คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำอนาจารโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และการลงโทษตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มีดขู่เข็ญว่าจะแทงประทุษร้าย อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย และการที่ผู้เสียหายต้องยอมให้จำเลย ถอดกระดุมเสื้อออก แสดงว่าผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 278,322,365 โดยบรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยได้บังอาจบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของนางสาว ส.ผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วบังอาจกระทำอนาจารผู้เสียหาย โดยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ได้ขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย การที่โจทก์อ้างมาตรา 322 แทนที่จะเป็นมาตรา 362 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำอนาจารโดยข่มขู่ด้วยอาวุธและการบุกรุกเคหสถาน
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มีดขู่เข็ญว่าจะแทงประทุษร้าย อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย และการที่ผู้เสียหายต้องยอมให้จำเลยถอดกระดุมเสื้อออก แสดงว่าผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 278
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 278, 322,365 โดยบรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยได้บังอาจบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของนางสาว ส.ผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วบังอาจกระทำอนาจารผู้เสียหาย โดยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ได้ขอให้ลงโทษจำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 365 ด้วย การที่โจทก์อ้างมาตรา 322 แทนที่จะเป็นมาตรา 362 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4364/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะ สัญญา สัมปทาน เจตนาลวง กรรมการ ผู้ถือหุ้น
โจทก์ทราบดีว่า ว. มีปัญหาอยู่กับผู้ถือหุ้นมาก่อน และโจทก์ทราบมาก่อนแล้วว่าจะมีการประชุมถอดถอน ว.ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยร่วมสัญญาสัมปทานฉบับพิพาททำขึ้นภายหลังที่ผู้ถือหุ้นขอให้มีการประชุมถอดถอน ว.และก่อนวันประชุมถอดถอนว.เพียง 9 วัน โจทก์กับ ว. ทำสัญญาสัมปทานฉบับพิพาทโดยไม่สุจริตโดยการแสดงเจตนาลวงสมรู้กันระหว่างโจทก์กับ ว.สัญญาสัมปทานจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 ที่แก้ไขใหม่ ศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อน คดีอีกเพราะเสียเวลามามากแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องขวนขวายมาศาลให้ทันตามเวลานัด การที่โจทก์ไม่มาศาล ให้ทันตามเวลานัด แสดงว่าโจทก์ไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลชั้นต้น ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดหย่อนตามกฎหมาย
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยตกลงเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมประเภทมีกำหนดระยะเวลาที่ธนาคาร ก.เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดีของธนาคารบวก 1 เปอร์เซ็นต์ จำเลยต้องชำระเงินกู้เป็นต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายงวด งวดละเดือน เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 งวดต่อไปจะชำระภายในวันที่ 21 ของทุกเดือนในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดสัญญาให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าจะใช้หนี้ครบถ้วน ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์สูงขึ้น หากจำเลยผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าอันเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้สัญญาแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ฉะนั้นเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมและการค้ำประกัน โดยอ้างเหตุถูกหลอกลวงและใช้เอกสารโดยไม่ยินยอม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันโดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 2ให้การและฟ้องแย้งว่า ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง แต่ถูก ช.หลอกลวงเอา น.ส.3 ตามฟ้องไปโดยอ้างว่าสามารถขายได้ราคาดี และถูกหลอกลวงให้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกันที่ยังไม่ได้กรอกข้อความแล้วโจทก์กับ ช.ร่วมมือกันใช้ชื่อจำเลยที่ 1 นำสัญญากู้ หนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไปกรอกข้อความโดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอม และนำ น.ส.3ตามฟ้องไปให้โจทก์ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ ขอให้บังคับโจทก์คืน น.ส.3 แก่จำเลยที่ 2ดังนี้ มูลคดีตามฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับมูลคดีตามคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับชำระหนี้ค้ำประกันและการยกเว้นหนี้เนื่องจากถูกหลอกลวง ศาลรับฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาควบคู่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันโดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง แต่ถูก ช. หลอกลวงเอาน.ส.3 ตามฟ้องไปโดยอ้างว่าสามารถขายได้ราคาดี และถูกหลอกลวงให้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกันที่ยังไม่ได้กรอกข้อความแล้วโจทก์กับ ช. ร่วมมือกันใช้ชื่อจำเลยที่ 1 นำสัญญากู้ หนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไปกรอกข้อความโดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอมและนำ น.ส.3 ตามฟ้องไปให้โจทก์ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ขอให้บังคับโจทก์คืน น.ส.3 แก่จำเลยที่ 2 ดังนี้ มูลคดีตามฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับมูลคดีตามคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาชี้ขาดตัดสิน ไปด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4322/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และประเด็นอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
