีคดีข้อพิพาทเดียวกันอยู่ระหว่างพิจารณาแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึง เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิมจึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอด ดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) ปรากฏว่า ก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลย ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อ และครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท ให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่าง พิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่อง เดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173(1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาทโดยธรรม
ในการจัดตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนด พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ อยู่ในความปกครองของผู้ร้อง ผู้ร้องและบุตรทั้งสามเป็นทายาท โดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดกและผู้ตาย เป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ร้องได้สัญชาติไทยตามผู้ตาย แม้จะ ปรากฏว่าผู้ร้องเคยถูกดำเนินคดีฐานเข้าเมืองโดยไม่ได้ รับอนุญาตและมีคำพิพากษาให้ออกนอกราชอาณาจักรมาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นประโยชน์สูงสุดแก่กองมรดกตามความมุ่งหมายของกฎหมายแล้ว เมื่อกรณีมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่จะให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจึงมีข้อแสดงให้เห็นเบื้องต้นว่าไม่อาจที่จะจัดการร่วมกันได้ ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ซึ่งต้องระวังรักษา ประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์อีกสามคนที่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (1) ส่วนผู้คัดค้านทั้งสี่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (3) ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย จึงไม่สมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ร่วมกับผู้ร้อง
of 15