แบบ ท.ค.16 ที่เจ้าพนักงานที่ดินทำการสอบสวนและบันทึกการสละมรดกเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.6 มีข้อความว่า ด้วยที่ดินแปลงเครื่องหมายดังกล่าวข้างบน คือ น.ส.3 หมู่ที่ 4 ตำบลมีชัย เลขที่ 10 อำเภอเมืองหนองคายจังหวัดหนองคาย มีชื่อ ค.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง แต่บัดนี้ถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อ 12มิถุนายน 2517 ข้าพเจ้าเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกโดยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินรายนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่รับเพราะข้าพเจ้าได้รับมรดกส่วนอื่นไปแล้ว และลงลายมือชื่อ จ.และโจทก์ ซึ่งเลขที่ดินที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9 ตรงกับเลขที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.6 อันเป็นทรัพย์มรดกที่พิพาทในคดีนี้ และเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9มีข้อความระบุชัดเจนว่า โจทก์และ จ.สละมรดกสำหรับที่พิพาทกับมีข้อความว่าขอให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอเมืองหนองคายโดยมีลายมือชื่อนายอำเภอเมืองหนองคายในเอกสารดังกล่าวทั้งระบุสถานที่ทำเอกสารว่าทำที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคายด้วยดังนั้น จึงเป็นการสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1612 แล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์สละมรดกของ ค.แล้วหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับมรดกของบิดาโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในข้อนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยสละสิทธิคัดค้านอำนาจฟ้องแล้ว ไม่อาจยกขึ้นฎีกาได้อีก
การที่จำเลยยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องว่า ป.ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการมอบอำนาจทั่วไป ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แต่ต่อมาได้แถลงไม่ติดใจที่จะต่อสู้ต่อไป ประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องจึงยุติไปตามคำแถลงของจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสองได้อีก เพราะกรณีตามกฎหมายมาตราดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์และเมื่อประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องยุติไปตามคำแถลงของจำเลยดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูป แม้เป็นคนละชนิด ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกและให้รอการลงโทษ
ไม้สักแปรรูป 46 แผ่น ปริมาตร 0.19 ลูกบาศก์เมตรและไม้แดงแปรรูป 12 แผ่นปริมาตร 0.54 ลูกบาศก์เมตร ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ทั้งสองจำนวน เป็นไม้หวงห้ามในประเภท ก. ซึ่งจำเลยมีไว้ในเวลาเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติเป็นความผิดและบทกำหนดโทษก็คือมาตรา 48 และมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 อันเป็นบทมาตราเดียวกัน เพียงแต่กำหนดประเภทไม้ทั้งสองและกำหนดระวางโทษไว้ต่างวรรคกันโดยที่มาตรา 73 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้ลงโทษหนักขึ้น สำหรับความผิดเกี่ยวกับไม้สัก ไม้ยางหรือไม้หวงห้ามประเภท ข.แสดงว่าไม้หวงห้ามแปรรูปนั้นไม่ว่าจะเป็นไม้หวงห้ามชนิดใดก็ถือว่าเป็นวัตถุในประเภทเดียวกัน ฉะนั้น การมีไม้สักแปรรูปและไม้แดงแปรรูปไว้ในครอบครองในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวหาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225
จำเลยมีไม้สักแปรรูปและไม้แดงแปรรูปจำนวนดังกล่าวข้างต้นไว้ในครอบครองซึ่งเป็นไม้เก่าที่จำเลยรื้อถอนจากบ้านหลังเก่ามาเก็บสะสมไว้ส่วนหนึ่งและอีกบางส่วนก็เก็บรวบรวมมาจากไม้เก่าที่มิได้ใช้ประโยชน์แล้ว พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ใช่เรื่องร้ายแรงและจำเลยพึ่งกระทำความผิดเป็นครั้งแรก การลงโทษจำคุกจำเลยเสียทีเดียวโดยไม่ให้โอกาสแก่จำเลยได้กลับตัวเป็นพลเมืองดีก่อนน่าจะไม่เป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมส่วนรวม ตามพฤติการณ์แห่งคดีโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี โดยคุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน ต่อครั้งให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติหรือจำเลยเห็นสมควร 30 ชั่วโมง มีกำหนด 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องและการจับกุม รวมถึงผลของการสอบสวนที่ไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นปัญหาสำคัญ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยจะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็นเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน โจทก์ไม่จำต้องบรรยายและอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มาในฟ้อง ก็เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158
ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ปัญหาที่ว่าการจับกุมจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 เพียงแต่ห้ามไม่ให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง หรือขู่เข็ญ หรือให้สัญญากับผู้ต้องหาเพื่อจูงใจให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้นเท่านั้น หากพนักงานสอบสวนทำการฝ่าฝืนก็มีผลเพียงว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นใช้เป็นหลักฐานยันผู้ต้องหาในการพิจารณาไม่ได้ตามมาตรา 134 ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120
of 18